อย่าให้เมตตา?ธรรม?กลายเป็นเมตตา?เทียม?
คำพูดของท่านนายกฯ ที่เป็นความแข็งกร้าวเด็ดขาดอาจก่อปัญหามากกว่าแก้ปัญหา
ในการแก้ไขสถานการณ์ภาคใต้ในเวลานี้ คำพูดของท่านนายกฯ หลายข้อความแสดงถึงอารมณ์โกรธต่อผู้ก่อความไม่สงบ ไม่ได้สะท้อนหลักเมตตาธรรมตามที่ท่านนายกฯ ได้ให้สัญญาว่าจะใช้ เห็นได้จากการพูดผ่านรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2548 อาจยิ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันรุนแรงขึ้น อาทิ
การกล่าวว่า ldquo;ถ้าใครไม่อยากเป็นคนไทยก็ให้บอกมา ทุกคนต้องเลือกเพียงสัญชาติเดียวเท่านั้นrdquo; อาจจะทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าคนที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทยเป็นคนชั่วร้าย ควรถูกผลักไสไปให้ไกล ๆ แผ่นดินไทยไม่ต้อนรับ อาจยิ่งสร้างความแตกแยกระหว่างคนในแผ่นดิน นายกฯ ควรพูดด้วยความเมตตา ควรหาแนวทางที่ทำให้ประชาชนรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่นำเรื่องสัญชาติมาทำให้เป็นจุดใหญ่ ดังท่อนเพลงที่ทุกคนคุ้นเคยที่ร้องว่า ldquo;จะเกิดภาคไหน ๆ ก็ไทยด้วยกันrdquo; เพราะแผ่นดินไทยไม่ได้ประกอบด้วยชนชาติเพียงชนชาติเดียว แต่มีหลายชนชาติ ตั้งแต่อดีตทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขจนถึงปัจจุบัน
หรือคำกล่าวที่ว่า ldquo;ถ้าผู้บังคับบัญชาอ่อนแอ ผมจะเข้าไป ใครไม่ดีเอาออกมาอย่าสร้างปัญหากับประชาชนrdquo; การพูดของท่านนายกฯ เช่นนี้อาจสร้างความกดดันให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำงานในพื้นที่ ซึ่งการควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่ในภาวะปัจจุบันเป็นไปด้วยความยากลำบาก เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ย่อมต้องการกำลังใจอย่างมาก ทางที่ดีกว่านายกฯ ควรแสดงความเห็นใจผู้ร่วมงานมากกว่าที่จะผลักใส ซึ่งท่านนายกฯ เองเป็นคนหนึ่งที่ได้เคยเรียกร้องให้คนทั้งประเทศให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในพื้นที่
การพูดของท่านนายกฯ ค่อนข้างขัดแย้งกับหลักldquo;เมตตาธรรมrdquo; เพราะldquo;เมตตาธรรมต้องมาจากความคิดและจิตใจ สะท้อนออกมาเป็นคำพูด และนโยบายที่นำมาแก้ปัญหาrdquo; นายกฯ เป็นเสมือนหัวเรือใหญ่ในการนำทิศทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้นนายกฯ จึงควรระมัดระวังทั้งความคิด คำพูด และการกระทำที่จะส่งผลในทิศทางที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น
แม้ว่านายกฯ จะมีความตั้งใจจะใช้หลักเมตตาธรรมในการแก้ไขสถานการณ์ แต่การใช้คำพูดที่แข็งกร้าวในการตอบโต้เหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะให้เข้าใจว่าเป็นหลักเมตตาเทียมมากกว่าเมตตาธรรม