ค้นหา ?ศักยภาพในชีวิต? พิชิตสุขในการทำงาน
หากจะกล่าวถึงวิชายอดนิยมที่นักศึกษานิยมลงทะเบียนเรียนมากเป็นอันดับต้น ๆ หรือในปีท้าย ๆ นี้เรียกว่า ldquo;อันดับหนึ่งrdquo; ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผมขอบอกว่าคือ วิชาจิตวิทยาเชิงบวก ldquo;Psychology 1504: Positive Psychologyrdquo; โดย อาจารย์ Tal D. Ben-Shahar เพราะได้รับความสนใจจากสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (CNN) หนังสือพิมพ์บอสตัน โกลบ (The Boston Globe) รวมถึง หนังสือพิมพ์ฮาร์วาร์ดคริมสัน (The Harvard Crimson) เนื่องจากแต่ละภาคเรียนจะมีผู้มาลงทะเบียนไม่ต่ำกว่า 800 คน
เสน่ห์ที่ดึงดูดผู้เรียนจำนวนมากจนถึงขั้นที่นักศึกษาผู้สนใจจะต้องแย่งกันขอเรียนแข่งกันอย่างดุเดือด เพื่อให้ได้เรียนวิชานี้ สาเหตุเนื่องจากผู้สอนที่มีเป้าหมายชัดเจน และมีวิธีสอนที่แตกต่างเพื่อให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความสุขด้วยตนเอง โดยเป้าหมายหลักของการเรียนวิชานี้ คือ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รู้จักตนเอง รู้จักชีวิต รู้ว่าอะไรทำให้คนมีความสุข และนำหลักคิดที่ได้จากการเรียนเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้น เป็นพลเมืองที่ดี เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
การรู้จักตนเองเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้ว่าตัวเองมีศักยภาพด้านใดบ้างที่ซ่อนอยู่ เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการที่คน ๆ นั้นจะค้นพบความสุขที่แท้จริงในชีวิตผ่านการเลือกทำงานที่ชื่นชอบตามศักยภาพความสามารถของตน
อย่างไรก็ตามยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วตนเองนั้นมีศักยภาพหรือความถนัดในด้านใด ที่เรียนจบมาก็เพียงเพราะไปตามระบบหรือค่านิยมของสังคมในการเลือกคณะยอดนิยมตามกระแสสังคมสมัยนั้น เมื่อจบมาหางานทำเหตุผลประการต่าง ๆ ที่คนส่วนใหญ่มักใช้ในการตัดสินใจเลือกงานย่อมหนีไม่พ้นเรื่อง เงินเดือนหรือค่าตอบแทนเป็นที่พอใจ สถานที่ทำงานไม่ไกลจากบ้านหรือที่พัก สวัสดิการดี งานสบาย ดังที่ศาสตราจารย์ ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ ได้เคยกล่าวไว้ในหนังสือ ldquo;Managing in A Time of Great Changerdquo; ว่า ldquo;คนส่วนใหญ่ชอบที่จะเริ่มต้นชีวิตการทำงานกับบริษัทใหญ่ ๆ เนื่องจากบัณฑิตส่วนมากไม่ทราบว่าจบแล้วจะไปทำอะไรดีนั่นเองrdquo;
ประเด็นหลักที่ผมคิดว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำมาซึ่งความสุขความสำเร็จอย่างแท้จริงในชีวิตของคน ๆ นั้น ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้ายของชีวิตการทำงาน คือ การเลือกงานและทำงานโดยให้น้ำหนักในเรื่องการค้นหาศักยภาพสิ่งดีทุกสิ่งที่มีในตัวเราออกมาให้มากที่สุดและขยายขอบเขตออกไปมากที่สุด ดังที่ผมเขียนไว้ในหนังสือ ข้อคิดเพื่อการทำงานว่า ldquo;การทำงานคือ โอกาสในการนำสิ่งดีที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้อย่างสุดกำลังความสามารถร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้งานที่ทำเกิดประโยชน์สูงสุดrdquo; เพราะการเลือกงานและทำงานด้วยเหตุจูงใจเช่นนี้ ไม่เพียงจะทำให้ทุกสิ่งในชีวิตของเรา ถูกใช้อย่างคุ้มค่า ไม่สูญเปล่า อีกทั้งต่อยอดเพิ่มพูนขึ้นได้เรื่อย ๆ ผ่านการสร้างผลงานใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ ช่วยขยายโอกาสและขอบเขตในการทำงานมากขึ้น ช่วยเติมเต็มคุณค่าของชีวิตและงาน นำความอิ่มเอมใจมาให้ รวมทั้งยังส่งผลให้องค์กรได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงหรือมีโอกาสสมบูรณ์แบบมากที่สุดอีกด้วย เพราะเป็นผลลัพธ์โดยรวมของการทุ่มเทใช้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ทุกประการทั้งของตัวเราและเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ในทีม
โดยหลักคิดที่ผมคำนึงเสมอในการตัดสินใจเลือกงานและทำงาน โดยให้ความสำคัญกับการใช้สิ่งดีที่มีในตัวเราได้ครบครอบคลุมที่สุด มีดังนี้
ค้นหาศักยภาพให้พบเราควรหาเวลามานั่งลงคิดอย่างลึกซึ้งเป็นประจำว่างานที่เราทำอยู่นั้นแท้จริงแล้วเป็นความชอบ ความถนัดของเราหรือไม่ อะไรที่เป็นจุดอ่อน จุดแข็ง ในชีวิตที่เราควรปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยอาจใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ ldquo;SWOT Analysisrdquo; เพื่อไปถึงเป้าหมายที่เราตั้งใจไว้ อันนำมาซึ่งความสุขความอิ่มเอมใจหากเป้าหมายที่เราต้องการจะไปถึงนั้นสามารถบรรลุผลสำเร็จตามที่ตั้งใจ
ชีวิตเราแต่ละคนเหมือนกระจาดใบหนึ่งที่มีของหลายสิ่งรวม ๆ กัน แต่ละคนมีของที่แตกต่างกันไปไม่เหมือนใครเราต้องค้นดูเรามีอะไรแล้วนำมาใช้อย่างเต็มศักยภาพความสามารถ อย่างไรก็ตามเราไม่ควรนำเป็ดมาบิน นำนกมาว่ายน้ำ คนจำนวนมากเป็นทาสตลาดแรงงาน ใช้ชีวิตทั้งชีวิตในเรื่องที่เราไม่ชอบไม่ถนัด จนวันสุดท้ายของชีวิตยังหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้เลย
ไม่เลือกงานที่ใช้ศักยภาพไม่คุ้ม ในกรณีที่เรากำลังสนใจสมัครงานหรือเปลี่ยนงาน และมีงานหลายประเภท หลายสาขา หลายองค์กรที่เรามีคุณสมบัติเข้าข่ายเกณฑ์พิจารณาหรือต้องการรับเราเข้าทำงาน ทั้งการตัดสินใจเลือกสมัครและเลือกเข้าทำงานของเรา ควรให้ความสนใจประเมินว่า งานใดขององค์กรใดที่เปิดโอกาสให้เราได้ใช้ พัฒนา และขยายขอบเขตศักยภาพของเราได้มากหรือรอบด้านที่สุด นอกเหนือจากเงินเดือน ค่าตอบแทน ชั่วโมงทำงาน สวัสดิการ ฯลฯ ที่อาจต้องถูกลดความสำคัญเป็นอันดับรองลงมา
ไม่ด่วนปฏิเสธงานที่ไม่เคยทำ ขณะทำงานในบทบาทความรับผิดชอบตามปกติ บางโอกาสอาจมีการมอบหมายงานอื่นจากหัวหน้า ให้เราทำงานที่ไม่เคยมีความรู้ประสบการณ์ด้านนั้นมาก่อนซึ่งหลายคนอาจด่วนวิตกกังวลว่าจะไม่มีความสามารถเพียงพอ หรือเกรงจะทำงานนั้นไม่สำเร็จ จนรีบปฏิเสธงานนั้นในแง่นี้ผมคิดว่า เราควรมีความคิดแง่บวก ไม่กลัวไปก่อนหรือคิดแง่ลบเกินความเป็นจริง เพราะนั่นอาจเท่ากับเป็นการปิดโอกาสการพัฒนาต่อยอดศักยภาพใหม่ ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย โดยที่เราอาจไม่เคยรู้ตัวหรือค้นพบมาก่อนว่ามีอยู่ เพราะไม่เคยมีโอกาสได้ลองใช้
ไม่ปิดช่องทางใช้ศักยภาพอื่นที่ซ่อนอยู่ เมื่อทำงานในความรับผิดชอบหลักจนอยู่ตัวหรือมีความคุ้นเคย ทักษะความเชี่ยวชาญเพิ่มพูนถึงระดับหนึ่งแล้ว สิ่งที่ควรทำควบคู่กันคือหมั่นประเมินตัวเองเสมอ คอยสังเกตว่าในตัวเราน่าจะมีศักยภาพหรือสิ่งดี ความถนัด ความสามารถพิเศษอื่น ๆ ประการใดที่ยังหลงเหลืออยู่ และยังไม่ถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงานที่ส่งผลดีต่อภาพรวมขององค์กร โดยอาจจับคู่ศักยภาพนั้น ๆ เข้ากับงานบางประเภทบางสาขาที่มีอยู่ในแผนกหรือฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กร เช่น โดยบทบาทหลักเรามีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ในบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง แต่หลายครั้งเพื่อน ๆ มักจะเอ่ยพ้องกันโดยไม่ได้นัดหมายว่าน้ำเสียงของเรากังวานใส น่าฟัง บวกกับบุคลิกของเราหากเป็นคนที่กล้าแสดงออก ชอบสื่อสารกับผู้คนอยู่แล้ว เราอาจเสนอตัวรับงานแผนกอื่นขององค์กร เช่น โฆษก พิธีกร หรือรับอัดสปอตโฆษณาวิทยุ เป็นต้น ซึ่งนอกจากเป็นการเพิ่มรายได้ และช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเราแล้ว ยังนับเป็นการช่วยสร้างหรือขยายโอกาสใหม่ ๆ ในชีวิตการทำงาน และสามารถทำงานขององค์กรได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยช่วยลดขั้นตอนในการใช้คนหลายคนในการทำงานชิ้นนั้น (one-stop job) เป็นต้น
การมีหลักคิดเช่นนี้ก่อนตัดสินใจ ldquo;เลือกrdquo; หรือ ldquo;ทำrdquo; งาน จะช่วยพัฒนาสิ่งดีที่มีในตัวเราได้อย่างเต็มที่ ตรงทิศทางอย่างต่อเนื่อง เพราะสอดคล้องกับความเป็นตัวเราที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร และเอื้อต่อการนำมาซึ่งความสำเร็จที่กอปรด้วยความสุขและความอิ่มเอมใจในระยะยาวต่อไป
Tags:
เผยแพร่:
งานอัพเกรด
เมื่อ:
2007-12-20