ความรู้

ผมได้นำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชั่นการผลิต (Production Function) มาจับประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก ตั้งแต่ยุคบรรพกาล จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ไปยังอนาคต สร้างเป็นทฤษฎี “การเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก” ซึ่งอยู่ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ได้แก่ คลื่นลูกที่ 0 – ยุคสังคมเร่ร่อน คลื่นลูกที่ 1 – ยุคสังคมเกษตรกรรม คลื่นลูกที่ 2 – ยุคสังคมอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่ 3 – ยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร คลื่นลูกที่ 4 – ยุคสังคมความรู้ คลื่นลูกที่ 5 – ยุคสังคมปัญญา คลื่นลูกที่ 6 – ยุคสังคมความดี การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม ประเทศที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ สามารถก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก โลกกำลังจะเปลี่ยนจากสังคมข้อมูลข่าวสารเข้าสู่สังคมความรู้ ทำให้ความรู้และนวัตกรรมจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแข่งขันและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ทั้งนี้ในปัจจุบัน มีสถานการณ์ที่สะท้อนถึงความจำเป็นของนวัตกรรมต่อเศรษฐกิจโลก ได้แก่

 
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ประเทศเนเธอร์แลนด์กับธนาคารโลก (World Bank Group) ร่วมลงนามในข้อตกลง ?Food for All? เพื่อเพิ่มพูนความรู้ สนับสนุนการสร้างงาน และ การช่วยเหลือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาให้มีความมั่นคงในการพัฒนาเศรษฐกิจภาคการเกษตรได้อย่างยาวนานและยั่งยืน

จากการเป็นผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ หลายแห่ง ได้มีโอกาสร่วมงานกับคนจำนวนมาก  ผมพบว่า  เพื่อนร่วมงานทุกคน แม้จะมีส่วนดี มีศักยภาพอยู่ในตัว สามารถทำงานในหน้าที่และร่วมงานกับผู้อื่นได้อย่างดี แต่ผมสังเกตเห็นว่า ระหว่างพนักงานที่เริ่มต้นงานพร้อม ๆ กัน ทำงานได้เหมือน ๆ กัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะเห็นความแตกต่าง สามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ผมเรียกว่า กลุ่มก้าวหน้า กับ กลุ่มอนุรักษ์