บริหารธุรกิจ

“ผู้เขียนขอชี้ให้เห็นถึงโอกาสของธุรกิจไทยในการสร้างความร่วมมือกับอินเดีย ผลักดันการค้าและการลงทุน ความร่วมมือพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี เพิ่มโอกาสของคนไทย ยกระดับแรงงานในประเทศ

     การจัดอันดับ Global Innovation Index ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้านนวัตกรรม ทั้งที่เป็นประเทศเล็กบนเทือกเขาแอลป์ ไม่มีทางออกทะเล ขาดแคลนทรัพยากร? อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่ในศตวรรษที่ 18 มีแค่วัวกับแกะ แต่ปัจจุบัน กลับเป็นประเทศที่มีการจดสิทธิบัตรต่อประชากรอันดับ 1 ของโลก โดยภาคธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการสร้างนวัตกรรม

     บริษัทขนาดใหญ่ในสวิสเซอร์แลนด์ เช่น ABB, Roche, Nestlé และ Novartis แต่ละบริษัทยื่นจดสิทธิบัตร 400 – 600 ชิ้นต่อปี ขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนมากเป็นผู้นำในระดับนานาชาติ ในการใช้ประโยชน์จากความรู้ใหม่ล่าสุดในกระบวนการนวัตกรรมและในตลาดเฉพาะของสินค้าที่มีคุณภาพสูง และใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษ
     ผมมีบทเรียนจากประเทศนวัตกรรมระดับโลกในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสร้างชาติมาฝากครับ

ในที่สุด ได้เดินทางมาถึงบทความสำหรับ E ตัวสุดท้ายในโมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8Eแล้ว และ E ที่ 8 ที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ นับเป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นขั้นที่ยากที่สุดก็ว่าได้โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทย 

คำว่า "ประสิทธิกาล" เป็นคำที่ผมสร้างขึ้นมา เกิดจากการรวมคำศัพท์ 2 คำ เข้าด้วยกัน ได้แก่ คำว่า "ประสิทธิ" และ คำว่า "กาล" หรือ "กาละ" โดยกาล คือ กาลเวลา คราว ครั้ง หน และเรียกเป็นคำภาษาอังกฤษที่ผมสร้างขึ้นมา คือ "Eschatonicity" ด้วยเหตุนี้ คำว่า ประสิทธิกาล จึงหมายถึง การบริหารที่สามารถเอาชนะผลแห่งกาละได้ (Beyond Temporality) ซึ่งหลักการในการบริหาร คือ การบริหารจัดการที่เน้นความคงทน ผลยั่งยืน  การอยู่ได้นาน ยืนยาวที่สุดปลายปริมณฑลกรอบเวลา จนนำไปถึงความยั่งยืนที่แท้จริง และสิ่งสำคัญที่สุดในการบริหาร คือ การทำให้ผลลัพธ์ที่เลอค่ายั่งยืนยาวนาน กล่าวคือ ไม่ว่าจะทำอะไรต้องคำนึงก่อนเสมอว่า ทำแล้วไม่ได้เกิดผลดีเฉพาะกาลนี้เท่านั้น แต่ต้องมีประโยชน์ไปถึงอนาคต ข้ามกาลเวลา เพราะ สิ่งที่คงอยู่ได้หลายพันปี และปัจจุบันยังอยู่ แสดงว่ามีการออกแบบกระบวนการบางอย่าง เช่น ศาสนา ในยุคพระพุทธเจ้ามีหลายศาสนา ทว่าศาสนาจำนวนมากหายไปแต่พระพุทธศาสนายังคงอยู่ เป็นต้น 

ปัจจุบันเป็นโลกที่ทุกศาสตร์เชื่อมโยงถึงกัน และไม่อาจแยกออกจากกันได้ เพราะโลกปัจจุบัน เป็นโลกที่มีความซับซ้อน มากขึ้นปัจจุบันเป็นโลกที่ทุกศาสตร์เชื่อมโยงถึงกัน และไม่อาจแยกออกจากกันได้ เพราะโลกปัจจุบัน เป็นโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ความปรารถนาและเป้าหมายของมนุษย์ก็มีความซับซ้อนมากขึ้น สิ่งที่ทำได้จึงมีเพียงการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ผมมองขาดว่าในอนาคต การทำสิ่งใดๆ ที่อยู่ในขอบเขตเดิมจะไปไม่ได้ไกล ผู้ที่ขี่ยอดคลื่นเท่านั้นที่จะยังคงอยู่และไปต่อได้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงนำการคิดเชิงบูรณาการมารวมกับการบริหาร เกิดเป็นยุทธศาสตร์การบริหารอย่างมี ?ประสิทธิเขต? (Externality) หรือที่เรียกว่า ?ยุทธศาสตร์ประสานพลังบูรณาการขยายผลลัพธ์ไปนอกขอบเขต? เป็น 1 ใน 8 ยุทธศาสตร์ที่อยู่ในยุทธศาสตร์การบริหาร 8E โมเดล



บทความนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจากโมเดลการบริหารประสิทธิสภาพ 8E ที่ได้ดำเนินมาถึงยุทธศาสตร์ การบริหาร E ตัวที่ 6 แล้ว นั่นคือ ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อทวีคูณผลลัพธ์ที่เลอค่า หรือเรียกว่า การบริหารอย่างมีประสิทธิคูณ (Exponentiality)

บทความตอนนี้ ผมจึงขอนำเสนอ ?ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อผลลัพธ์ที่เลอค่า (Outdo Management Strategy)? หรือที่ผมเรียกว่าการบริหารอย่างมี ?ประสิทธิสาร (Esthetic-Worthiness)?

ผมสร้างคำว่า ?ประสิทธิสาร? ขึ้นมาจาก 2 คำ คือ ประสิทธิ+สาระ โดยคำว่า ?สาระ? มาจากคำว่า ?ผลสาร? อันหมายถึง แก่นสาระของผลที่เกิดขึ้น หรือสิ่งที่เป็นแก่นสาร เป็นประโยชน์ และเมื่อรวมกับคำว่า ?ประสิทธิ? แล้ว จึงหมายความว่า การทำให้สิ่งที่เป็นแก่นสาระหรือมีประโยชน์สำเร็จ ทั้งนี้สิ่งที่เป็นแก่นสาร จะต้องมีคุณค่าสูงสุดท่ามกลางสิ่งที่มีคุณค่าทั้งหลาย ซึ่งผมเรียกสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดนี้ว่า ?เลอค่า?

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2559 ผมได้มีโอกาสบรรยายเรื่อง ?ยุทธศาสตร์แรงงานไทยเพื่อประเทศไทยมีรายได้สูง? ในการสัมมนาโครงการสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ ที่จัดโดยกองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โดยมองถึงภาพรวมปัญหาแรงงานไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาแรงงาน รวมทั้งการเตรียมพร้อมแรงานไทยเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง

ผมเห็นว่า การเตรียมพร้อมและการพัฒนาด้านแรงงานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สังเกตได้จากปัญหาแรงงานและตลาดแรงงานไทยในปัจจุบัน จึงปรารถนาที่จะนำเสนอทิศทางและแนวทางการเป็นแรงงานที่มีคุณภาพแก่แรงงานไทยทุกคน

การวางแผนทำสิ่งใด ๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมาย ต้องไม่เพียงคิดว่า จะวางกลยุทธ์ไปให้ถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างไร แต่ต้องไปให้ถึงอย่างคุ้มค่า ทรงคุณค่า และเลอค่าอย่างยั่งยืน...

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือน อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างเป็นทางการ การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของการพัฒนา ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ AEC จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของไทยในอนาคตอย่างไร?

เมื่อวันที่ 8-10 ตุลาคมที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปเมืองวลาดิวอสตอค (Vladivostok) ประเทศรัสเซีย เพื่อเข้าร่วมงาน 2 งานคือ?Young Russia-Young ASEAN: Expanding Regional Connections, The 3rd Russia-ASEAN Youth Summit? และใน Russia-ASEAN Expert Forum ซึ่งผมได้รับเกียรติในการเป็นทั้งวิทยากรบรรยาย อาจารย์สอนนักศึกษา และตัวแทนผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจากประเทศไทย เพื่อถกแถลงประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น การสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียน-รัสเซีย ภาวะเศรษฐกิจไทยปัจจุบันและความร่วมมือรัสเซีย-ไทย เป็นต้น