ฮาร์วาร์ดต้นแบบสร้างผู้เรียนรักแสวงหาความจริง
การค้นพบแบบภาพร่างตรามหาวิทยาลัยที่มีอักษรภาษากรีกว่า ldquo;VERITASrdquo; ที่สามารถแปลความหมายได้ว่า ldquo;สัจจะrdquo; ในระหว่างการทำวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของฮาร์วารด์ โดยอดีตอธิการบดี
ควินซี่ (Josiah Quincy) ในปี 1836 ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอีก 31 ปีต่อมา ที่ฮาร์วาร์ดได้ก้าวข้ามจากมหาวิทยาลัยที่ผลิตคนเพื่อรับใช้ศาสนา แบ่งชนชั้น กีดกันเชื้อชาติ เพศ มาสู่มหาวิทยาลัยที่สร้างคนเพื่อรับใช้สังคม เปิดกว้างทางความคิด ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม และให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการค้นหาความจริง ได้ค้นพบและพัฒนาตัวเองตามความถนัดและความสนใจ
หากพิจารณาถึงวิสัยทัศน์ของแต่ละคณะ วิทยาลัย ในฮาร์วาร์ดพบข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ แต่ละวิทยาลัยจะมีจุดร่วมหนึ่งในเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตให้ออกไปเป็นผู้นำ รับใช้สังคมในด้านต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้างผู้เรียนให้เป็นทั้งคนเก่ง และคนที่เข้าใจโลก ไม่ว่าจะเป็น
วิทยาลัยบริหารธุรกิจ (Harvard Business School) มีวิสัยทัศน์ว่า จะฝึกฝนผู้นำที่จะทำสิ่งที่แตกต่างให้กับโลก วิทยาลัยจอห์นเอฟเคเนดี้ (John F. Kennedy School of Government) มีวิสัยทัศน์ว่า จะเป็นผู้เตรียมความพร้อมของผู้นำที่จะออกไปรับใช้สังคมประชาธิปไตย วิทยาลัยศึกษาศาสตร์ (Harvard Graduate School of Education) ที่มีเป้าหมายในการสร้างผู้นำด้านการศึกษา และเผยแพร่ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน โอกาส สัมฤทธิผลและความสำเร็จ
แม้ว่าในช่วง 200 ปีแรกของการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้จะให้ความสำคัญกับการสร้างคนเพื่อออกไปรับใช้ศาสนา หากแต่เมื่อมีการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการจัดการศึกษา ให้เป็นการศึกษาแบบเสรีนิยม ทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้สามารถพัฒนาชื่อเสียงและการเรียนการสอนจนมีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ได้ในเวลาไม่นาน
จากการเริ่มต้นปฏิรูปการเรียนการสอนในสมัยของอธิการบดีอีเลียต (Charles W. Eliot) ทำให้ฮาร์วาร์ดได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีแนวคิดเสรีนิยมที่สุด เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในสมัยนั้น รวมถึงเป็นมหาวิทยาลัยแรก ๆ ที่เปิดให้คนกลุ่มน้อยได้มีโอกาสสมัครเข้าศึกษาต่อ โดยเฉพาะการก่อกำเนิดวิทยาลัยที่ให้การศึกษาสำหรับผู้หญิงในปี 1894 และพัฒนามาเป็น วิทยาลัยเรดคริฟฟ์เพื่อการศึกษาขั้นสูง (Radcliffe Institute for Advanced Study) หรือการประกาศให้โควตาสำหรับนักศึกษาเชื้อสายยิว ในปี 1922 สมัยของอธิการบดีโลเวลล์ (Lawrence Lowell)สิ่งเหล่านี้สะท้อนแนวคิดเสรีนิยมที่ไม่ได้ปิดกั้น หรือให้ความแตกต่างทางเพศ ศาสนา วัฒนธรรม
ในปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยยังคงยึดแนวคิดการเรียนการสอนแบบเสรีนิยม ที่ให้ความสำคัญกับระบวนการค้นหา สืบค้นความรู้ มีทางเลือกที่หลากหลาย และเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรพื้นฐานสำหรับผู้เรียนปริญญาตรีใหม่ เพื่อเป็นการขยายกรอบความคิดให้ผู้เรียนได้มีมุมมองที่เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งผมได้นำเสนอรายละเอียดในบทความก่อนหน้านี้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ความสอดคล้องระหว่างคติพจน์ของฮาร์วาร์ดที่แปลความได้ว่า สัจจะ และคำว่า มหาวิทยาลัย ในภาษาอังกฤษที่ว่า ldquo;Universityrdquo; ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำว่า ldquo;Universal truthrdquo; ที่หมายถึง ldquo;สากลสัจจะrdquo; ทำให้เกิดการสะท้อนคิดว่า มหาวิทยาลัยไทย ควรหวนกลับมาสู่นิยามเริ่มแรกของมหาวิทยาลัย เป็นสถานที่ที่จะพานักศึกษาเข้ามาแสวงหา ldquo;สากลสัจจะrdquo; เป็นแหล่งและเป็นช่วงเวลาที่นักศึกษาสามารถเข้ามาค้นหาความหมายของชีวิต เข้าใจชีวิต เข้าใจความเป็นคน มิใช่เพื่อใช้ประกอบอาชีพเพียงประการเดียว
ดังนั้นการจัดการศึกษาที่ถูกต้องควรเป็น การศึกษาเพื่อความรู้ (knowledge) การศึกษาเพื่อสร้างทักษะ (skill) การศึกษาเพื่อสร้างคุณลักษณะชีวิต (character) โดยหลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษาควรสร้างความเข้าใจโลกและชีวิตควรมีการเรียนการสอนปรัชญาพื้นฐานการศึกษาควรมีการเรียนการสอนวิชาใหม่ให้นักศึกษาปีที่หนึ่งปรับเปลี่ยนค่านิยม เป็นหลักสูตรสร้างแรงบันดาลใจ ให้นักศึกษาเกิดคำถามว่า ldquo;มาเรียนที่นี่เพื่ออะไรrdquo; พยายามพาไปสู่คำตอบที่ว่า ldquo;การเรียนที่นี่เพื่อมุ่งสู่การแสวงหาคำตอบให้กับชีวิตrdquo; เพื่อความเข้าใจตนเอง มิใช่การเรียน เพราะถูกบีบบังคับ ขาดเป้าหมาย โดยมุ่งหวังเรียนเพื่อเข้าสู่การประกอบอาชีพ สร้างรายได้เพียงประการเดียว
ในขณะเดียวกันการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชา ควรสร้างให้ผู้เรียนให้มีความลึกและความกว้างในสาขาวิชานั้น เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของชีวิตและการดำเนินชีวิตร่วมกันของคนในสังคม รวมทั้งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับสาขาวิชาที่มีความสำคัญเชิงปรัชญาที่อาจไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด แต่ปรัชญานั้นสามารถเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางของสังคมในทางรุ่งเรืองต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นการทำหน้าที่ของแหล่งบ่มเพาะผู้เรียน เป็นแหล่งผลิตผู้นำที่มีอิทธิพลต่อสังคมในอนาคตข้างหน้าต่อไป
เผยแพร่:
สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
เมื่อ:
2007-08-31