การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
* ที่มาของภาพ - http://www.theguppyfish.com/guppywiki/images/b/bd/Ruby_eye_super_white.jpg
ผ่านพ้นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 มาสักระยะหนึ่ง ก็ถึงช่วงเวลาที่จะดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ข่าวคราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากนัก อาจเป็นเพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังสนใจเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลและการเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 25
สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเสือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน และมาจากการสรรหาจำนวน 74 คน
สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเสือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน และมาจากการสรรหาจำนวน 74 คน
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว. ในวันที่ 2 มี.ค. 2551 และกำหนดให้องค์กรต่าง ๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาเป็น ส.ว. เสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหา ส.ว. ภายในวันที่ 3 -17 ม.ค.นี้
หลังจากนั้น กกต. จะใช้ระยะเวลา 5 วัน ในการส่งรายชื่อดังกล่าวให้คณะกรรมการสรรหา ส.ว. ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวน 1 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจำนวน 1 คน โดยคณะกรรมการสรรหา ส.ว. จะมีระยะเวลา 30 วัน ในการคัดสรร ส.ว. ซึ่งภายในวันที่ 21 ก.พ.2551 จะได้ ส.ว. ที่มาจากการสรรหา
กฎหมายได้ระบุถึงการสรรหา ส.ว. ให้คำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ ส.ว. เป็นสำคัญ ขณะเดียวกัน ให้คำนึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ สัดส่วนของบุคคลในแต่ละภาคส่วนที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย ดังนั้น จะทำให้ได้ ส.ว. ที่มาจากทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกัน มี ส.ว.ทั้งเพศชาย-เพศหญิง จำนวนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่งของสังคมไทย
กฎหมายได้ระบุถึงการสรรหา ส.ว. ให้คำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ ส.ว. เป็นสำคัญ ขณะเดียวกัน ให้คำนึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ สัดส่วนของบุคคลในแต่ละภาคส่วนที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย ดังนั้น จะทำให้ได้ ส.ว. ที่มาจากทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกัน มี ส.ว.ทั้งเพศชาย-เพศหญิง จำนวนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่งของสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม อาจจะมีคำถามจากสังคมเกี่ยวกับการสรรหาว่า อาจจะเลือกเพราะเป็นคนที่รู้จักหรือเลือกเพราะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ทำให้ไม่ได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ดังนั้น ผมมีข้อเสนอแนะบางประการต่อคณะกรรมการสรรหา ส.ว. เพื่อให้ได้ ส.ว. ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนและผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่ออำนาจหน้าที่ดังกล่าว ดังนี้
ประการแรก แยกรายชื่อผู้ได้รับการสรรตามกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวน 5 กลุ่ม การแยกกลุ่มจะทำให้การพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาเกิดความชัดเจนและรวดเร็วในการพิจารณา โดยเฉพาะสัดส่วนแต่ละภาคส่วนที่ควรจะใกล้เคียงกัน เฉลี่ยแล้วประมาณ 12 ndash; 15 คน น่าจะเป็นตัวเลขที่มีความเหมาะสม
ประการแรก แยกรายชื่อผู้ได้รับการสรรตามกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวน 5 กลุ่ม การแยกกลุ่มจะทำให้การพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาเกิดความชัดเจนและรวดเร็วในการพิจารณา โดยเฉพาะสัดส่วนแต่ละภาคส่วนที่ควรจะใกล้เคียงกัน เฉลี่ยแล้วประมาณ 12 ndash; 15 คน น่าจะเป็นตัวเลขที่มีความเหมาะสม
ประการสอง ควรมีการกำหนดคะแนนในการให้เกณฑ์ต่อผู้ได้รับการสรรหาทั้งจากวุฒิการศึกษา สถาบันการศึกษา ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ซึ่งจะทำให้ได้ผู้ที่มีความเหมาะสม มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงในการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ว.
ประการสาม ควรเชิญผู้ได้รับการสรรหาเข้ามาแสดงตน ตอบคำถาม หรือแสดงวิสัยทัศน์สั้น ๆ ซึ่งจะทำให้คณะกรรมการสรรหาได้รู้จักผู้ได้รับการสรรหาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบุคลิกภาพ ความเหมาะสม และความรู้ความเข้าใจที่จะเข้ามาเป็นปฏิบัติหน้าที่ ส.ว. และนำข้อสังเกตดังกล่าวให้คะแนนประกอบในการพิจารณาคัดสรร
ประการสี่ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ส่งข้อมูลแสดงความเห็นทั้งในเชิงชื่นชมในความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการทำงาน หรือส่งข้อแย้งติงกรณีที่ผู้ได้รับการสรรหามีประวัติหรือการทำงานที่บกพร่องมายังคณะกรรมการสรรหาฯ ซึ่งจะได้ทำให้คณะกรรมการสรรหาฯ ได้มีข้อมูลเพิ่มเติมทั้งส่วนดีและส่วนเสีย แต่ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาพิจารณาต้องระบุชื่อ-นามสกุลจริงเท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกันการใส่ร้ายป้ายสีต่อผู้ได้รับการสรรหาฯบุคคลใดบุคคลหนึ่งอย่างไม่เป็นธรรม โดยให้มีคณะอนุกรรมการชุดหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือในการสืบข้อมูลเชิงลึกต่อคณะกรรมการสรรหาฯ
ประการที่ห้า คณะกรรมการสรรหาฯ ทั้ง 7 คน ควรจะมีการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับรายชื่อและคุณสมบัติของผู้ได้รับการสรรหา สัดส่วนของแต่ละภาคและความสมดุลทางเพศอย่างสมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดความครบถ้วนและสมบูรณ์ในการคัดสรร แต่ทั้งนี้ก็ตัดสินใจในการสรรหาให้ถือเป็นเอกสิทธิ์ของคณะกรรมการสรรหาฯ แต่ละบุคคลโดยปราศจากการก้าวก่ายและแทรกแซงต่อกัน
โดยสรุป หากพิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา ส.ว. ต้องยอมรับว่า ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน แต่การคัดสรรบุคคลที่มีความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ ส.ว. อย่างมีคุณภาพ มีการประเมินความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ อย่างมีหลักเกณฑ์ ย่อมได้รับความนับถือเช่นกัน
* นำมาจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 23 มกราคม 2551
แสดงความคิดเห็น
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2008-01-23