นวัตกรรม

เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจากสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร ให้เป็นประธานเปิดงาน Real Tech # 2 By REP  Smart City for Life ซึ่งเป็นงานจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผมได้กล่าวปาฐกถา เรื่อง “The future of real estate” หรืออนาคตของอสังหาริมทรัพย์

ผมมองว่า มนุษย์เป็นนักโทษที่ติดอยู่ในกรงขังของ 2 มิติ คือกาละและเทศะ

กาละ คือ กาลเวลา (time) เทศะ คือ สถานที่ (space) มนุษย์ต้องอยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่ง ไม่สามารถปรากฏอยู่หลายสถานที่ในเวลาเดียวกันได้ และต้องอยู่ในเวลาปัจจุบันเพียงเวลาเดียว ไม่สามารถอยู่ในอดีตหรืออนาคตพร้อมกันได้ เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้อยู่ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง จึงทำให้อสังหาริมทรัพย์มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์เสมอ ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์จำเป็นต้องครอบครองพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต เช่น การอยู่อาศัย การทำมาหากิน การพักผ่อน เป็นต้น

โลกกำลังอยู่ในสังคมข้อมูลข่าวสารคาบเกี่ยวกับสังคมความรู้ ผู้ที่สามารถจัดการข้อมูลและเปลี่ยนข้อมูลเป็นความรู้ ย่อมมีความได้เปรียบเพราะการประยุกต์ใช้ความรู้จะนำไปสู่การต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากการนำเครื่องจักร หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น International Federation of Robotics คาดการณ์ว่า ภายในปี 2561 หุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกจะมีจำนวนทั้งสิ้น 2.4 ล้านยูนิต และ BCG คาดว่า ในปี 2568 หุ่นยนต์หรือ AI จะเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ถึง 1 ใน 4 และธนาคารกลางอังกฤษคาดว่า ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า งานในอังกฤษและสหรัฐฯ กว่า 40-50% จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ ในบทความตอนนี้ จะนำเสนอ 2 ประการสุดท้ายของแนวโน้มการเงินการธนาคารในศตวรรษที่ 21 ดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ผมได้รับเชิญไปบรรยายในการประชุมวิชาการด้านการบริหารธุรกิจระดับชาติและนานาชาติ ปี 2560 (Business Administration National and International Conferences 2017) ซึ่งจัดโดยคณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัย  ราชภัฏอุบลราชธานี ภายใต้หัวข้อ ‘ผลกระทบของนวัตกรรมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก’ ผมจึงขอแบ่งปันถึงสิ่งที่ได้นำเสนอในงานประชุมครั้งนี้

ผมได้นำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชั่นการผลิต (Production Function) มาจับประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก ตั้งแต่ยุคบรรพกาล จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ไปยังอนาคต สร้างเป็นทฤษฎี “การเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก” ซึ่งอยู่ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ได้แก่ คลื่นลูกที่ 0 – ยุคสังคมเร่ร่อน คลื่นลูกที่ 1 – ยุคสังคมเกษตรกรรม คลื่นลูกที่ 2 – ยุคสังคมอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่ 3 – ยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร คลื่นลูกที่ 4 – ยุคสังคมความรู้ คลื่นลูกที่ 5 – ยุคสังคมปัญญา คลื่นลูกที่ 6 – ยุคสังคมความดี การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม ประเทศที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ สามารถก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก โลกกำลังจะเปลี่ยนจากสังคมข้อมูลข่าวสารเข้าสู่สังคมความรู้ ทำให้ความรู้และนวัตกรรมจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแข่งขันและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ทั้งนี้ในปัจจุบัน มีสถานการณ์ที่สะท้อนถึงความจำเป็นของนวัตกรรมต่อเศรษฐกิจโลก ได้แก่

 
ในการเปิดประชาคมอาเซียนที่จะเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2558 นั้น ประเทศไทยต้องการกำลังคนรุ่นใหม่ที่มิใช่เป็นเพียงแต่เป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับสูง (ซึ่งคุณภาพการศึกษานั้นอาจได้มาตรฐานหรือตกหล่นจากมาตรฐานที่นานาชาติยอมรับ) หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญด้านภาษาเท่านั้น แต่คุณลักษณะสำคัญประการหนึ่งที่จะนำมาสู่การเป็นผู้นำอย่างได้เปรียบในการเปิดเสรีเวทีการค้าระดับภูมิภาคที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้ ได้แก่ คุณลักษณะแห่งการเป็น ?นักคิดริเริ่มสร้างสรรค์?
อนาคตเป็นของผู้ที่มีความพร้อมมากกว่าเสมอ ผู้ที่มี ?ความคิดริเริ่ม? และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ย่อมมีโอกาสก้าวไปก่อน ก้าวไปไกล ก้าวไปสู่อนาคต ที่ประสบความสำเร็จได้มากกว่า
ในทางตรงกันข้ามหากผู้นำหรือประชาชนในชาติ มีอุปนิสัยที่เรื่อย ๆ เฉื่อยชา พึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ รักษาระบบแบบอนุรักษ์นิยม ไม่คิดจะริเริ่มเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ดีกว่าด้วยตนเอง หากไม่มีใครสั่งหรือไม่มีสถานการณ์บีบบังคับ ย่อมเป็นการยากที่จะปรับตัวเข้ากับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและยากที่จะไปสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์ที่วางไว้เป็นแน่