อุตสาหกรรม

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมาก ทำให้จีนก้าวขึ้นมาท้าทายสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นอภิมหาอำนาจเดิม โดยมีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ภายในปี 2030

ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญกับ Digital Disruption หรือการทำลายล้างสิ่งเก่า ๆ ออกไปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากเทคโนโลยีด้านดิจิทัลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และกว้างขวาง ส่งผลกระทบไปทุกแวดวง ทั้งการค้า การทำธุรกิจ การผลิต การใช้ชีวิต การใช้จ่าย พักผ่อน การศึกษา ฯลฯ ในขณะเดียวกัน โลกมีแนวโน้มเข้าสู่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th industrial revolution) ด้วย อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการต่อยอดและผสมผสานหลอมรวมของเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ชั้นสูง ระบบอัตโนมัติรูปแบบใหม่ เทคโนโลยีบล็อคเชน (block chain) เครื่องพิมพ์ 3 มิติ การพัฒนาตัดต่อยีนทางพันธุกรรม คอมพิวเตอร์ควอนตัม เป็นต้น

ผมได้นำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชั่นการผลิต (Production Function) มาจับประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก ตั้งแต่ยุคบรรพกาล จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ไปยังอนาคต สร้างเป็นทฤษฎี “การเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก” ซึ่งอยู่ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ได้แก่ คลื่นลูกที่ 0 – ยุคสังคมเร่ร่อน คลื่นลูกที่ 1 – ยุคสังคมเกษตรกรรม คลื่นลูกที่ 2 – ยุคสังคมอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่ 3 – ยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร คลื่นลูกที่ 4 – ยุคสังคมความรู้ คลื่นลูกที่ 5 – ยุคสังคมปัญญา คลื่นลูกที่ 6 – ยุคสังคมความดี การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม ประเทศที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ สามารถก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก โลกกำลังจะเปลี่ยนจากสังคมข้อมูลข่าวสารเข้าสู่สังคมความรู้ ทำให้ความรู้และนวัตกรรมจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแข่งขันและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ทั้งนี้ในปัจจุบัน มีสถานการณ์ที่สะท้อนถึงความจำเป็นของนวัตกรรมต่อเศรษฐกิจโลก ได้แก่