?อนาคตศึกษา? กับปัญหาการขยายตัวของเมือง
....กระทรวงมหาดไทยเตรียมออกกฎกระทรวงประกาศกรุงเทพมหานคร ndash; ปริมณฑล เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวหลังพบแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลกพาดผ่านใต้พื้นที่
...ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงรายงานจากองค์การสหประชาชาติ เตือนน้ำท่วมกรุงเทพมหานครใน 15 ปี ข้างหน้า
...นักวิชาการได้ออกมาเตือนให้กรุงเทพมหานครหาทางรับมือต่อปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งซึ่งอาจทำให้พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลหายไปครึ่งหนึ่ง บางพื้นที่อาจพบอัตราการกัดเซาะในอนาคตถึง 65 เมตรต่อปีและพื้นที่จะหายไปประมาณ 1.3 กิโลเมตร ในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า
ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาชาวกรุงเทพฯมหานครคงได้รับข่าวสารการเตือนภัยมากมาย ทั้งภาวะโลกร้อน การเกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่ หรือการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่อาจส่งผลกระทั่งในอนาคตข้างหน้าอาจต้องมีการย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพมหานครถอยร่นขึ้นไปยังจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศเพื่อหนีปัญหาภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเรากลับพบว่ายังไม่มีหน่วยงานหรือผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจออกมาแสดงถึงแนวทางในการป้องกันและรับมือต่อปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก คงมีแต่กลุ่มนักวิชาการต่าง ๆ ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นและกล่าวเตือนด้วยความห่วงใยในปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการในปัญหากรขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทางและปราศจากการควบคุม อาทิ การขยายตัวของบ้านจัดสรรชานเมืองทำให้พื้นที่เดิมซึ่งเป็นที่รองรับน้ำต้องลดปริมาณลง การผุดขึ้นของอาคารสูง คอนโดฯ ใจกลางเมืองทั้ง ๆ ที่บางแห่งยังไม่ได้รับอนุมัติในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และยังติดปัญหาด้านผังเมือง
จากปัญหาดังกล่าวทำให้ผมนึกถึงเมื่อครั้งที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมนานาชาติ City Forsight Conferenceของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหัวข้อ city, urbanization and future studies เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึงความสำคัญของการใช้ ldquo;อนาคตศึกษาrdquo; (Future studies) เพื่อการวิเคราะห์และกำหนดแนวทางเพื่อป้องกันปัญหาอันอาจเกิดจากการขยายตัวของเมือง โดยเป็นการการศึกษาถึงอดีตและปัจจุบันเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อกำหนดทิศทางและทางเลือกที่เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น อันนำไปสู่การวางนโยบายอย่างเป็นขั้นตอน ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวและทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยอนาคตศึกษานับว่ามีความสำคัญอย่างเร่งด่วนต่อการขยายตัวของเมือง กล่าวคือ
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผน เนื่องจากความเป็นเมืองมีความซับซ้อนในการพัฒนาและมีปัญหาหลายด้าน อาทิ ปัญหาความหนาแน่นของประชากร เช่น กรุงเทพมหานคร ยังคงมีการขยายออกไปอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น การสร้างแนวถนนตัดใหม่ การขยายตัวของแหล่งที่อยู่อาศัยทั้งบ้านพักชานเมือง และคอนโดมีเนียมใจกลางเมืองที่ผุดขึ้นมาราวดอกเห็ด...ปัญหาการจราจร ปัญหาความยากจน... ปัญหาสิ่งแวดล้อม...ปัญหาอาชญากรรม ...ปัญหาด้านการศึกษา ฯลฯ ซึ่งต้องนำปัจจัยทั้งหมดนี้มาพิจารณาในการวางแผนการต่าง ๆ
เป็นการเปิดมุมมองให้เห็นโอกาสหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคตเพื่อวางแผนรับมือได้อย่างทันท่วงทีตัวอย่างเช่นปัญหาแผ่นดินไหว น้ำท่วม การกัดเซาะชายฝั่งทะเล ฯลฯ ทำให้ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุมมากยิ่งขึ้นในการขยายเมือง การสร้างตึกสูง และการหาแนวทางป้องกันเชิงรุกต่าง ๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาในอนาคต
โดยผมได้ยกตัวอย่างของเมืองใหญ่ต่าง ๆ ทั่วโลกที่ใช้หลักการของอนาคตศึกษาในการวางแผนการขยายตัวของเมือง เพื่อการวิเคราะห์และฉายภาพให้เห็นถึงผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองในด้านต่าง ๆ ให้เป็นแนวทางสำคัญในการวางแผนทั้งเชิงรุกและเชิงรับต่อการขยายเมืองใหญ่ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร พร้อมนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาในระดับนโยบาย ซึ่งที่ผ่านมาผมได้เขียนเสนอไว้ในหนังสือหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็น เมืองไทยในปี 2560: อนาคตเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า...กรุงเทพฯที่ผมฝัน และกรุงเทพฯ น่าอยู่...จราจรแก้ได้ไม่จลาจลโดยกล่าวถึงแนวทางเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในระยะยาว
การพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ที่ผู้เข้ามาบริหารประเทศจะทำอย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจเหมือนเล่นขายของหรือเล่นเกมที่เมื่อแพ้สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ทุกเมื่อ แต่เป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบมีมุมมองที่กว้างไกลมีวิสัยทัศน์อย่างรอบด้าน ด้วยหลักการของอนาคตศึกษา หรือ Future Studies นี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ที่จะเข้ามาบริหารประเทศทุกคนควรศึกษาทำความเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อประเทศชาติครับ
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-10-01