การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ในบทความครั้งที่แล้ว ผมได้เขียนถึงผลการสำรวจในภาพรวมของประสิทธิผลภาคเอกชน (Private Sector Effectiveness: PVE) ที่เป็นตัวชี้วัดด้านหนึ่งภายใต้ดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย หรือ Thailand Effectiveness Index (TE Index)

ภาคเอกชนในที่นี้ หมายถึง ธุรกิจเอกชนไทยหรือต่างชาติที่ดำเนินการในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร เช่น ร้านค้า สถานประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน

จากการอภิปรายผลดัชนีประสิทธิผลภาคเอกชน ประเด็นสำคัญ คือ ภาคเอกชนไม่ได้คำนึงถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยาวเท่าที่ควร กล่าวคือ ยังลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาไม่มากพอ และการคิดค้นหรือประดิษฐ์เชิงนวัตกรรมยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ บทความตอนนี้จึงจะลงลึกในประเด็นดังกล่าว

ดัชนีประสิทธิผลภาคเอกชน แบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 3 หมวด คือ หมวดด้านการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หมวดความรับผิดชอบต่อสังคม และหมวดสถาบันภาคเอกชน ซึ่งหมวดสถาบันภาคเอกชนได้คะแนนต่ำสุด


เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผมในฐานะประธานสภาปัญญาสมาพันธ์ได้เผยผลสำรวจความเห็นของประชาชนและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดทำดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของภาคเอกชน (Private Sector Effectiveness: PVE) เป็นตัวชี้วัดด้านหนึ่งภายใต้ดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย หรือ Thailand Effectiveness Index (TE Index) ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ด้าน คือประสิทธิผลภาครัฐประสิทธิผลภาคเอกชน และประสิทธิผลภาคประชาชน
ประสิทธิผลภาคเอกชนสะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้ของประชาชนว่า ภาคเอกชนสามารถปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการต่างๆ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยมีส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็งของประเทศโดยรวม ตลอดจนเป็นไปตามความคาดหวังของประชาชนมากน้อยเพียงใด