ลดเงินสมทบประกันสังคม ?อัฐยายซื้อขนมยาย?
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติลดการเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยให้นายจ้างและลูกจ้างลดเงินสมทบลงฝ่ายละร้อยละ 2 จากเดิมร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 3 ของเงินเดือน ส่วนรัฐบาลยังคงสมทบเงินเข้ากองทุนฯในอัตราเดิมคือร้อยละ 2.75 ทั้งนี้มาตรการนี้จะดำเนินการเป็นเวลา 6 เดือน
ร้อยละของเงินเดือน ประกันสุขภาพ ประกันชราภาพ ประกันว่างงาน รวม นายจ้าง 1.5 3 0.5 5 ลูกจ้าง 1.5 3 0.5 5 รัฐบาล 1.5 1 0.25 2.75
รัฐบาลได้ให้เหตุผลของมาตรการนี้ว่า เพื่อให้นายจ้างมีสภาพคล่อง ทำให้สามารถประคับประคองกิจการในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวได้ ซึ่งจะชะลอการเลิกจ้างแรงงานได้ถึง 4.5 แสนคน แม้มาตรการนี้จะทำให้เงินสมทบเข้ากองทุนฯลดลงเดือนละ 2,600 ล้านบาท แต่จะไม่กระทบต่อกองทุนบำนาญชราภาพ เพราะรัฐบาลจะนำเงินสมทบร้อยละ 2.75 ของรัฐบาลเข้าไปชดเชยในส่วนที่ขาดหายไป
หมายเหตุ : เงินเดือนที่จะนำมาคำนวณอยู่ระหว่าง 1,650-15,000 บาท/เดือน
** นำมาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ตีพิมพ์เมื่อวันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2552
ขาดหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิผลของมาตรการในการชะลอเลิกจ้างแม้การลดเงินสมทบจะทำให้ที่นายจ้างมีสภาพคล่องมากขึ้น โดยมีสมมติฐานว่าจะทำให้สามารถประคองธุรกิจต่อไปได้และไม่ต้องเลิกจ้างแรงงาน แต่ไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่หนักแน่นยืนยันได้ว่า มาตรการนี้จะชะลอการเลิกจ้างได้เท่าไร
ส่วนตัวเลขที่อ้างว่าจะชะลอการว่างงานได้ 4.5 แสนคนนั้น คำนวณจากตัวเลขของทางเลือกเดิมคือการลดเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างลงฝ่ายละร้อยละ 2.5 ซึ่งจะทำให้เงินสมทบเข้ากองทุนลดลง 3,250 ล้านบาทต่อเดือน นำมาหารด้วยเงินเดือนเฉลี่ยของลูกจ้าง 7,222.22 บาทต่อเดือน (3,250,000,000 / 7,222.22 = 450,000) ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากเกินจริงและเป็นการคำนวณที่หยาบเกินไป เพราะรัฐบาลเลือกอัตราการลดเงินสมทบลดเหลือร้อยละ 2 เท่านั้น และการลดเงินสมทบให้แก่นายจ้างนั้น นายจ้างที่ขาดสภาพคล่องอาจจะนำเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นไปใช้ในด้านอื่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องนำไปจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานเสมอไป และไม่ใช่ว่านายจ้างทุกรายขาดสภาพคล่อง การลดเงินสมทบหรือไม่จึงอาจไม่มีผลต่อการเลิกจ้างในสถานประกอบการบางส่วน
เงินสมทบที่ลดลง มากกว่า เงินที่ต้องจ่ายชดเชยกรณีว่างงาน
กรณีที่กองทุนฯลดการจัดเก็บเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างลงร้อยละ 2 จะทำให้เงินสมทบลดลง 2,600 ล้านบาทต่อเดือน และสมมติว่าสามารถชะลอการเลิกจ้าง 4.5 แสนคนได้จริง ขณะที่กรณีที่ไม่ลดการจ่ายเงินสมทบ แต่กองทุนฯต้องจ่ายเงินชดเชยรายได้คนว่างงานที่เพิ่มขึ้น 4.5 แสนคน จะทำให้กองทุนฯต้องจ่ายเงินชดเชยมากขึ้น 2,250 ล้านบาทต่อเดือน (คำนวณจากเงินชดเชยรายได้จากการว่างงานประมาณ 5,000 บาทต่อคนต่อเดือน) และยังเป็นไปได้ว่า กรณีที่ไม่ลดเงินสมทบข้ากองทุนฯ จำนวนคนว่างงานจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 4.5 แสนคน แสดงว่าเงินชดเชยการว่างงานน่าจะน้อยกว่า 2,250 ล้านบาทต่อเดือน
ดังนั้นหากเปรียบเทียบเฉพาะในด้านตัวเงิน กรณีที่ไม่ลดการจ่ายเงินสมทบจะทำให้กองทุนฯมีต้นทุนน้อยกว่า เพราะจะสูญเงินสูงสุดเพียง 2,250 ล้านบาทต่อเดือน แต่กรณีการลดเงินสมทบจะทำให้กองทุนฯสูญเงินถึง 2,600 ล้านบาทต่อเดือน หากไม่คิดต้นทุนจากการว่างงาน ต้นทุนการเปลี่ยนงาน และต้นทุนการปิดกิจการของนายจ้าง (ซึ่งไม่ใช่บทบาทหลักของกองทุนฯที่จะไปทำหน้าที่ชะลอการปิดกิจการหรือชะลอการเลิกจ้าง) การที่กองทุนฯไม่ลดเงินสมทบจะมีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่า
ผมจึงไม่เห็นด้วยที่จะลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพราะไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ไม่มีหลักฐานที่หนักแน่นยืนยันว่าจะชะลอการจ้างงานได้เท่าไร ตลอดจนเงินที่สูญไปจากการลดการสมทบยังมากกว่ายังเงินที่ต้องใช้สำหรับชดเชยการว่างงาน ประการสำคัญ มาตรการนี้มีลักษณะ ldquo;อัฐยายซื้อขนมยายrdquo; ซึ่งจะสร้างภาระแก่กองทุนฯในอนาคตเพราะเป็นการนำเงินประกันชราภาพไปใช้
ผมเห็นว่า หากรัฐบาลต้องการดำเนินมาตรการนี้ รัฐบาลควรนำเงินจากงบประมาณมาชดเชยเงินสมทบในส่วนที่หายไป มิใช่นำเงินสมทบของรัฐบาลร้อยละ 2.75 มาชดเชย เพราะเป็นเงินในส่วนที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนฯอยู่แล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐบาลควรจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 4 ของเงินเดือน เพื่อทดแทนส่วนของนายจ้างและลูกจ้างที่ลดลงไปฝ่ายละร้อยละ 2 ของเงินเดือน
แต่เนื่องด้วยรัฐบาลจัดเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า และรัฐบาลสามารถกู้เงินได้จำกัด เพราะมีภาระการชำระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายติดเพดานการก่อหนี้แล้ว ผมจึงเสนอว่า รัฐบาลอาจออกพันธบัตรระยะยาว (20-30 ปี) กู้เงินจากกองทุนประกันสังคมและนำเงินกู้มาชดเชยเงินสมทบในกองทุนฯที่ลดลง โดยมีเงื่อนไขว่า จะงดเว้นการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วง 5-10 ปีแรก ซึ่งทำให้รัฐบาลไม่มีภาระชำระหนี้ประจำปีเพิ่มขึ้นในช่วงแรก จึงไม่ติดขัดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง อย่างไรก็ดี ผลตอบแทนตลอดอายุพันธบัตรต้องไม่น้อยกว่าผลตอบแทนที่กองทุนฯควรจะได้รับจากการลงทุนปกติ
จากการพิจารณาแนวทางการดำเนินงานและเหตุผลของทางการเกี่ยวกับมาตรการนี้ ผมมีความไม่เห็นด้วย โดยมีข้อโต้แย้งดังต่อไปนี้
ผิดวัตถุประสงค์ของกองทุนประกันสังคม
การลดเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้าง เปรียบได้กับการล้วงเอาเงินที่มีอยู่ในกองทุนฯไปใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องของธุรกิจ และเพิ่มรายได้ให้กับลูกจ้างที่ยังมีงานทำ นับว่าขัดแย้งกับวัตถุประสงค์สำคัญของกองทุนฯ คือการจัดให้มีหลักประกันแก่สมาชิกของกองทุนฯ ซึ่งเป็นการสำรองเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือเฉพาะแก่แรงงานที่มีประสบปัญหาทั้งด้านสุขภาพ การว่างงาน และการเข้าสู่วัยชรา
การดำเนินมาตรการนี้ในช่วงเวลานี้ยังถือว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากแรงงานในระบบได้รับการช่วยเหลือจากโครงการเช็คช่วยชาติไปแล้ว แต่แรงงานนอกระบบซึ่งเป็นกลุ่มที่เดือดร้อนมากกว่ากลับยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใด ๆ รวมทั้งกองทุนประกันสังคมมีภาระที่อาจต้องจ่ายเงินชดเชยการว่างงานมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นจึงไม่ควรนำเงินจากกองทุนฯ ไปช่วยเหลือแรงงานที่ยังมีงานทำอยู่
เป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน
แม้รัฐบาลได้ยืนยันว่า มาตรการนี้จะไม่กระทบต่อฐานะของกองทุนบำนาญชราภาพ เพราะจะนำเงินสมทบร้อยละ 2.75 ในส่วนของรัฐบาลเข้าไปชดเชยในส่วนที่ขาดหายไป แต่หากพิจารณาโครงสร้างการจ่ายเงินสมทบในกองทุนประกันสังคม (ตารางที่ 1) พบว่าเงินสมทบของรัฐบาลร้อยละ 2.75 นั้น เป็นเงินประกันชราภาพร้อยละ 1 ดังนั้นการนำเงินสมทบของรัฐบาลเข้าไปชดเชยในส่วนที่ขาดหายไป เท่ากับว่าได้นำเงินจากกองทุนบำนาญชราภาพไปใช้ด้วยส่วนหนึ่ง
เงินสมทบประกันสุขภาพเป็นเงินที่ต้องเหมาจ่ายให้กับโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ จึงลดการสมทบลงไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน เงินสมทบประกันว่างงานเป็นเงินที่ต้องสำรองไว้จ่ายให้กับผู้ว่างงาน ซึ่งมีแนวโน้มคนว่างงานมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เงินที่สามารถลดการสมทบลงได้คือเงินประกันชราภาพ เพราะเป็นเงินออมระยะยาวที่เก็บไว้จ่ายให้แรงงานเมื่อปลดเกษียณ ดังนั้นจึงไม่เป็นไปตามคำยืนยันของรัฐบาลที่จะไม่แตะเงินประกันชราภาพ และการลดเงินส่วนนี้จะทำให้กองทุนฯมีเงินไม่พอจ่ายให้กับคนที่เกษียณอายุ
ตารางที่ 1 อัตราการสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในปัจจุบัน