เข้าถึงความแตกต่าง
นิ้วมือทั้งสิบนิ้วของเรา ไม่มีนิ้วไหนที่เท่ากัน แม้เป็นนิ้วประเภทเดียวกัน เช่น นิ้วชี้ของมือข้างซ้าย กับ นิ้วชี้ของมือข้างขวา ยังไม่เท่ากันเลย ... ลองทาบดูสิ..
นิ้วที่ไม่เท่ากันเป็นบทเรียนที่ดีในการทำความเข้าใจ ldquo;ความแตกต่างrdquo; ของกันและกัน หากเปรียบนิ้วทั้งสิบเหมือนคน 10 คนที่ทำงานร่วมกัน ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า แต่ละคนต่างมีความสามารถเฉพาะที่ทำบางอย่างได้ดีกว่าคนอื่นอาทิ นิ้วชี้สามารถเกี่ยวของได้ดีกว่านิ้วอื่น ๆ นิ้วโป้งจะมีพลังมากกว่านิ้วอื่น ๆ เหมาะสำหรับการกดบดสิ่งของมากกว่า และนิ้วชี้ด้านซ้ายมักไม่สามารถทำงานได้ดีเท่ากับนิ้วชี้ด้านขวา หากเราถนัดมือขวามากกว่า ถึงกระนั้น นิ้วทั้งหมดจะต้องทำงานประสานสอดคล้องกัน ตามบทบาทหน้าที่ของตน งานชิ้นนั้น ๆ จึงสำเร็จ
การเข้าใจความต่างกันของ ldquo;นิ้วrdquo; อาจสะท้อนโดยนัยที่ช่วยให้เรายอมรับความแตกต่างระหว่างกัน และช่วยให้เราสามารถจัดการกับความขัดแย้งด้วยความเข้าใจมากขึ้น ทั้งนี้เพราะความขัดแย้งในหลายเรื่องนั้นมีสาเหตุมาจาก ldquo;พื้นฐานrdquo; ความเป็นตัวตนของบุคคลที่แตกต่างกัน
คนทุกคนล้วนมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากการผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมที่บุคคลได้รับจากสถาบันทางสังคมต่าง ๆ แตกต่างกัน อันได้แก่
มุมมองความคิดที่แตกต่าง การหล่อหลอมนับแต่วัยเด็กจากคำสอน ประสบการณ์ ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรม ที่ได้รับมาในแต่ละขั้นตอนของชีวิต ย่อมส่งผลให้แต่ละคนมีกรอบโลกทัศน์/ชีวทัศน์ หรือมุมมองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน แม้เป็นเรื่องเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้เสมอคือ ในการประชุมแต่ละครั้ง มักมีการอภิปรายเสนอความคิดเห็นกัน โดยหลายกรณีที่จบลงด้วยความขัดแย้งไม่พอใจกัน เพราะต่างฝ่ายต่างถกเถียงกันบนข้อสมมติเบื้องหลังที่แตกต่างกันตามความเชื่อของตน
ลักษณะนิสัยที่แตกต่าง คนเราแต่ละคนล้วนมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันออกไป อันเกิดจากประสบการณ์นับตั้งแต่ในวัยเด็กที่สมองตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ตามสัญชาติญาณและการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม เมื่อทำซ้ำ ๆ กันบ่อยเข้าจะพัฒนากลายเป็นลักษณะประจำตัวที่ทำให้แต่ละคนมี ldquo;เอกลักษณ์rdquo; แตกต่างกัน อาทิ คนที่เติบโตในบริบทของสังคมประชาธิปไตยย่อมมีนิสัยรักความเป็นอิสระ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพในสิทธิของคนอื่น หากคนประเภทนี้ต้องทำงานร่วมกับคนที่เติบโตมาในบริบทสังคมอำนาจนิยม ที่ไม่ถูกฝึกให้โต้เถียงคิดหาเหตุผลในการตัดสินใจ และเปิดใจยอมรับฟังความเห็นที่แตกต่างกันได้ ทั้งคู่ย่อมทำงานด้วยกันอย่างยากลำบาก ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งได้ในที่สุด
บุคลิกภาพที่แตกต่าง แต่ละคนต่างมีบุคลิกภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแสดงออกในลักษณะที่ตนเป็น อาจเรียกว่าเป็น ldquo;สไตล์rdquo; ของแต่ละคน ซึ่งความขัดแย้งอาจเกิดขึ้น หากเราไม่เรียนรู้ที่จะยอมรับสไตล์ที่แตกต่างกัน เช่น คนที่มนุษยสัมพันธ์ดี ช่างพูดช่างเจรจา บุคลิกเช่นนี้กลับสร้างรู้สึกไม่พอใจให้ผู้ร่วมงานที่เป็นคนเงียบ ๆ ต้องการความสงบในการทำงาน หรือผู้บริหารบางคนไม่ชอบผู้ใต้บังคับบัญชาที่ชอบแสดงความคิดเห็น เพราะเห็นว่าเป็นการไม่นบนอบเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา เป็นต้น บุคลิกภาพที่แตกต่างอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งได้ หากแต่ละฝ่ายไม่พยายามทำความเข้าใจกัน
ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่เกิดความขัดแย้งขึ้น เรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ การทำความเข้าใจ คู่ขัดแย้ง และ ตัวเราเอง ว่าเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเป็นตัวตนที่แตกต่างกันหรือไม่ ถ้าเราเข้าใจในความแตกต่าง เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างนั้นในทางสร้างสรรค์ได้โดยตระหนักว่า ทุกคนต่างมีมุมมอง นิสัย และบุคลิกภาพที่ต่างกัน เราไม่สามารถเปลี่ยนให้ทุกคนทำตามที่เราต้องการได้ แต่เราสามารถหาทางสร้างเอกภาพท่ามกลางความแตกต่างเหล่านั้น และใช้ความแตกต่างเพื่อเสริมสร้างกัน มากกว่าใช้เพื่อทำลายกันอย่างปราศจากความเข้าใจ
Tags:
เผยแพร่:
งานวันนี้
เมื่อ:
2008-05-06