เรียนรู้ แต่อย่าเลียนแบบ

ทางลัดในการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นมืออาชีพ ทางหนึ่งคือ การหาต้นแบบ (model) จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับ เพราะจัดว่าเป็นทางลัดที่ดีในการก้าวสู่ความสำเร็จเช่นนั้นบ้าง

ในเรื่องของการพัฒนาตนเองเป็น นักพูด ที่ดีเช่นกัน เราควรศึกษาเรียนรู้จากบุคคลที่เราชื่นชอบชื่นชม ยกย่องว่าเป็นนักพูดที่ดี แต่หากเราประทับใจมาก โอกาสที่เราจะ ldquo;เลียนแบบrdquo; วิธีการ ท่าทาง หรือแม้กระทั่งน้ำเสียงย่อมเป็นไปได้มาก โดยอาจไม่ได้ตระหนักว่า เราแต่ละคนนั้น ล้วนมี rdquo;เอกลักษณ์rdquo; ของตนเอง และเอกลักษณ์ของเรานั้นเองที่ทำให้คนยอมรับ มิใช่การเลียนแบบ

จำไว้ว่า...เมื่อคนฟังเราพูด ต้องให้เขานึกถึงเรา มิใช่คิดไปถึงคนนั้น...ที่เราเลียนแบบ เพราะหากเราทำเช่นนั้น ย่อมเท่ากับเป็นการลดคุณค่าตนเอง เช่นเดียวกับสินค้าที่ทำรูปทรง สีสันให้คล้าย ๆ กับยี่ห้อที่ขายดีในท้องตลาด ย่อมไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ซื้อเท่าเทียมยี่ห้อเดิม

เพกกี้ นูแนน กล่าวไว้ในหนังสือ On Speaking well ไว้อย่างน่าสนใจว่า เราเป็น lsquo;ผู้ชมที่มีประสบการณ์rsquo; และนั่นเป็นเหตุให้เราเลียนแบบบางคนที่เราเห็นบ่อย ๆ คุ้ยเคย หรือชื่นชมไปโดยไม่รู้ตัว และหากในการพูดของเราเกิดไปเลียนแบบคนดัง ๆ เราจะถูกมองว่าเป็น ของปลอม นูแนนยกตัวอย่างว่า ถ้าในการกล่าวสุนทรพจน์ เรายืนเอาแขนพาดโพเดียม (แท่นที่ยืนพูด) และพูดเสียงนุ่ม ๆ แต่เน้นถ้อยคำจูงใจที่หนักแน่น เราอาจถูกมองว่าเรากำลังเลียนแบบ บิล คลินตัน เพราะคนจะคิดถึงบิล คลินตัน มากกว่าที่จะตั้งใจฟังในสิ่งที่เราพูด

จำไว้ว่า การเลียนแบบคนดัง ๆ ทำให้สูญเสียการสร้าง ldquo;การจดจำrdquo; ตัวตนของเรา ในความรู้สึกของผู้ฟัง ดังนั้น เพื่ออนาคตที่ก้าวหน้าในเส้นทางการพูดของเรา เราควรเรียนรู้ที่จะไม่เลียนแบบ แต่พยายามแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด แม้ลักษณะท่าทางบางอย่างอาจดูขัดหูขัดตาไปบ้าง เช่น ชอบเสยผมเวลาพูด มักกระพริบตาถี่ ๆ เวลาใช้ความคิด เวลาพูดชอบยกมือเหมือนทำท่ายอมแพ้ ฯลฯ หรือลักษณะบางอย่างที่เพื่อน ๆ รู้ว่า ldquo;นี่แหละคือเราrdquo; แม้ดูแปลก ตลกขบขันไปบ้าง แต่ควรจำไว้ว่า นี่คือ เอกลักษณ์ ที่แสดงความเป็นเรา ซึ่งหากเรานำมาใช้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติ เราย่อมสามารถสร้างการจดจำให้กับผู้ฟังได้

จำไว้ว่า ldquo;ความแตกต่างrdquo; สร้างเรา และนำเราไปสู่ความสำเร็จได้ เช่นเดียวกับที่เราจดจำพิธีกร นักพูด นักจัดรายการ แต่ละคน ต่างล้วนมีความแตกต่างกัน มีเอกลักษณ์บางอย่างที่ทำให้เราจดจำได้
อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างการจดจำในแง่มุมของ ldquo;ความประทับใจrdquo; เราจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงท่าทาง อาการ คำพูด หรือน้ำเสียงบางอย่างที่ผู้ฟังอาจเกิดความรู้สึกไม่ชอบ ไม่พอใจ หงุดหงิด รำคาญ เช่น เวลาพูดชอบยกนิ้วชี้ ชี้มาใส่หน้าผู้ฟัง อาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกไม่พอใจ หรือชอบส่ายศีรษะไปมาเวลาพูด หากบ่อยจนเกินไป อาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกรำคาญได้ เป็นต้น
การพัฒนาตนเองในการพูด เป็นเรื่องที่เราควรเรียนรู้ มิเพียงแต่รู้ว่า ldquo;พูดอย่างไรrdquo; เท่านั้น แต่ควรเรียนรู้ที่จะ ไม่เลียนแบบ ด้วย หากต้องการก้าวสู่เส้นทางนี้อย่างประสบความสำเร็จ โดยได้รับการยอมรับ และทุกคนจดจำ ldquo;ตัวเราrdquo; ได้
admin
เผยแพร่: 
งานวันนี้
เมื่อ: 
2007-11-13