การประกวด
ถัดจากการประกวดสาวสวย และหุ่นดี หลายตำแหน่งหลายเวทีที่จัดขึ้นในแต่ละปี มาจนถึงการประกวดสาวเจ้าเนื้อ ldquo;ราชินีช้างrdquo; ประจำปี 2548 เป็นการประกวดที่ดึงสิ่งที่สังคมเห็นว่าเป็นจุดด้อยของผู้หญิงมาทำให้เป็นจุดเด่น ซึ่งเวทีนี้บรรดาสาวเจ้าเนื้อมีโอกาสที่จะโชว์รูปร่าง โชว์ความสามารถกันเต็มที่
อย่างไรก็ตามการประกวดทั้ง 2 กรณีเป็นการให้ความสำคัญกับรูปกายภายนอกมากที่สุด ผมไม่ได้มองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่มีความคิดเห็นว่านอกจากที่ประเทศไทยจะมีการประกวดสิ่งที่อยู่ภายนอกแล้ว ควรมีการประกวดสิ่งที่อยู่ภายในตัวบุคคลด้วย สิ่งที่อยู่ภายใน หมายถึง ลักษณะชีวิต คุณงามความดี ศีลธรรมจรรยา ซึ่งสามารถพบได้จากบุคคลทุกชนชั้นในสังคม แต่บุคคลเหล่านี้ขาดเพียงโอกาสที่จะแสดงออกให้สังคมรับรู้ถึงคุณงามความดีของตนเอง
เนื่องมาจากสังคมไทยมีปัญหาเรื่อง ldquo;ความเสื่อมทรามทางสังคมrdquo; ทั้งปัญหาคอร์รัปชัน ปัญหาความเสื่อมทรามทางเพศ ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ผลักดันให้คนเป็นคนเลว ฯลฯ ส่วนหนึ่งผมจึงต้องการเสนอว่าควรมีการ ldquo;ประกวดความดีrdquo; เป็นการประกวดสิ่งที่อยู่ภายใน เพื่อให้สังคมหันมาให้ความสำคัญความดีในจิตใจกันมากขึ้น จะช่วยลดความเสื่อมทรามทางสังคมได้อีกทางหนึ่ง โดยประชาชนจะมีส่วนเสนอชื่อ ldquo;คนดีrdquo; มาจากทุกชนชั้น ทุกอาชีพ เพื่อเปิดโอกาสให้คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เป็นที่รู้จักในสังคมมีส่วนในการประกาศคุณความดี เช่น ldquo;แท็กซี่คนดีของสังคมrdquo;
นอกจากนั้นควรกำหนดตัวชี้วัดความดีให้ชัดเจน เพราะที่ผ่านมาแม้ว่าเรามีการประกวดประเภทนี้อยู่บ้าง เช่น คุณแม่ดีเด่น คุณพ่อดีเด่น ลูกกตัญญู เยาวชนดีเด่น แต่บุคคลที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักของคนในสังคม หรือเป็นผู้มีชื่อเสียง เช่น ดารา ดังนั้น ควรมีการกำหนดนิยามความดี ตัวชี้วัดความดีให้ชัดเจน ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่เป็นดีได้รับรางวัล เช่น อะไรคือแม่ที่ดี อะไรคือลูกกตัญญู รวมทั้งมีระบบการคัดเลือกอันเป็นที่ยอมรับ และเป็นระบบที่คัดเลือกคนจากทุกชนชั้น ไม่ใช่คัดเลือกเฉพาะคนที่มีชื่อเสียงเท่านั้น เพื่อให้คนทุกชนชั้นมีกำลังใจในการทำความดี
ประเทศไทยต้องการคนดีมีศีลธรรมเพื่อมาเป็นผู้ขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ประเทศแห่งอารยชน มีความเจริญทั้งในด้านจิตใจและวัตถุไปพร้อมกัน ดังนั้นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศต้องส่งเสริมความดีให้มากขึ้น ทำให้คนในประเทศเห็นคุณค่าคุณงามความดีให้มากที่สุด โดยความร่วมมือทั้งในส่วนของรัฐ และประชาชน
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2005-04-25