อารมณ์


แหล่งที่มาของภาพ : http://www.trulia.com/pro/files/2013/04/iStock_000019078452Small.jpg
 
พนักงานคนนี้ จบระดับปริญญาโท แต่ทำงานไม่เป็นเลย แถมยังหยิ่ง ใครสอนอะไรไม่เคยฟัง...
 
หัวหน้าคนนี้ เรียนสูง จบสถาบันมีชื่อเสียง เข้าคอร์สอบรมต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่มีศิลปะในการบริหารคน ลูกน้องลาออกกันเป็นว่าเล่น...
 
เรียนก็เก่งนะ แต่ไม่ค่อยมีไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แบบนี้แทนที่จะช่วยแบ่งเบาภาระ กลับกลายเป็นเพิ่มภาระให้องค์กรอีก...

“ถ้าละครไทยไม่มี ‘ตัวอิจฉา’ จะเป็นอย่างไร?”...จากคำถามนี้ หลายคนคงตอบว่า ละครคงไม่สนุก ความรักของพระเอกนางเอกคงจะราบเรียบเกินไป ไม่มีใครมาแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น ลอบทำร้าย และคงไม่ได้สะท้อนภาพ ‘นางเอก’ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ‘คนดี’ ชนะ ‘ตัวอิจฉา’ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ‘คนไม่ดี’ หรือ ธรรมะย่อมชนะอธรรม ในตอนจบให้เรียนรู้กัน
ตัวอิจฉาในละคร คือ ตัวแสดงที่รับบทบาทเป็นผู้มีนิสัยที่เห็นคนอื่นได้ดีแล้วทนดูอยู่ไม่ได้ เป็นตัวแทน ‘ด้านมืด’ ของมนุษย์ ซึ่งในโลกความเป็นจริง เราทุกคนอาจสวมบท ‘ตัวอิจฉา’ ได้อย่างอัตโนมัติ และสามารถ ‘ตีบทแตก’ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อไม่พอใจที่เห็นคนอื่น ‘ได้ดี’ กว่าในเรื่องที่ตนอยากจะมี อยากจะเป็น อยากจะได้.. 
ความรู้สึกอิจฉาเกิดขึ้นตามสัญชาตญาณ โดยไม่ต้องมีใครสอน คนที่ปล่อยให้อีโก้เข้าควบคุมจะถูกความอิจฉาริษยาเข้าครอบงำได้ง่าย เพราะมักเอาจุดอ่อนของตัวเอง ไปเทียบกับจุดแข็งของคนอื่น จึงเกิดความรู้สึกไม่พอใจ