?คิดวิพากษ์? ทักษะสำคัญยุคข่าวสาร
ในโลกยุคที่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไหลบ่ามาปะทะเราได้อย่างรวดเร็วและไร้พรมแดน อาจเป็นดาบสองคมหากผู้ที่นำเสนอข่าวสารข้อมูลปราศจากความรับผิดชอบ นำเสนอสิ่งที่ไม่เป็นความจริง สิ่งที่ไม่ถูกต้อง สิ่งที่เป็นพิษเป็นภัย ทำให้เข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงซึ่งหากเราตั้งรับไม่ทันแล้วย่อมตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย
การเรียนรู้ทักษะที่จะรับมือในการกลั่นกรองข่าวสารข้อมูลต่าง ๆก่อนที่จะปักใจเชื่อ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งฝึกฝนในโลกยุคปัจจุบัน
ldquo;การคิดเชิงวิพากษ์rdquo; (Critical Thinking) นับเป็นทักษะการคิดพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการเป็นเครื่องมือที่ช่วยประกอบการพิจารณาตัดสินข้อมูลหรือเรื่องต่าง ๆ ที่เข้ามา โดยโต้แย้งและท้าทายสมมติฐานที่นำมากล่าวอ้างว่าอาจมีข้อผิดพลาดและไม่เป็นจริง
ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์นี้จำเป็นต้องเร่งสร้างให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกวางรากฐานในการฝึกฝนทักษะด้านนี้ จึงมี ldquo;ความเสี่ยงrdquo; ในการติดกับดักของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เข้ามาปะทะได้โดยง่ายไม่ว่าจะเป็น
...กับดักโฆษณาชวนเชื่อเช่นจากโฆษณาครีมหน้าขาวทำให้คนเชื่อว่าผู้หญิงที่มีเสน่ห์ชายเห็นแล้วหลงใหลคือผู้หญิงที่มีโทนผิวสีขาว หรือนโยบายชวนเชื่อจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่พูดดีแต่อาจทำไม่ได้จริงหรือทำแล้วอาจมีผลกระทบเชิงลบตามมามากมาย
...กับดักความเชื่องมงาย เช่น จิ้งจกทักห้ามออกจากบ้าน ชาวบ้านรุมขอหวยจากหมูพิการ 6 ขา ตาเดียวหรือรุมเช่าเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะทำให้ตนเองรวยได้ในพริบตา
...กับดักค่านิยมวัตถุนิยม บริโภคนิยม เช่นเทรนด์ของคนรุ่นใหม่คือต้องมีคอนโดมีเนียมริมถนน ติดรถไฟฟ้าค่านิยมกินดื่มช้อป ค่านิยมในการเลือกเรียนในคณะที่สามารถหาเงินได้มาก ๆ
...กับดักค่านิยมฮอลีวู้ดหรืออิทธิพลจากภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น การมีเสรีภาพทางเพศเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่ ค่านิยมการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาว่าเป็นสิ่งที่ถูก
ในการทำงาน ความคิดวิพากษ์นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง การคิดวิพากษ์ทำให้เราไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งที่คนทั่วไปเชื่อว่าจริง เชื่อว่าดี เชื่อว่าเหมาะสม สิ่งที่คนทั่วไปคิดว่าไม่จำเป็นต้องตั้งคำถาม แต่เราจะตั้งคำถามท้าทายเพื่อค้นหาว่า ldquo;สิ่งที่เป็นอยู่นั้นมีความเป็นมาอย่างไรrdquo; และพิสูจน์ว่าข้อสมมติที่เราเชื่อนั้นเหมาะสมแล้วหรือไม่ ถูกต้องเหมาะสมจริงหรือไม่ ดีจริงหรือไม่ น่าเชื่อถือต่อไปหรือไม่ มีสิ่งอื่นที่ดีกว่านี้ ทดแทนหรือไม่
ในที่นี้ ผมขอเสนอหลักการคิดวิพากษ์ที่สำคัญ นั่นคือสงสัยไว้ก่อน : อย่าเพิ่งเชื่อเผื่อใจไว้เป็นทนายฝ่ายมาร
ให้สงสัยไว้ก่อนhellip;อย่าเพิ่งเชื่อ
การคิดวิพากษ์เริ่มต้นขึ้นจากความรู้สึกสงสัย ไม่ปักใจเชื่อในข้อสมมติฐานที่นำมากล่าวอ้าง ไม่คล้อยตามความจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ไม่ด่วนสรุปตามความเคยชินที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ไม่เชื่อในสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง หรือแม้กระทั่งได้เห็นด้วยตาของตน ไม่ด่วนสรุปตัดสินสิ่งใด แต่สะท้อนข้อสงสัย (reflective skepticism) ของเราออกมา ความสงสัยจึงช่วยเราไม่ให้ถูกหลอกหรือหลงเชื่อกับสิ่งที่ผิดอย่างง่าย ๆ ทำให้เราได้ฉุกคิดทบทวนอีกครั้งเพื่อสืบค้นความจริง นำไปสู่กระบวนการตรวจสอบ ทบทวน ใคร่ครวญ พิจารณาความจริง
ดังนั้น อย่าเพิ่งเชื่อ เมื่อมีคนบอกคุณว่า เพื่อนร่วมงานคนนี้ทำงานผิดพลาด สินค้าชิ้นนี้รับประกันคุณภาพ เพราะบริษัทได้มาตรฐานตาม ISO แนวคิดในการบริหารงานเช่นนี้ใช้ได้ผลมาแล้วทั่วโลก ฯลฯ คุณควรสงสัยไว้ก่อน แม้สิ่งนั้นจะดูน่าเชื่อ
สิ่งที่ดูน่าเชื่อถือบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาด อาจจะมีผลการวิจัยแตกต่างกัน เพราะผู้วิจัยมีข้อสมมติที่ไม่ตรงกัน เราควรตรวจสอบด้วยตนเอง ไม่ควรด่วนสรุปตัดสินว่าใครผิดใครถูก อย่าเพิ่งเชื่อ แม้แต่สิ่งที่เห็นด้วยตาตนเอง สัมผัสเอง มีประสบการณ์ร่วม สิ่งนั้นอาจไม่จริงก็ได้ ดังนั้น ความสงสัยจึงนำมาซึ่งการค้นหาความจริง หากเราไม่สงสัยต่อข้ออ้างที่ไม่ได้ตรวจสอบ ย่อมน่าสงสัยว่าเราอาจถูกครอบงำด้วยข้ออ้างที่เป็นเท็จ
เผื่อใจไว้hellip;อาจจะจริง หรือ อาจจะไม่จริงก็ได้
สิ่งที่ครั้งหนึ่งคนทั้งหมดคิดว่าจริง เราควรเปิดใจไว้ว่า อาจจะไม่จริงก็ได้ แม้สิ่งที่คนในสังคมของเราเคยเชื่อว่าจริงมานานแสนนาน เราอาจเพียงพูดว่า ldquo;แนวโน้มน่าจะเป็นไปได้rdquo; ldquo;อาจจะเป็นจริงrdquo;แต่อย่าสรุปว่า ldquo;จริงrdquo; เพราะ ldquo;อาจจะไม่จริงก็ได้rdquo; การกล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่าจะไม่ให้เราเชื่อในเรื่องใด ๆ เลย แต่ปรารถนาให้เราเป็นคนที่ ldquo;ไม่ด่วนตัดสินrdquo; สิ่งใดอย่างง่าย ๆ
ครั้งหนึ่ง บริษัทจำนวนมากได้นำการ Outsourcing มาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะเห็นตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาแล้วกับบริษัทต่าง ๆ ที่นำไปใช้ ในเรื่องนี้ ผศ. เฮนรี่ จาก Harvard Business School (HBS) และ ศ. เดวิด จาก Haas School of Business (Berkeley) กลับสรุปในทำนองเดียวกันว่า บริษัทส่วนใหญ่ที่นำการ Outsourcing มาใช้นั้นประสบความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ เพียงแต่ไม่เป็นข่าวครึกโครมเหมือนกับในช่วงแรกที่บริษัทต่าง ๆ นำมาใช้แล้วประสบความสำเร็จเท่านั้น
นักคิดวิพากษ์ต้องใจกว้างพอที่จะ ldquo;เผื่อใจrdquo; ไม่สรุปสิ่งใดอย่างง่าย ๆ เราต้องเผื่อใจไว้เสมอว่า ข้ออ้างนั้นอาจจะใช่หรืออาจจะไม่ใช่ อาจจะจริงหรืออาจจะเท็จ อาจจะเป็นหรืออาจจะไม่เป็น อาจจะถูกหรืออาจจะผิด น่าจะเป็นไปได้แต่อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น เราจำเป็นต้องวิพากษ์และต้องพิสูจน์กันด้วยหลักฐานและเหตุผล เราต้องเอาเหตุผลและหลักฐานมาพิสูจน์กัน ทั้งหลักฐานเหตุผลที่สนับสนุนว่าใช่ และหลักฐานเหตุผลที่นำมาหักล้างว่า ไม่ใช่ ก่อนนำไปสู่ข้อสรุป
เป็นพยานฝ่ายมารhellip;.ตั้งคำถามซักค้าน
นักคิดเชิงวิพากษ์ต้องทำตัวเป็นเหมือนทนายฝ่ายมาร (The devils' advocate) หมายถึง มีความตั้งใจที่จะเผชิญหน้าคัดค้านต่อข้ออ้างที่ได้รับ โดยการตั้งคำถามโต้แย้งและท้าทายสมมติฐานอย่างกระตือรือร้น (active inquiry)
คำถามของนักคิดเชิงวิพากษ์จะเกิดจากการช่างสังเกต พยายามหาความไม่สมเหตุสมผลของข้ออ้าง หาช่องโหว่ความไม่น่าจะเป็นของเหตุการณ์ พยายามเปิดทางเลือกใหม่ นำเสนอความน่าจะเป็นใหม่ เสนอความน่าจะเป็นในทางตรงกันข้าม คำถามเชิงวิพากษ์จะก่อให้เกิดความรู้สึกในทำนองที่ว่า สิ่งที่คิดไว้อาจจะไม่ดีจริงก็ได้ ยังมีมุมมองตรงกันข้ามที่เรายังคิดไม่ถึง หรือเป็นคำถามที่ทำให้รู้สึกว่าถูกท้าทายและทำให้ต้องหาเหตุผลหรือหลักฐานมายืนยันกัน เช่น แนวคิดเรื่อง Reengineering, Balance Score Card อาจไม่ดีก็ได้ เพื่อนร่วมงานคนนั้นอาจไม่ผิดก็ได้ เหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนโครงการใหม่นั้นเป็นเหตุผลจอมปลอมมากกว่าเป็นเหตุผลที่แท้จริง ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจไม่ได้มุ่งหมายอย่างที่ประพฤติเช่นนั้นก็ได้ เราอาจจะคิดไม่สมเหตุสมผลก็ได้ มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าที่คิดก็เป็นได้ เป็นต้น
การคิดเชิงวิพากษ์เป็นการคิดหนึ่งที่คนในสังคมควรเรียนรู้ เพื่อให้เราไม่หลงคล้อยตามความเคยชิน แต่ตั้งคำถามให้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อันจะนำไปสู่การสืบค้นความจริงต่อไป ช่วยแก้ไขนิสัยด่วนสรุปตามความเคยชินของเรา ทำให้เราสามารถตัดสินเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรอบคอบ และสามารถป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นไป ช่วยทำให้เราตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีกว่า ท่ามกลางสิ่งที่ดีและไม่ดี ทำให้เป็นคนที่ไม่ถูกหลอกง่าย เพราะไม่เชื่อข้อมูลเหล่านั้นทันที และเมื่อมีการพิจารณาอย่างครบถ้วนแล้ว จึงสามารถที่จะแน่ใจได้ว่า สิ่งที่ตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม การคิดวิพากษ์จึงนำมาซึ่งการพัฒนาทั้งในระดับปัจเจก ระดับสังคมและประเทศชาติ
Tags:
เผยแพร่:
งานอัพเกรด
เมื่อ:
2008-01-31