ระบบ

โลกอยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น นับเป็นความท้าทายต่อภาครัฐในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพราะระบบภาครัฐแบบดั้งเดิมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ทั้งสายการบังคับบัญชาที่ยาว การยึดกฎระเบียบมากเกินไป การทำงานแบบแยกส่วน ขาดการมีส่วนร่วมของพลเมือง เน้นนโยบายระยะสั้น และไม่ให้น้ำหนักกับการตอบโจทย์สังคม จากการศึกษาวิจัยและการคิดมาตลอดชีวิต ผมได้ตกผลึกทางความคิดว่า ระบบที่ดี คือ ระบบที่จะทำให้คนชั่วทำดีโดยไม่รู้ตัว ในทางตรงกันข้าม ระบบที่ชั่ว คือ ระบบที่จะทำให้คนดีทำชั่วโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเราไม่สามารถทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ และจะมีต้นทุนสูงมากในการควบคุมมิให้คนชั่วไปสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นและส่วนรวม

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินการธนาคารที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุด คือ
การเปลี่ยนจาก “บริการออฟไลน์” สู่ “บริการออนไลน์” และจาก “สังคมใช้เงินสด” สู่ “สังคมไร้เงินสด” ทั้ง 2 แนวโน้มกำลังปรากฏมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมไทย
อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากแนวโน้มข้างต้น ในบทความตอนนี้ ผมขอนำเสนออีก 2 แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับระบบการเงินการธนาคาร ดังนี้

ปัจจุบัน ระบบการเงินการธนาคาร กำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ การพัฒนาทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการเงิน (Fin Tech) จะสร้างผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อระบบการเงินการธนาคารของไทยและของโลก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีการดำเนินชีวิต ผมได้สรุปแนวโน้มไว้ 6 ประการ แต่ในบทความนี้จะขอนำเสนอ 2 ประการแรก ดังต่อไปนี้

ประการที่ 1 จาก “บริการออฟไลน์” สู่ “บริการออนไลน์” ประชาชนนิยมใช้บริการออนไลน์มากขึ้น ทำให้ธนาคารต้องลดจำนวนสาขาลง ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า งานในธนาคารแบบเดิมจะหายไปร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 50 ซึ่งหมายความว่า ตำแหน่งงานในธุรกิจธนาคารจะหายไปในสัดส่วนเดียวกัน ทั้งนี้ยังไม่รวมผลกระทบต่อธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การธนาคารออนไลน์ (Online Banking) ในปัจจุบัน มี 3 รูปแบบ ได้แก่