มั่นใจเพียงใดเมื่อต้อง ?พูด?

ldquo;เป็นความจริงที่ว่า คนจำนวนมากที่ควรจะพัฒนาทักษะการพูดของเขา แต่กลับละเลยเรื่องนี้เสียrdquo;

คำกล่าวนี้ แจ๊ค วาเลนติ (Jack Valenti) ได้กล่าวไว้ในคำนำของหนังสือ ldquo;Speak up with confidence: How to prepare, learn, and deliver effective speechesrdquo; เขาได้ค้นพบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งที่ว่า คนจำนวนมากที่อยู่ในอาชีพที่ต้องสื่อสารกับผู้อื่น เพื่อจูงใจผู้ฟังให้เชื่อวางใจและตัดสินใจตามที่เขาต้องการ แต่กลับละเลยที่จะฝึกทักษะการพูดให้มีพลังในการจูงใจ การชี้ให้คนฟังเห็นความสำคัญ เกิดแรงบันดาลใจ และคล้อยตามในสิ่งที่พูด

สำหรับบางคน แม้จะมีความมั่นใจว่าเป็นผู้มีวาทศิลป์จูงใจอันยอดเยี่ยม แต่กลับขาดองค์ประกอบสำคัญ อาทิ ขาดความเข้าใจผู้ฟัง มุ่งเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ขาดความน่าเชื่อถือในบุคลิกลักษณะ เช่น สายตาที่ดูมีเล่ห์เหลี่ยม ไม่น่าไว้วางใจ หรือน้ำเสียงที่ขาดพลัง หรือการแต่งกายที่ดูไม่เหมาะสม เป็นต้น เรื่องเหล่านี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลให้การพูดของเขานั้นล้มเหลวได้

หากคนเหล่านั้นที่ต้องอยู่ในบทบาทที่ควรจะมีทักษะการพูดที่ดี ไม่ว่าจะเป็น ผู้นำองค์กร ผู้บริหาร หัวหน้างาน นักขาย นักประชาสัมพันธ์ หรืออาชีพอื่นใดก็ตาม ซึ่งการพูดจูงใจนั้นเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในอาชีพของเขา ยังไม่สามารถมีทักษะการพูดที่ประสบความสำเร็จได้ ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด เราย่อมไม่สามารถคาดหวังได้เลยในคนทั่ว ๆ ไปที่จะมีทักษะการพูดเช่นนี้ได้

ในความเป็นจริง ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพใดก็ตาม เราควรเป็น ldquo;นักพูดrdquo; ด้วยเป็นส่วนหนึ่งในตัวเรา เพราะการที่เรามีทักษะการพูดที่ดีนั้นจะทำให้เราได้เปรียบ และเป็นการเพิ่มโอกาสความสำเร็จในอาชีพที่เราทำได้ยกตัวอย่างเช่น แม้เราเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ ถ้าเรามีทักษะการพูดจูงใจ เมื่อเราต้องนำเสนอแผนงาน รายงาน หรือของงบประมาณเพื่อดำเนินงานต่อที่ประชุม เราจะสื่อสารได้อย่างมีพลังในการจูงใจ มีเหตุมีผล มีความรู้สึกคล้อยตาม และเกิดเชื่อถือในเหตุผลของเรา และตัดสินใจตามที่เราต้องการได้ด้วยความเต็มใจ เป็นต้น

ดังนั้น เราทุกคนจึงควรเห็นคุณค่าความสำคัญของการฝึกทักษะการพูด โดยเฉพาะในการพูดจูงใจผู้ฟัง หากต้องการเพิ่มมูลค่าให้ตัวเองด้วยการเพิ่มทุนทางทักษะที่สำคัญนี้

ในเริ่มต้น เราต้องตระหนักว่า การพัฒนาทักษะการพูดเพื่อจูงใจผู้ฟังนั้น จะต้องพัฒนาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับผู้พูด 3 ประการ ไปพร้อม ๆ กันดัวย อันได้แก่

หนึ่ง การมีบุคลิกลักษณะที่เหมาะสม
เป็นความจริงที่ว่า ถ้าต้องการให้คนประทับใจเราตั้งแต่แรกพบ เราต้อง lsquo;ดูดีrsquo; ก่อน lsquo;พูดดีrsquo; เพราะคนจะเห็นหน้าตา การแต่งกาย บุคลิกภาพของเราก่อนที่จะได้ยินเสียงของเรา และขณะเมื่อเราพูด เขาจะจับจ้องไปที่บุคลิกท่าทางของเรา น้ำเสียง ความมั่นใจ ความเชื่อมั่นในหน้าตา ท่าทาง และคำพูดที่ออกมา เขาจะซึมซับองค์ประกอบเหล่านี้ เพื่อตัดสินว่าเขาจะเชื่อในสิ่งที่เราพูดหรือไม่

บุคลิกลักษณะของผู้พูดเป็นวิธีการจูงใจที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้น เราต้องมีบุคลิกภาพ การวางท่าทาง มีคำพูดที่สะท้อนความเชื่อมั่นในสิ่งที่กล่าว อีกทั้งต้องพูดให้ชัดเจน อย่าพูดงึมงำพึมพำอยู่ในลำคอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเราอยู่ในฐานะผู้นำ เราต้องให้ดูว่าเป็นบุคคลที่มีอำนาจ มีความน่าเชื่อถือ

สอง การรู้จักผู้ฟัง
เราจะไม่สามารถพูดโดนใจผู้ฟังได้ หากเราไม่รู้มาก่อนว่าเราพูดให้ใครฟัง และไม่รู้ว่าเขาต้องการอะไรจากเรา ดังนั้น เราจำเป็นต้องรู้จักผู้ฟัง รู้ว่าควรจะใช้คำพูด ท่าทางเช่นไร ในเวลาใดจึงเหมาะสม ต้องพูดเนื้อหาเช่นไร ผู้ฟังจึงรู้สึกว่าเราเป็นมิตร มิใช่เป็นศัตรู เราควรจะใช้คำพูดจูงใจในเวลาใดจึงเหมาะสม เป็นต้น

สาม การให้เหตุผล
เราต้องตระหนักว่า ไม่มีความสำเร็จที่ยั่งยืนสำหรับคำโกหกที่สวยหรู เพราะไม่มีใครต้องการเป็นผู้ที่ถูกหลอก ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ ดังนั้น เราจึงต้องสื่อสารความจริงให้ผู้ฟัง ต้องให้เหตุผล ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและอ้างอิงได้ เราต้องจำไว้ว่า คำพูดของเราจะจูงใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเหตุผลที่เราให้ว่าหนักแน่น เป็นความจริงเพียงใด

องค์ประกอบทั้งสามประการนี้ เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่ต้องมี หากต้องการให้คำพูดของเราประสบความสำเร็จในการจูงใจผู้ฟัง ซึ่งหากจะถามว่า เราควรพัฒนาทักษะนี้หรือไม่? ให้เราลองตอบคำถามว่า ldquo;เราพร้อมหรือไม่ที่จะยืนต่อหน้าคน เพื่อจูงใจเขา เพื่อดลจิตดลใจเขา และในตอนท้ายเพื่อเปลี่ยนความเชื่อให้เขาเชื่อในสิ่งที่เราพูด?rdquo; ถ้าเรายังไม่มั่นใจ ย่อมไม่สายหากจะก้าวเข้ามาฝึกฝนการพูดในเส้นทางนี้
admin
เผยแพร่: 
งานวันนี้
เมื่อ: 
2007-07-31