สร้างศูนย์การเรียนรู้ 4 มุมเมือง ใน กทม.



ที่มาของภาพ lt;http://82.195.132.90/news/article_pics/13639.jpggt;
แหล่งการเรียนรู้ในกรุงเทพฯ โดยส่วนใหญ่มักกระจุกตัวอยู่ใจกลางเมือง ทำให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่ครอบครัวมีรายได้น้อยหรือมีที่พักอาศัยห่างจากใจกลางเมือง มีต้นทุนสูงในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ซึ่งเป็นการจำกัดการพัฒนาศักยภาพคนกรุงเทพฯ
เมืองต่าง ๆ ในต่างประเทศอย่างสหราชอาณาจักร ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ของคนในเมือง เนื่องจากเล็งเห็นว่า การพัฒนาความรู้ให้ประชาชน เป็นการพัฒนาเมืองทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น เมืองเชฟฟิลด์ (Sheffield) จัดโครงการเครือข่ายนครแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายสารสนเทศและศูนย์การเรียนรู้ทั่วเมือง โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษและองค์กรระดับท้องถิ่น เมืองเซาท์แฮมตัน (Southampton) จัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ในห้องสมุดต่าง ๆ จัดตั้งสหพันธ์การเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วยวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัย สภาเมือง หอการค้า และผู้ประกอบการ จัดโครงการคอมพิวเตอร์สำหรับทุกคน จัดทำธรรมนูญนครแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น เมืองเอดินบะระ (Edinburgh) สร้างหุ้นส่วนความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย วิทยาลัย บริษัท หอการค้า สมาคมการศึกษาของคนงาน หน่วยงานพัฒนาอาชีพ สภานครเอดินบะระ เพื่อเพื่อลดปัญหาความยากจน ส่งเสริมให้ประชาชนมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างสถานประกอบกับผู้จัดการศึกษาและฝึกอบรม เชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจกับชุมชน เป็นต้น ฯลฯ
กทม. เป็นเมืองหลวงที่มีประชากรจำนวนมากแห่งหนึ่งของโลก การส่งเสริมการเรียนรู้ของคนเมืองจึงควรเป็นลักษณะของการกระจายตัว เพื่อให้เยาชนและชาว กทม. ได้รับการเรียนรู้อย่างทั่วถึง ซึ่งผมเห็นว่าควร จัดตั้ง ldquo;ศูนย์การเรียนรู้สี่มุมเมืองrdquo; (Edutainment complex 4 มุมเมือง) เพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพในด้านที่สนใจ โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ต้องเป็นสิ่งที่คน กทม. ให้สนใจ มีความหลากหลาย เปิดโอกาสให้คิดสร้างสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์ทางความคิดระหว่างกันในการเรียนรู้ ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนด้วย เช่น การสอนดนตรี โดยมีเครื่องดนตรีและเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ทันสมัย การสอนศิลปะประยุกต์ วาดภาพล้อ ประดิษฐ์ของใช้ทำมือ (hand made) งานปั้น สกรีนเสื้อยืด การสอนออกแบบ ตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ หรือการตกแต่งภายใน เป็นต้น ศูนย์การเรียนรู้ 4 มุมเมือง ไม่เพียงจะเอื้อประโยชน์แก่เยาวชนทั้งสี่มุมเมืองแล้ว ยังทำให้เยาวชนที่อาศัยอยู่ในเขตใจกลางเมืองได้รับการเรียนรู้อย่างเต็มอิ่ม ไม่ต้องแย่งกันเรียน
แนวทางการดำเนินการศูนย์การเรียนรู้ 4 มุมเมือง มีดังนี้
สร้างความร่วมมือระหว่าง กทม. รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
กทม. สนับสนุนสถานที่ที่จะทำเป็นศูนย์เรียนรู้ และองค์ความรู้เกี่ยวกับ กทม. เช่น สถานที่สำคัญของ กทม. โซนความเป็นมาของกรุงเทพฯวัฒนธรรมคน กทม. ฯลฯ รัฐบาล สนับสนุนให้กระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำเสนอความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นำเสนองาน IT การเรียนรู้ผ่านเกมเชิงสร้างสรรค์ คอมพิวเตอร์ในอนาคต ฯลฯ กระทรวงวัฒนธรรม เสนอการพัฒนาการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมคนเมือง แหล่งวัฒนธรรม ถนนวัฒนธรรมคนเมือง เป็นต้น รัฐวิสาหกิจ อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำเสนอเทคนิคประหยัดไฟ การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนที่ไม่มีวันหมดสิ้น เช่น แสงอาทิตย์ ลม ฯลฯ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อาจเสนอพลังงานทางเลือกสำหรับคนกรุงฯ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของหุ้น ปตท. ฯลฯ ภาคเอกชน สนับสนุนข้อมูลความรู้เกี่ยวตามความเชี่ยวชาญของภาคเอกชน เช่น การประกอบอาชีพของแต่ละสถานประกอบการ ดนตรี เพลง กล้อง ฯลฯ
ทั้งนี้ การนำเสนอความรู้ควรทำให้เป็นรูปแบบนำเสนอที่คนในวัยต่าง ๆ สนใจ มีการศึกษาความต้องการของคนเมืองว่า สนใจในประเด็นใดบ้าง ต้องใช้ไอทีช่วย กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่ต้องดำเนินการนำเสนอความรู้เป็นระบบ คนเข้ารับชมได้ประโยชน์ต้องทุ่มงบพัฒนาวิธีนำเสนอกิจกรรมเหล่านี้ ให้น่าสนใจและดึงดูด
พัฒนาระบบกิจกรรมในศูนย์ฯ ให้มีความต่อเนื่องและหมุนเวียน
ให้เอกชนรับผิดชอบจัดกิจกรรม โดยปกติช่วงรอบปีภาคธุรกิจเอกชน จะมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเรียนรู้บ้างอยู่แล้ว เช่น ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูก ตกแต่งบ้าน ดูแลรักษารถยนต์ ดูแลสัตว์เลี้ยง แฟชั่นการแต่งกายต่างๆการดูแลสุขภาพ ฯลฯ นำสิ่งที่มีเหล่านี้มาจัดการให้เป็นระบบ โดย กทม. เป็นเจ้าภาพจัดหาหาสถานที่ บริการ และช่วยประชาสัมพันธ์ฯลฯ
ให้หน่วยงาน ชมรม หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการจัดการเรียนรู้สามารถเข้ามามีส่วนช่วยเหลือ เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับดนตรี กีฬา วาดภาพ ตกแต่งสวน การดูนก ความรู้ด้านแสตมป์ โยคะ การดูแลสุขภาพ ฯลฯ โดย กทม. ต้องกำหนดเกณฑ์การนำเสนอว่าอย่างน้อยต้องมีทักษะหรือหรือต้องทำอะไรบ้าง
ให้องค์กรในสังกัด กทม. รับผิดชอบเช่นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านการป้องกันตัว การหนีไฟ การจราจร การรู้สิทธิหน้าที่ตนเอง ฯลฯ
ศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 4 มุมเมืองควรมีปฏิทินกิจกรรมตลอดทั้งปี รวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่เป็นเครือข่ายของ edutainment complex ผ่านอินเทอร์เน็ตหรือผ่านสื่อมวลชน เพื่อให้คน กทม. ได้รู้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง
การสร้างแหล่งเรียนรู้ 4 มุมเมืองใน กทม. ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องได้รับการร่วมมือกับทุกภาคส่วนในสังคม ที่เข้ามามีร่วมสร้าง กทม. เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ผู้คนได้รับการพัฒนาทักษะความรู้และความสามารถในการดำรงชีวิต ภายใต้สังคมที่มีการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
* นำมาจากนิตยสารการศึกษาวันนี้ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 8- วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2551
admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2008-05-23