?ถ้าเราพิการทางกาย เรายังพอจะหาวิธีทดแทนได้ แต่ถ้าเราพิการทางภาษาอังกฤษ เราจะเป็นอัมพาตทางโอกาสตลอดชีวิตอย่างแท้จริง? 

คำกล่าวข้างต้น เป็นข้อสรุปความสำคัญของภาษาอังกฤษในยุคนี้ ซึ่งผมได้กล่าวไว้ในการบรรยายที่ต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนไม่ว่าอยู่ในแวดวงใด จะได้ตระหนักและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน


แหล่งที่มาของภาพ : http://1.bp.blogspot.com/-2kIcOjSbdqw/T9djptX6mvI/AAAAAAAAAlc/KoIjts5oJUA/s1600/asean1.jpg

ในบทความที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยอันเนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในหลายมิติ บทความนี้จะนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ประเด็นสุดท้าย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านความเสี่ยงและเสถียรภาพ และการเปลี่ยนแปลงความเป็นอิสระของการกำหนดนโยบายภาครัฐ

 

Once the war of election between Bangkok governor candidates ended, the winner has the responsibility of following the policy according to his campaigns promoted to the people. However, the main responsibility which Bangkok governor cannot ignore is to develop Bangkok to be prepared with the opening of AEC. One important point to focus on is how to turn Bangkok into the capital city of ASEAN.
 
When the ASEAN countries integrate into AEC in the year 2015, Bangkok has the opportunity to turn into a capital city or a center of the ASEAN community. Because of the geographical location of Thailand, it is situated in the middle of the region and has the most borders which are close to the ASEAN member countries. Bangkok has the opportunities to be the center of the region in many aspects as followed:
เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมในฐานะประธาน ?สภาปัญญาสมาพันธ์? ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวสภาปัญญาสมาพันธ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ผมและเพื่อนนักวิชาการชั้นนำของประเทศได้รวมตัวกัน เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายแขนงวิชาที่มาร่วมกันศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในเรื่องหรือประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่ออนาคตของประเทศ เพื่อช่วยนำเสนอแนวคิดและกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศอย่างมียุทธศาสตร์ที่คมชัด และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของประเทศอย่างแท้จริง

หลังจากที่ผมได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยซึ่งเป็นผลจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มาแล้ว 5 ประเด็น พบว่า ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาประเทศด้วยมุมมองและในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้โดดเด่นท่ามกลางนานาประเทศ ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกัน รวมถึงมียุทธศาสตร์ในการวางตัวอย่างเหมาะสมกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ เพื่อมีช่องทางและโอกาสในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศอย่างสอดคล้องกับทิศทางของโลก

การเปิด AEC หนึ่งในสามเสาหลักประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการใกล้เข้ามาแล้ว เหลือระยะเวลาเพียงไม่ถึง 1 เดือนเท่านั้น ผมเป็นคนหนึ่งที่ตั้งตารอคอย เพราะต้องการเห็นจุดเริ่มต้นสิ่งใหม่เกิดขึ้นกับประเทศไทย บทความตอนนี้ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาประเทศไทย โดยผมได้วิเคราะห์ไว้ว่า AEC จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยในหลายด้าน และในครั้งนี้ ผมจะนำเสนออีก 2 ประเด็น ดังนี้ 

บทความตอนที่ผ่านมา ผมได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ว่า จะทำให้การพัฒนาประเทศของไทยเปลี่ยนแปลงไปใน 2 ประเด็น คือ (1) การเปลี่ยนแปลงขอบเขตของการพัฒนา ภาคส่วนต่าง ๆ จึงควรปรับมุมมองในการดำเนินงานให้มีขอบเขตกว้างมากขึ้น จากมุมมองภายในขอบเขตประเทศสู่มุมมองระหว่างประเทศ และ (2) การเปลี่ยนแปลงทิศทางการพึ่งพาต่างประเทศ จากการพึ่งพาตะวันตกสู่การพึ่งพาตะวันออกมากขึ้น (from West to East) และจากการพึ่งพาประเทศพัฒนาแล้ว สู่การพึ่งพาเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้น (from North to South) 

    การทำงานเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์ทุกคน เมื่อเราเติบโตพ้นวัยเด็ก เราจะเข้าสู่ ?วัยทำงาน? ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เราต้องอยู่ยาวนานที่สุดในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง หากพิจารณาจากนิยามคนวัยทำงาน ซึ่งกำหนดไว้ว่า มีอายุ 15-59 ปี หรือใช้เวลา 44 ปี ของชีวิตในการทำงาน สมมติแต่ละคนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงาน วันละ 8-9 ชั่วโมง ตลอดอายุจะใช้เวลาทำงาน เฉลี่ยประมาณ 53,000 ชั่วโมง ... เท่ากับว่า เราใช้เวลามากกว่าครึ่งชีวิต ในการทำงาน (หากเราเสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี)!!
    การทำงานกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ที่ไม่สามารถปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงได้ 

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือน อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างเป็นทางการ การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของการพัฒนา ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ AEC จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของไทยในอนาคตอย่างไร?

เมื่อวันที่ 8-10 ตุลาคมที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปเมืองวลาดิวอสตอค (Vladivostok) ประเทศรัสเซีย เพื่อเข้าร่วมงาน 2 งานคือ?Young Russia-Young ASEAN: Expanding Regional Connections, The 3rd Russia-ASEAN Youth Summit? และใน Russia-ASEAN Expert Forum ซึ่งผมได้รับเกียรติในการเป็นทั้งวิทยากรบรรยาย อาจารย์สอนนักศึกษา และตัวแทนผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจากประเทศไทย เพื่อถกแถลงประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น การสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียน-รัสเซีย ภาวะเศรษฐกิจไทยปัจจุบันและความร่วมมือรัสเซีย-ไทย เป็นต้น