สร้างลูกรักให้มี ?ใจแห่งการขอบคุณ?
ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com
การสอนลูกให้รู้จักการขอบคุณ หรือ การพูดขอบคุณให้ติดปากอยู่เสมอ เป็นเรื่องที่โดยทั่วไปพ่อแม่มักสอนให้ลูก ๆ ทำเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น เมื่อได้รับของจากใคร หรือรับการช่วยเหลือจากใคร ให้กล่าวคำว่าขอบคุณครับ หรือ ขอบคุณค่ะ กับบุคคลผู้นั้นทันที เนื่องจากเป็นมารยาทสังคมที่พึงปฏิบัติและเป็นการสร้างลักษณะนิสัยที่น่ารัก มีเสน่ห์ ให้กับลูกของเรา พร้อมทั้งทำให้คนต่างๆ เห็นว่าพ่อแม่สั่งสอนลูกมาอย่างดีด้วย
อย่างไรก็ตามพ่อแม่ไม่ควรสอนลูกเพียงแต่การกล่าวคำว่า ldquo;ขอบคุณrdquo; ให้เพียงติดปากเป็นนิสัยเท่านั้นแต่มากไปกว่านั้นคือการสอนและสร้างให้ลูกมี ldquo;ใจแห่งการขอบคุณrdquo; ร่วมด้วย
ใจแห่งการขอบคุณ หรือ การรู้จักขอบคุณ (Gratitude) การกล่าวคำ ldquo;ขอบคุณrdquo; ออกมาจากปากเท่านั้น เป็นเรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัวที่ใคร ๆ สามารถทำได้ แต่การกล่าวคำขอบคุณ อาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากเกินกว่าที่จะเอ่ยปากออกมาก็เป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ลูกอาจต้องเผชิญสถานการณ์ความทุกข์ยากต่าง ๆ อาทิ ในยามที่สอบตก หรือพลาดหวังจากสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะที่ปรารถนา รวมทั้งในอนาคตที่ลูกอาจต้องเผชิญหน้ากับปัญหา ความทุกข์ยากในชีวิตที่ถาโถมเข้ามา เช่น ในยามที่ต้องสูญเสียญาติพี่น้อง หรือบุคคลอันเป็นที่รัก ในยามที่โดนเพื่อนรักหักหลัง ในยามที่คนรักตีจาก ฯลฯ
หากลูกของเราได้รับการปลูกฝังหรือการสร้างใจแห่งการขอบคุณให้เกิดขึ้นจนเป็นลักษณะชีวิตที่ติดตัวเขาไปอย่างถาวรแล้ว ใจแห่งการขอบคุณนี้จะเป็นสิ่งที่มีอานุภาพมหาศาลในการเหนี่ยวนำสิ่งดีมากมายให้เกิดขึ้นในชีวิต เนื่องจากใจแห่งการขอบคุณจะนำลูกของเราไปสู่การจดจำบันทึกในจิตสำนึกของเขาใหม่ว่าตัวเขาเองนั้นเป็น rdquo;คนพิเศษrdquo; คนมากมายล้วนแล้วแต่หยิบยื่นสิ่งดีให้แก่เขา ส่งผลให้เกิดทัศนคติมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ต่าง ๆ มีความรู้สึกดี ๆ กับคนรอบข้าง
นอกจากนี้การมีใจขอบคุณสามรถนำไปสู่การสร้างความประทับใจและการสร้างมิตรภาพอันดีกับคนรอบข้างรวมทั้งยังเป็นการสร้างเลนส์ในการมองโลกใหม่ในมุมมองที่สวยงามแทนการมองโลกด้วยความหดหู่หมดหวัง ในยามที่ลูกอาจต้องพบกับความผิดหวังเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต
โดยการสร้างใจแห่งการขอบคุณนั้นเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องสร้างและฝึกฝนให้เกิดขึ้นเป็นมุมมองความเข้าใจที่ฝังลึกลงในมโนทัศน์ความคิดของลูกให้คิดเช่นนี้จนเป็นนิสัย ไม่ใช่เป็นเพียงการฝึกพูดคำว่า ldquo;ขอบคุณครับrdquo; หรือ ldquo;ขอบคุณค่ะrdquo; ตามมารยาทเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนมุมมองความคิดจากภายในก่อนแล้วจึงส่งผลเป็นพฤติกรรมหรือคำพูดที่ออกมา ด้วยวิธีการนี้จึงสามารถสร้างใจแห่งการขอบคุณที่แท้จริงให้กับลูกได้ รวมทั้งคนที่รับการขอบคุณจากเรานั้นจะสามารถสัมผัสในความจริงใจของผู้พูดได้อย่างลึกซึ้งกินใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
การสร้างใจแห่งการขอบคุณนั้นเป็นเรื่องของการฝึกฝนที่ ldquo;ความคิดrdquo; ให้เคยชินในการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยมุมมองแง่บวกผ่านการขอบคุณต่อทั้งสถานการณ์และตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยพ่อแม่สามารถเริ่มฝึกฝนหรือการสร้างใจแห่งการขอบคุณนี้ให้เกิดขึ้นกับลูกของตนได้ โดยเริ่มจาก
ฝึกความไวในการกล่าวคำขอบคุณ
พ่อแม่ควรฝึกฝนใจแห่งการขอบคุณโดยเริ่มจากการสอนให้ลูกไวในการกล่าวคำขอบคุณอยู่เสมอในทุกเรื่องแม้เป็นเรื่องเพียงเล็กน้อยก็ตาม และหาโอกาสในการกล่าวคำขอบคุณให้มากที่สุด แม้คนที่ทำดีกับเรานั้นอาจเป็นเพียงมารยาทหรือเป็นเพียงหน้าที่ก็ตาม เช่น ขอบคุณคุณตำรวจจราจรหน้าโรงเรียน ขอบคุณพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารที่คอยมาบริการเรา ขอบคุณคุณลุง รปภ. ประจำหมู่บ้านที่คอยเฝ้าเวรยามให้เรา ขอบคุณคุณป้าภารโรงที่คอยทำความสะอาดเก็บขยะหรือเก็บจานของเราในโรงเรียน ขอบคุณทุกครั้งเมื่อมีคนรับโทรศัพท์ให้เรา ขอบคุณคุณแม่ที่ทำกับข้าว ซักเสื้อผ้าให้เรา ขอบคุณคุณพ่อที่ทำงานหนักเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว ขอบคุณพี่ ๆ น้อง ๆ ที่คอยช่วยเหลือห่วงใยหรือเป็นเพื่อนเล่นให้เรา เป็นต้น
โดยพ่อแม่ควรสอนในเรื่องของการแสดงออกของการขอบคุณในรูปแบบต่าง ๆ ว่าสามารถเป็นได้ทั้งคำพูด การกระทำ และการให้สิ่งดีกลับคืนสู่ผู้ที่ทำดีกับเรา อาทิ ทำสิ่งดีให้เช่นช่วยแบ่งเบาภาระคุณแม่ด้วยการทำงานบ้าน นวดให้คุณพ่อเมื่อกลับมาจากที่ทำงาน มอบเป็นการ์ดขอบคุณ หรือของขวัญให้กับคนที่ทำดีกับเรา ในทุกโอกาสไม่ใช่ต้องรอให้ถึงเทศกาลต่าง ๆ ก่อนแล้วจึงค่อยให้ มากกว่าการสอนให้ลูกกล่าวคำขอบคุณ เราควรสอนให้ลูกมีใจขอบคุณต่อคนต่างๆ ที่ทำดีให้แก่เขา
หลายครั้งเราอาจจะหลงคิดไปว่า การที่ผู้อื่นทำดีกับเรานั้นเป็นหน้าที่ที่เขาต้องทำอยู่แล้ว หรือยิ่งกว่านั้น คิดไปว่า เราสมควรได้รับสิ่งดีอยู่แล้ว เช่น มองว่าเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องส่งเสียเลี้ยงดูเราจนเติบใหญ่ มองว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจจราจรอยู่แล้วที่ต้องมาพาเราข้ามถนน มองว่าเป็นหน้าที่ของคุณป้าภารโรงอยู่แล้วที่ต้องมาทำความสะอาดหรือเก็บจานชามให้เรา มองว่าเป็นหน้าที่ของพี่อยู่แล้วที่ต้องเสียสละทุกสิ่งให้น้อง ฯลฯ
ความคิดเช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อการสร้างใจขอบคุณให้เกิดขึ้นในชีวิตทำให้เราพลาดสิ่งดีมากมายและมองข้ามมิตรภาพความรักที่คนมากมายหยิบยื่นให้โดยคิดว่าเป็นเพียงหน้าที่ที่เขาต้องมาปฏิบัติต่อเรา พ่อแม่จึงต้องสร้างความเข้าใจและมุมมองความคิดใหม่ในเรื่องการมีใจแห่งการขอบคุณโดยการฝึกฝนในเรื่องความไวในการขอบคุณให้กับลูกในทุกโอกาสที่สามารถทำได้
จดบันทึกประจำวันถึงสิ่งดีที่เกิดขึ้นในชีวิต
การจดบันทึกประจำวันหรือไดอารี่นั้นมีประโยชน์มากในการฝึกทักษะการเขียน การเรียบเรียงความคิด การทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำวัน รวมทั้งการได้มีที่เขียนระบายในอารมณ์ความรู้สึกให้แสดงออกเป็นตัวอักษร พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกระลึกถึงสิ่งดีๆ ที่ได้รับในแต่ละวัน และผู้ที่นำสิ่งดีๆ เหล่านั้นมายังชีวิตของเขา และควรแนะนำให้ลูกขึ้นต้นการเขียนบันทึกทุกครั้งว่า ldquo;ขอบคุณ สำหรับ.....rdquo; แทนการจดบันทึกถึงความเลวร้ายที่เราได้รับในแต่ละวัน จดบันทึกสิ่งดีของผู้อื่นแทนการจดบันทึกถึงความร้ายกาจที่ผู้อื่นทำให้กับเรา วันนี้ใครมาแกล้งเรา ใครมารังแกเรา ฯลฯ
ด้วยวิธีนี้จะเป็นการเปลี่ยนมุมมองความคิดของลูกเราที่มีต่อเหตุการณ์หรือบุคคลจากลบเป็นบวก เพื่อรักษาใจไม่ให้รู้สึกเกลียดชังหรือขมขื่นใจกับญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง พ่อแม่ หรือคนรอบข้าง เนื่องจากเป็นการฝึกให้ลูกได้เพ่งมองในที่สิ่งดีของเขานั่นเอง ซึ่งนอกจากเป็นการสร้างใจแห่งการขอบคุณแล้วยังเป็นการสร้างใจแห่งการให้อภัยอีกด้วย
บอกเล่าถึงสิ่งดีที่เราได้รับให้คนรอบข้าง
พ่อแม่ควรจัดให้ลูกได้มีโอกาสแบ่งปันถึงประสบการณ์ที่ได้รับสิ่งดีๆ คนจำนวนมากที่ทำดีกับเขา และสิ่งดีที่เกิดขึ้นในชีวิตของเขาในแต่ละวัน อันเป็นการช่วยตอกย้ำใจแห่งการขอบคุณ นอกจากนั้นยังเป็นการให้กำลังใจทางอ้อมให้ลูกรู้ว่ายังมีสิ่งดีมากมายในชีวิตที่เขาสามารถขอบคุณได้ แม้เขาอาจเผชิญกับเรื่องร้ายแรงหรือเรื่องที่ผิดหวังมาก็ตาม
เมื่อไหร่ก็ตามที่พ่อแม่ได้สร้างใจแห่งการขอบคุณหรือเรียนรู้จักการขอบคุณให้เป็นนิสัยหรือเป็นลักษณะชีวิตให้กับลูกแล้ว เมื่อนั้นลูกของเราจะมีมุมมองใหม่ที่สวยงามต่อโลกใบนี้ ต่อสังคมที่เขาอยู่อาศัย ต่อคนรอบข้าง อันนำมาซึ่งความหวังและพลังในชีวิต ไม่เป็นคนที่ท้อถอยหรือท้อแท้ใจอะไรง่าย ๆ เนื่องจากการมีใจขอบคุณทำให้เขาตระหนักเสมอว่าเขาเป็นคนที่ไม่ธรรมดาแต่เป็น ldquo;คนพิเศษrdquo; ที่ได้รับสิ่งดีมากมายในชีวิตนั่นเอง