การส่งเสริมให้จัดการปัญหาโดยเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
จากการที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้ออกรายงานการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี พ.ศ 2547 โดยระบุว่าประเทศไทยมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในหลายด้าน ส่งผลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามออกมาชี้แจงเพื่อลบภาพดังกล่าว ซึ่งการที่รัฐบาลออกมาชี้แจงแก้ข่าวในส่วนที่รายงานบิดเบือนไปจากความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งดีที่ควรทำ แต่อย่างไรก็ตาม เราควรยอมรับว่าปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเป็นเรื่องที่มีอยู่จริง และควรรีบจัดการปัญหาโดยแสดงความพยายามอุดช่องว่างที่จะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น
การส่งเสริมให้จัดการปัญหาโดยเคารพต่อสิทธิมนุษยชน เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามอาชญากรรมโดยหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการวิสามัญฆาตกรรมให้มากที่สุด จะกระทำเพราะเหตุสุดวิสัยเท่านั้น หรือกระทรวงกลาโหมเช่นกัน ควรมีการสื่อสารให้สาธารณะรับทราบว่า กองทัพส่งเสริมการจัดการปัญหาจลาจลด้วยวิธีสันติ
การส่งเสริมระบบตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศโดยภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนตรวจสอบและเรียกร้องให้มีการจัดการ หรือเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือออกกฎหมายบางอย่างเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น กลุ่มสิทธิสตรีออกมากดดันให้รัฐแก้ไขกฎหมายบางฉบับที่สตรีและเด็กยังคงเสียเปรียบในสังคม กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภครวมตัวกันกดดันสื่อมวลชนที่เผยแพร่ข่าวสารที่สะท้อนการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
การที่สหรัฐเผยแพร่รายงานฉบับนี้ออกมา หากมองในมุมบวกแล้วย่อมเป็นการดีที่รายงานฉบับนี้จะทำหน้าที่เป็นกระจกส่องให้คนในสังคมไทยได้เห็นถึง ldquo;บาดแผลrdquo; กระตุ้นให้รัฐบาลแสดงความจริงจังและจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ แม้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจถูกมองข้าม
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2005-03-02