บทบาทของภาคประชาชน

เมื่อวันที่ 23 ..ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมการเสวนาภาคประชาชนเรื่อง ldquo;สาวไส้ กกต.rdquo; จัดโดย สถาบันสหัสวรรษ ร่วมกับเครือข่ายจุฬาฯ ที่อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีประชาชนและสื่อมวลชนเข้ารับฟังเป็นจำนวนมาก ในช่วงท้ายของการเสวนา ผมมีโอกาสได้เสนอความคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับบทบาทของภาคประชาชนว่าควรทำอย่างไรบ้างท่ามกลางสภาพการเมืองในปัจจุบัน อันจะส่งผลทำให้สังคมการเมืองไทยดีขึ้น ดังนี้

1. การจัดตั้งสภาจำลองภาคประชาชน

ขณะที่ประเทศปลอดจากสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน และกำลังรอสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ซึ่งจะมีขึ้นในอีก 5 ndash; 6 เดือนข้างหน้า ผมคิดว่าภาคประชาชนไม่ควรอยู่นิ่งเฉย ๆ แต่ควรจัดตั้งให้มี ldquo;สภาจำลองภาคประชาชนrdquo; เกิดขึ้น เพื่อให้กลไกทางการเมืองยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยจัดให้มีการประชุมทุกสัปดาห์ ๆ ละ 2 - 3 วัน พิจารณาว่ามีกฎหมายฉบับไหนที่สังคมไทยต้องการแต่ยังไม่มีความคืบหน้าและประกาศใช้ รวมถึงการติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรี โดยไม่ปล่อยให้บ้านเมืองหยุดชะงักงันแต่มี ldquo;สภาจำลองrdquo; ที่เอาเรื่องความเดือนร้อนของประชาชนออกมาตีแผ่ให้เห็นและส่งเสียงทางอ้อมไปยังฝ่ายรัฐบาลให้ทราบ

2. ติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีอย่างใกล้ชิด

การทำหน้าที่ของรัฐมนตรีแต่ละคนนั้นส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งผมเห็นว่า ภาคประชาชนควรจะจัดตั้ง ldquo;กลุ่มrdquo; ในการตามประกบติดรัฐมนตรีทุกกระทรวง เพื่อทำหน้าที่ดูว่ารัฐมนตรีทำงานกันอย่างไร นโยบายที่ประกาศใช้สมเหตุสมผลหรือไม่ โดยให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ และประเมินผลการทำงานของรัฐมนตรีทุกท่าน พูดให้เห็นชัด คือจัดให้มีเวทีประชาชนข้างกระทรวงของรัฐมนตรี รวมทั้งให้มีการติดตามการทำงานของนายกรัฐมนตรีข้างทำเนียบรัฐบาลด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สังคมไทยเกิดความตื่นตัวในการติดตามการทำงานของฝ่ายบริหาร ประเมินผลนโยบายสาธารณะต่าง ๆ และป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันที่จะเกิดขึ้น ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะทำให้รัฐมนตรีทำงานด้วยความรับผิดชอบและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง

3. ตรวจสอบการทำงานของ กกต. ระดับจังหวัด

คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ถือว่าเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์และยุติธรรม เราไม่ควรปล่อยให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของ กกต.เพียงฝ่ายเดียว แต่ภาคประชาชนควรให้ความร่วมมือกับ กกต.จังหวัดทุกจังหวัด ตั้งแต่ให้ข้อมูล จับตา เฝ้าระวังการทุจริตเลือกตั้งของนักการเมือง และรวมไปถึงเฝ้าติดตามกระบวนการทำงานและการตัดสินใจของ กกต.จังหวัด อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะทำให้กระบวนการจัดการเลือกตั้งของ กกต. จังหวัด เกิดความบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง 4. ช่วยควบคุมการเลือกตั้งทุกหน่วยเลือกตั้ง

ภาคประชาชนควรจะรวมตัวกันจัดตั้งเป็น ldquo;องค์กรเฝ้าระวังการเลือกตั้งเพื่อความสุจริตและเที่ยงธรรมrdquo;โดยแบ่งกำลังคนอย่างพอเพียงที่จะช่วยสอดส่อง ดูแลหน่วยเลือกตั้งต่าง ๆ ในเขตในจังหวัดของตน ซึ่งการเฝ้าระวังจะเป็นการป้องกันการทุจริตเลือกตั้งของนักการเมืองในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็จะทำให้การเเข่งขันทางการเมืองมีความสุจริตและเที่ยงธรรม เพื่อได้นักการเมืองที่มีคุณภาพเข้าสู่สภา

ที่กล่าวมานั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองภาคประชาชนที่จะทำให้สังคมการเมืองไทยดีขึ้น หากเพื่อน ๆ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ก็สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมายังที่ผมได้ครับ

admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2006-05-29