สร้างเครือข่ายเพื่อสังคมให้เข้มแข็งด้วยการประกอบการเพื่อสังคม

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com

เป็นประจำของทุกปีในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้มีการจัดงานมหกรรมสัปดาห์หนังสือนานาชาติและงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติขึ้น โดยในทุกครั้งที่มีการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประเด็นที่ถูกหยิบยกนำมาพูดคุยกันอยู่เสมอคือ คนไทยอ่านหนังสือน้อยมาก แม้ว่าผู้คนจะให้ความสนใจเข้ามาเยี่ยมชมและซื้อหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเป็นจำนวนมากก็ตาม

ประเด็นถกเถียงในเรื่องการอ่านหนังสือของคนไทย เป็นสิ่งที่มีการพูดคุยกันมานาน แต่ประเด็นที่ยังไม่ได้ถูกกล่าวถึงกันมากนักคือ ldquo;ความสามารถด้านทักษะการอ่านหนังสือของคนไทยrdquo; การอ่านหนังสือจำนวนมากหรือน้อยอาจไม่สำคัญเท่ากับ ผู้อ่านได้รับอะไรจากสิ่งที่อ่านหรือผู้อ่านได้นำสิ่งที่ได้อ่านนั้นไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ขึ้นอยู่กับวิธีการอ่านเป็นสำคัญ ผู้อ่านที่ขาดทักษะการอ่าน แม้อ่านหนังสือมากแต่อาจไม่ได้รับประโยชน์ก็เป็นได้

ทักษะการอ่าน เป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักวิชาการด้านการศึกษาในสหรัฐอเมริกา หลุยส์ เอ็ม โกเมซ (Louis M. Gomez) ศาสตราจารย์ด้านศาสตร์แห่งการเรียนรู้ (Learning Sciences) แห่งสถาบันสอนนโยบายการศึกษาและสังคม (school of Education and Social Policy) มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern University) และผู้ช่วยศาสตราจารย์คิมเบอร์ลี่ โกเมซ (Kimberley Gomez) วิทยาลัยการศึกษา (College of Education) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) ออกมาแสดงความคิดเห็นในนิตยสาร Phi Delta Kappan ฉบับเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เรื่อง ldquo;Reading for Learning: Literacy support for 21st Century Workrdquo; ไว้ว่า การขาดทักษะการอ่านของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลต่อการทำงานในอนาคต

นักวิชาการทั้ง 2 ท่าน กล่าวว่า เศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ต้องการแรงงานคนที่มีทักษะการคิดเชิงสรรค์ การคิดเชิงวิเคราะห์ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และในอนาคต อาชีพที่จะเติบโตมากที่สุดคือ อาชีพที่อาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและอาชีพด้านงานบริการ ทั้ง 2 อาชีพ ต้องอาศัยทักษะการสื่อสารกับกลุ่มคนที่มีความแตกต่าง โดยเครื่องมือสำคัญที่จะทำผู้เรียนมีทักษะดังกล่าวคือ ldquo;การอ่านเพื่อการเรียนรู้rdquo; เนื่องจากการอ่านต้องอาศัยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล จนสามารถแปลงข้อมูลที่ได้รับและนำไปใช้ประโยชน์

ผู้เรียนที่มีพื้นฐานด้านทักษะการอ่านที่ไม่ดีตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีความยากลำบากในการเรียนระดับการศึกษาที่สูงขึ้นและเมื่อก้าวเข้าสู่โลกการทำงาน ในสหรัฐอเมริกา ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาจำนวนมาก มีทักษะการอ่านเท่ากับผู้เรียนระดับประถมศึกษา นั่นหมายความว่า สถานศึกษาในสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง ไม่ได้ฝึกทักษะพื้นฐานด้านการอ่านเพื่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งมีสาเหตุเนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่ มักคิดว่าตนเองรู้เทคนิคการอ่านอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ผู้สอนก็มักคิดว่าตนเองไม่ได้มีหน้าที่สอนวิธีการอ่านหนังสือและคิดว่าผู้เรียนน่าจะรู้เทคนิคการอ่านอยู่แล้ว จึงไม่ได้เข้มข้นในการสอนและพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพให้ผู้เรียน

ศ.หลุยส์ เอ็ม โกเมซ และ ผศ.คิมเบอร์ลี่ โกเมซ ได้แนะนำเทคนิคการอ่านที่ผู้สอนสามารถนำไปฝึกทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ซึ่งสามารถทำไปพร้อมกับการเรียนการสอนได้ ดังนี้

วิเคราะห์เนื้อหา (Annotation) เป็นเทคนิคการอ่านที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์เนื้อหาที่อ่านให้เข้าใจ โดยจับใจความสำคัญหลัก ใจความที่สำคัญรอง ถอดความเข้าใจจากคำศัพท์ที่ยาก ขีดเส้นใต้จุดที่สำคัญ และสรุปใจความสำคัญอย่างย่อในสิ่งที่ได้จากการอ่าน การถอดความสำคัญผู้เรียนสามารถเก็บไว้ใช้เพื่อประโยชน์ในอนาคต เทคนิคการอ่านนี้ทำให้ผู้เรียนสามารถสำรวจโครงสร้างและใจความสำคัญของเนื้อหา ซึ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์
ตีความเนื้อหา 2 ส่วน (Double-entry readings logs) เทคนิคนี้ผู้เรียนต้องทำ 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ถอดใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน และอธิบายให้ได้ว่าหาใจความสำคัญมาได้อย่างไร วิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์เนื้อหาและถ่ายทอดออกมาได้ ส่วนที่สอง หาคำศัพท์ใหม่ ๆ หาความหมายของคำศัพท์ และอธิบายให้ได้ว่าคำศัพท์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับใจความสำคัญอย่างไร โดยอาจต้องอาศัยการวิเคราะห์ประเด็นแวดล้อม การอ่านหนังสือด้วยเทคนิคนี้ ผู้สอนสามารถประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ว่า สิ่งไหนที่ผู้เรียนเข้าใจและสิ่งไหนที่จำเป็นต้องสอนซ้ำ

สรุปความ (Summarization) เป็นการสรุปเนื้อหาจากสิ่งที่อ่านทั้งหมด การสรุปเนื้อหาที่ดี ผู้เรียนต้องจับใจความสำคัญของเนื้อหา ตลอดจนใจความสนับสนุนที่เชื่อมโยงกับใจความสำคัญ เทคนิคนี้ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่อ่านลึกซึ้ง และผู้สอนสามารถประเมินความเข้าใจของผู้เรียนว่าถูกต้องมากน้อยเพียงใด
ดังนั้นคุณภาพในการอ่านจึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าปริมาณหนังสือที่ลูกอ่าน โดยพ่อแม่ควรสำรวจลูกรักตั้งแต่วันนี้ว่าลูกของเรานั้นอ่านหนังสือเป็นหรือไม่ มีประสิทธิภาพการอ่านมากน้อยเพียงใด เพื่อสามารถแก้ไขจุดอ่อนได้ทันท่วงทีและพัฒนาทักษะในการอ่านของลูกให้ดีขึ้นต่อไป โดยสิ่งที่พ่อแม่สามารถช่วยเหลือและฝึกฝนลูกให้เป็นนักอ่านที่มีประสิทธิภาพในภาคปฏิบัตินั้น ได้แก่

กำหนดเวลาเจาะจงในการอ่าน เพื่อช่วยให้เด็กมีระเบียบวินัยในการอ่านมากขึ้น ลดความตึงเครียดที่เกิดจากการอ่าน โดยพ่อแม่อาจกำหนดช่วงเวลาที่เจาะจงในการอ่าน เช่น กำหนดให้ลูกมีเวลาอ่านหนังสือวันละ 15 นาทีก่อนรับประทานอาหารเน จัดเวลาตอนเช้าช่วงวันหยุดอ่านหนังสือกับพ่อแม่ หรืออาจช่วยลูกวางแผนกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวัน จัดสรรเวลาช่วงหนึ่งอย่างเจาะจงสำหรับทบทวนตำราและอ่านหนังสือ เพื่อลูกจะไม่ต้องหักโหมอ่านเมื่อใกล้เวลาสอบหรือใกล้กำหนดเวลาที่พ่อแม่วางไว้สำหรับการอ่านหนังสือแต่ละเล่ม ในระหว่างวันหากมีกิจกรรมบางอย่างที่สามารถทำควบคู่กันได้ก็ไม่ควรปล่อยเวลาให้เสียเปล่า เช่น พ่อแม่อาจแนะนำให้พกหนังสือติดตัวเพื่ออ่านระหว่างเดินทางไปโรงเรียน เป็นต้น

กำหนดวัตถุประสงค์ในการอ่านอย่างชัดเจน โดยพ่อแม่อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น

hellip;ตั้งคำถามก่อนอ่านhellip;พ่อแม่ถามคำถามกว้าง ๆ แก่ลูกก่อนอ่านเพื่อให้เด็กมีเป้าหมายในการอ่าน ไม่อ่านไปเรื่อย ๆ เช่น ldquo;หนังสือเล่มนี้มีเนื้อเรื่องหลักเกี่ยวกับอะไรrdquo; ldquo;อ่านแล้วจะนำมาใช้ประโยชน์อะไรบ้างrdquo;

hellip;สำรวจเนื้อหาก่อนอ่านhellip;การสำรวจเนื้อหาก่อนทำให้เด็กเกิดความคุ้นเคยกับเนื้อหาก่อนอ่านและมีส่วนช่วยในการตัดสินใจว่า ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ต่อไปอย่างละเอียดหรืออ่านผ่านไป หรือเลือกดูเฉพาะส่วนที่น่าสนใจ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกได้รับคุณค่าอันมหาศาลจากหนังสือ โดยไม่เสียเวลามากในการอ่าน พ่อแม่สามารถทำได้โดยการแนะนำให้ลูกเริ่มต้นจากการเปิดอ่านคำนำ สารบัญชื่อบทต่าง ๆ ในหนังสือ บทนำ บทสรุป ในหนังสือแต่ละเล่มก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อหาความคิดสำคัญ (Main Idea) ของเรื่อง อีกทั้งยัง เป็นการฝึกจับประเด็น เพื่อทราบว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไร โดยไม่ต้องเสียเวลาในการอ่านจนจบทุกตัวอักษร
ฝึกการ ldquo;จดจ่อrdquo; และ ldquo;จดจำrdquo; โดยธรรมชาติแล้ว เด็ก ๆ มักมีสมาธิในการจดจ่อต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ในช่วงเวลาที่สั้นกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นเพื่อฝึกฝนให้ลูกได้อ่านอย่างมีประสิทธิภาพ จดจ่อ และจดจำได้เป็นอย่างดี จึงควรซอยย่อยเวลาในการอ่านให้เหมาะสม แบ่งเวลาให้เด็กได้พักสั้น ๆ แล้วค่อยให้อ่านต่อ เพื่อให้ความสามารถในการจำยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสมและทำให้เด็กเกิดความผ่อนคลาย และมีสมาธิในการอ่านมากขึ้น
ฝึกอ่านควบคู่ฝึกจดบันทึก พ่อแม่ควรแนะนำให้ลูกมีสมุดพกเล่มเล็ก ๆ ติดตัวไว้ เมื่ออ่านหนังสือและพบสิ่งใดน่าสนใจให้จดบันทึกไว้และนำมาพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาเพิ่มขึ้น สิ่งที่พ่อแม่แนะนำให้ลูกจดลงในสมุดบันทึก โดยอาจเพิ่มลูกเล่นหรือความน่าสนใจในการจด เช่น การใช้ปากกาสีสันที่ต่างกันเพื่อเน้นข้อความที่สำคัญมากน้อยต่างกัน การใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนตัวอักษร ทั้งนี้พ่อแม่อาจสอนให้ลูกทำการจดบันทึกจากการอ่านด้วยวิธีการที่หลากหลายผสมผสานกัน เช่น

hellip;จดบันทึกความรู้รวบยอดhellip;โดยจดบันทึกเกี่ยวกับหนังสือแต่ละเล่มที่อ่านว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ผู้เขียนต้องการเล่าสิ่งใด เพื่อสะดวกต่อการนำกลับมาทบทวนหรือเปรียบเทียบกับหนังสือเล่มอื่นที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน ทำให้ไม่เสียเวลาในการอ่านซ้ำ

hellip;จดบันทึกแนวคิดแปลกใหม่hellip;เพื่อยกระดับความรู้ของเด็กให้กว้างไกลยิ่งขึ้น รู้ว่ามีสิ่งใดบ้างที่มีคนเคยคิดและให้ความเห็นต่อเรื่องนั้น ๆ อย่างไร เพื่อจะไม่คิดซ้ำหรือทำในสิ่งทีคนอื่นได้ทำมาแล้ว สามารถนำข้อคิด ความผิดพลาดจากคนอื่นมาเป็นฐานในการคิดต่อไป

hellip;จดบันทึกคำศัพท์ คำที่ไม่คุ้นเคยhellip;เพื่อหาความหมายและทำความเข้าใจกับคำเหล่านั้นอย่างลึกซึ้งอีกครั้ง เนื่องจากหนังสือในแต่ละเล่มอาจมีรูปแบบภาษาที่แตกต่างกัน มีคำศัพท์เฉพาะของแต่ในสาขาวิชา เช่น คำศัพท์เฉพาะทางเศรษฐศาสตร์ ศัพท์เฉพาะทางเคมี ฟิสิกส์ สังคมศาสตร์ ปรัชญา ฯลฯ การที่เด็ก ๆ พบคำที่ไม่คุ้นเคยอยู่เป็นประจำในขณะที่อ่าน อาจส่งผลให้ความสนใจที่มีต่อเนื้อหาในหนังสือเล่มนั้นลดน้อยลง และอาจเป็นเหตุที่ทำให้เขาไม่อยากที่จะอ่านหนังสือเล่มนั้นต่อไปในที่สุด

ฝึกอ่านควบคู่ฝึกคิด การอ่านควบคู่ไปกับการคิด หรือการอ่านไปคิดไปนั้นจะส่งผลให้เด็กได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดหลากหลายด้าน มีการกลั่นกรองข้อมูลที่รับเข้ามาเป็นอย่างดี นำสู่การคิดสิ่งต่าง ๆ ที่แตกแขนงออกไป อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสนุกสนานในการอ่าน เมื่อเด็ก ๆ ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดประกอบร่วมด้วย โดยพ่อแม่อาจใช้วิธีการตั้งคำถามโดยการนำหัวข้อที่สำคัญหรือเป็นจุดที่น่าสนใจของหนังสือเล่มนั้น มาตั้งเป็นคำถามเพื่อให้ลูก ๆ ได้หาคำตอบระหว่างทางที่เขากำลังอ่านอยู่นั้น เช่น ในหนังสือเรื่องการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ พ่อแม่อาจตั้งคำถามว่าเป็น ldquo;มีวิธีการอะไรบ้างที่ลูกจะสามารถอ่านหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพrdquo; เป็นต้น

ประเมินผลการอ่าน โดยการประเมินผลทำให้พ่อแม่สามารถทราบถึงพัฒนาการด้านการอ่านของลูกว่าก้าวหน้าขึ้นมากน้อยเพียงใด อะไรเป็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนในการอ่านของลูก เพื่อให้พ่อแม่หาวิธีอื่น ๆ ที่เหมาะสมในการปรับปรุงประยุกต์ใช้เพื่อฝึกฝนทักษะในการอ่านให้กับลูกในขั้นตอนต่อไป อีกทั้งอาจเป็นช่องทางหนึ่งที่มีส่วนทำให้เด็กสามารถค้นหาศักยภาพหรือความถนัดของตนเองที่ซ่อนอยู่ได้
การประเมินผลทำได้โดยพ่อแม่ควรหมั่นสังเกตถึงทักษะการอ่านของลูก เช่น การจับเวลาดูประสิทธิภาพในการอ่าน การถามและตอบเพื่อตรวจสอบความเข้าใจในสิ่งที่ลูกได้อ่านไป เป็นต้น

หากเด็กยังไม่สามารถอ่านได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่พ่อแม่ตั้งไว้ พ่อแม่ควรแนะนำและถามว่าไม่เข้าใจส่วนใด หรือสำรวจความพร้อมว่าเด็กมีความพร้อมมากน้อยเพียงไรกับเนื้อหาที่ให้อ่าน เวลาที่ตั้งไว้เหมาะสมหรือไม่ รวมถึงพ่อแม่ควรกลับไปประเมินคำถามที่ตั้งก่อนอ่านว่ามีความชัดเจนเพียงไร คำถามยากเกินความเข้าใจของเด็กหรือไม่ เพื่อพัฒนาการอ่านในครั้งต่อไป

การอ่านหนังสือเป็น ไม่ใช่เพียงการได้อ่านเท่านั้น แต่เป็นการอ่านอย่างมีการวางแผน อย่างมีความเข้าใจ และเป็นการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพ่อแม่เป็นครูคนสำคัญในการช่วยเหลือลูก ด้วยความอดทน พากเพียรพยายาม จนสามารถสร้างลูกให้เป็นนักอ่านที่มีคุณภาพคับแก้วได้ในที่สุด

admin
Catagories: 
เผยแพร่: 
นิตยสารแม่และเด็ก
เมื่อ: 
2009-04-10