จากเหตุการณ์กรณีการกล่าวหาว่า “ศรีสุวรรณ เรียกรับ 1.5 ล้าน อธิบดีกรมการข้าว แลกไม่ยื่นร้องเรียน” กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงในสังคม หลายคนตั้งคำถามถึงบทบาทและหน้าที่ของนักร้องเรียนในสังคมไทย ว่านักร้องเรียนมีประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่ มีหน้าที่เพื่อช่วยเหลือประชาชน หรือทำเพื่อประกอบอาชีพตนเอง โดยการข่มขู่และรีดไถ่ เพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่า

ผมขอเริ่มต้นด้วยข้อคิดที่ว่า “ความสุขที่แท้จริง คือการได้ทำสิ่งที่มีคุณค่าทางใจ” ผมได้พบว่า คนจำนวนมากไม่ได้มีความสุขกับการทำงาน แต่ใช้เวลาชีวิตไปกับการทำงาน เพื่อทำมาหากิน และคนเหล่านี้มักดีใจเมื่อถึงวันศุกร์ เพราะจะได้พัก ไม่ต้องทำงาน เพราะมองงานเป็นภาระ ไม่ได้ทำให้มีความสุข

ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า การยุติสงครามและสร้างสันติภาพโลกถาวรนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชากิจ องค์กรระหว่างประเทศ และประชาชนทั่วไป ทุกคนต้องมีส่วนส่งเสริมสันติภาพในบทบาทที่ตนเองรับผิดชอบสูงสุด 

“ขอเสนอ AIMMI Model ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนบุคคล ที่เชื่อมอารยมหาพลัง และอารยพลานุภาพ มายังตัวบุคคล เพื่อให้พลังขับเคลื่อนส่งต่อมายังบุคคลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความจำเป็นต่อความสำเร็จในทุกงานและทุกระดับ 

การพัฒนา ทุนมนุษย์ ยังถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เพราะทุนมนุษย์ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ซึ่งเป็นสังคมความรู้ สังคมปัญญา และสังคมความดี ผู้เขียนขอเสนอแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ ไว้ในบทความนี้ 

“ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับที่มาที่ไปและความแตกต่างของคำว่า ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ทุนมนุษย์ (Human Capital) และ ศักยภาพสูงสุดของความเป็นมนุษย์ (Human Potentiality) เพราะสิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมและให้คุณค่าในการพัฒนามนุษย์ 

การทำงานเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์ทุกคน เมื่อเราเติบโตพ้นวัยเด็ก เราจะเข้าสู่ “วัยทำงาน” ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ยาวนานที่สุด อาจจะมากกว่าครึ่งชีวิต ในการทำงานถ้าทำงานเพื่อเงิน โดยที่ไม่เห็นคุณค่าหรือไม่ได้ชอบงานที่ทำ ย่อมไม่มีความสุขในการทำงาน และถ้าเราไม่สามารถบูรณาการระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวได้อย่างกลมกลืน อย่างมีประสิทธิภาพ แม้มีเวลามากก็อาจไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้

ผมปรารถนาจะเห็นประเทศไทย มีนโยบายและแนวทางใหม่ๆ ที่ไม่ใช่ประชานิยม ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน ให้คนยากจนหมดไปจากประเทศไทยได้อย่างแท้จริง ที่ผ่านมา ผมได้นำเสนอ โมเดลตาข่าย 3 ชั้น (Poverty Solution Model) เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดไป

ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุน ยุทธศาสตร์การสร้าง คนดี คนเก่ง คนกล้า ซึ่งมองว่าสิ่งนี้เป็นประเด็นสำคัญของประเทศ และก็เป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดผลในภาคปฏิบัติ ผ่านทาง งานบรรยาย บทความ และหนังสือ 

การสร้างทายาทเป็นปัจจัยความสำเร็จที่ยั่งยืนขององค์กร ซึ่งหลายองค์กรประสบความสำเร็จ แต่ประสบปัญหาไม่สามารถยืนระยะอยู่ได้ยาวนาน เนื่องจากปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ การขาดทายาทรับช่วงต่อ โดยมีคำกล่าวของชาวจีนที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า “ไม่เกิน 3 ชั่วคน จะเกิดการเปลี่ยนแปลง” หมายความว่า องค์กรธุรกิจหรือองค์กรประเภทใด ๆ ก็ตาม ไม่อาจรุ่งเรืองมั่นคงไปได้เกิน 3 รุ่น การรักษาองค์กรให้มั่งคั่งและมั่นคงมีอายุยืนยาวนับ 100 ปี หรือมากกว่า 3 รุ่นขึ้นไป นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้นำองค์กร เพราะองค์กรจะต้องฝ่าฟันและก้าวข้ามสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ความถดถอยตามวัฏจักรธุรกิจ กระแสการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโลก การปฏิวัติทางเทคโนโลยีรวมถึง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเกิดโรคระบาด จะเห็นว่า ทายาท คือ บุคคลสำคัญที่จะทำให้องค์กรคงอยู่หรือหายไป การสร้างทายาทจึงเป็นปัจจัยความอยู่รอดขององค์กร เราจะสร้างทายาท เพื่อสร้างองค์กรให้อย่างยั่งยืนได้อย่างไร ผมจึงเสนอแนวทางการสร้างทายาท เพื่อสร้างองค์กรยั่งยืน 3 ประการ ดังนี้