ปกป้องลูกรักจาก ?โรคเครียด?
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com
ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ กองแผนงานกรมสุขภาพจิต ระบุว่า โรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตที่น่าเป็นห่วงและเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายคือ โรคซึมเศร้า ซึ่งอัตราความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรไทยมีอยู่ประมาณร้อยละ 4.76 หรือประมาณ 3 ล้านคน
โรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากความเครียด แรงกดดันภายนอก ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างในตัวผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีความคิดเห็น หรือมุมมองต่อสิ่งต่างๆ ของผู้ป่วยเปลี่ยนไป ไม่สามารถห้ามความเศร้าโศก และฆ่าตัวตายในที่สุด กรมสุขภาพจิตประมาณว่า ในปี พ.ศ.2551 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าสูงถึง 3,002,789 คน ขณะที่มีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าและได้รับการรักษามีเพียง 130,341 คน เพราะส่วนใหญ่ ไม่รู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และไม่คิดว่าอาการซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยทางจิตอย่างหนึ่ง
ความเครียดที่นำไปสู่โรคซึมเศร้าเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ การแข่งขันที่มากขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่รัดตัว เนื่องจากราคาน้ำมันและค่าครองชีพสูงขึ้น อีกทั้งสภาพสังคมที่ต่างคนต่างอยู่ ส่งผลให้ผู้คนเกิดความเครียดได้มากขึ้น
ประการสำคัญ ปัญหาความเครียดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในหมู่คนทำงานเท่านั้น แต่ได้ลามถึงเด็กและเยาวชนไทย จนส่งผลเกิดการฆ่าตัวตาย ดังที่เกิดเหตุการณ์ฆ่าตัวตายของนักเรียนนักศึกษาติดต่อกันถึง 3 คนในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ.2551 และยังมีหลายเหตุการณ์ที่ไม่ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
การหาแนวทางเยียวยาเยาวชน ให้สามารถแก้ไขปัญหา และป้องกันความเครียดได้ ต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา สื่อมวลชน สังคมชุมชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ldquo;สถาบันครอบครัวrdquo; ซึ่งอยู่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชนมากที่สุด
สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรตระหนักคือระมัดระวังที่จะไม่เป็นผู้สร้างปัญหาความเครียดให้กับลูกเสียเองไม่ว่าจะเป็น การทะเลาะกันต่อหน้าลูก เห็นลูกเป็นที่ระบายอารมณ์ หรือคาดหวังให้ลูกเป็นอย่างที่ตนต้องการโดยใช้ความรักเป็นเงื่อนไข ฯลฯ แต่หน้าที่ของตนเองนั้นคือการเป็นผู้ช่วยเหลือ ชี้นำและหาทางออกที่ถูกต้องในการจัดการกับปัญหา ความเครียดต่าง ๆ ให้แก่ลูก เพื่อปกป้องลูกจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดซึ่งอาจเป็นเหตุให้ชีวิตของเขาถูกทำลายลงไปทั้งชีวิต พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้โดยเริ่มจาก
หมั่นสังเกตการดำเนินชีวิตของลูกเสมอ
หมั่นสังเกตว่าลูกมีอะไรที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น เปลี่ยนจากนิสัยร่าเริง เป็นเด็กที่เก็บตัว พูดน้อย ถามคำตอบคำ ชอบร้องไห้อยู่คนเดียว หรือจากเดิมที่ลูกชอบไปโรงเรียน แต่กลับกลายเป็นเด็กที่ร้องไห้เกเรเมื่อต้องไปโรงเรียน เป็นต้น การที่พ่อและแม่เป็นผู้ที่หมั่นสังเกตอยู่เสมอ จะสามารถช่วยเหลือลูกได้ทันท่วงทีกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ชอบมาพากลได้
สื่อสาร ถามไถ่ลูกเสมอ
โดยจัดช่วงเวลาหนึ่งในแต่ละวันไว้คอยพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ ถามไถ่ถึงความเป็นไปของลูกในแต่ละวัน เพื่อให้ลูกได้มีช่องทางในการบอกเล่าหรือระบายปัญหา หรือความเครียดในเรื่องต่าง ๆ ที่เขาได้รับมา เพื่อให้พ่อกับแม่ได้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ลูกจึงจะสัมผัสได้ว่าพ่อและแม่รักและห่วงใยเขา และมั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะมีปัญหาความเครียดอะไรเกิดขึ้นก็ตาม เขาจะไม่ต้องเผชิญความตึงเครียดแต่เพียงลำพัง แต่มีพ่อแม่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหานั้นร่วมกับเขาและสามารถช่วยเหลือเขาได้เสมอ
ให้กำลังใจลูกเสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกต้องเผชิญกับความผิดหวังในเรื่องต่าง ๆ อาทิ หากลูกเป็นเด็กที่ตั้งใจเรียน ขยันอ่านหนังสือ แต่ปรากฏว่าสอบไม่ผ่านในบางวิชา แทนที่พ่อและแม่จะเข้าไปต่อว่าซ้ำเติมลูกซึ่งย่อมมีความเครียดและความเสียใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พ่อและแม่ควรจะเข้าไปพูดคุย ปลอบโยน ให้กำลังใจแก่ลูก ไม่ให้จมอยู่กับความทุกข์ใจ แต่ให้มีกำลังที่จะลุกขึ้นต่อสู้กับสิ่งเหล่านั้นใหม่
ร่วมคิด ร่วมแก้ไขพร้อมไปกับลูก
โดยการเป็นผู้ให้คำปรึกษา ชี้แนะแนวทางให้แก่ลูกเมื่อลูกต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตของเขา พร้อมกับร่วมมือกับลูกในการแก้ไขปัญหานั้นไปพร้อม ๆ กัน โดยไม่คิดว่าเป็นการเสียเวลา เพราะการมีส่วนร่วมในปัญหาของลูกนั้น จะทำให้ลูกสัมผัสได้ถึงความรักความห่วงใยที่พ่อและแม่มีต่อเขาอย่างแท้จริง
การที่พ่อและแม่มีส่วนร่วมในปัญหาของลูก นับได้ว่าเป็นการสอนลูกให้เรียนรู้ไปในตัว ในเรื่องทักษะมุมมองและกระบวนการในการแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งข้อคิดที่ได้รับจากปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น พ่อและแม่อาจให้ลูกเขียนข้อคิดที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เก็บเอาไว้ เพื่อเป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต
เตรียมพร้อมทักษะการเผชิญหน้าความเครียด โดยตระหนักว่าความเครียดเป็นสิ่งที่เราสามารถจะป้องกันและรับมือกับมันได้ และพ่อแม่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างทักษะในการจัดการความเครียดนี้ให้แก่ลูกเพื่อให้ลูกสามารถที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาความตึงเครียด แรงกดดันต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตของเขาได้อย่างเป็นผู้มีชัย โดยเริ่มจาก
hellip;หลีกเลี่ยงความเครียดที่อาจเข้ามาโดยไม่จำเป็น
ความเครียดบางอย่างมีหนทางหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ อาทิ พ่อและแม่ควรสอนลูกให้รู้จักวิธีการที่จะไม่สร้างความเครียดให้เกิดขึ้นกับตนเองโดยไม่จำเป็นในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ความเครียดในเรื่องการสอบ โดยพ่อและแม่อาจชี้แจงให้ลูกเห็นว่า ลูกควรที่จะมีความขยันหมั่นเพียรในการเรียนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่อีก 1 วันก่อนเข้าห้องสอบแล้วค่อยมานั่งอ่านหนังสือ ซึ่งจะทำให้ลูกเกิดความเครียดโดยไม่จำเป็น และไม่ใช่เป็นวิธีการเรียนที่ถูกต้องด้วย อีกทั้งพ่อและแม่อาจหาหนทางช่วยเหลือลูกบางประการ โดยร่วมกับลูกในการจัดตารางเวลาการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
hellip;การมี ldquo;มุมมองrdquo; ที่ถูกต้องเมื่อเผชิญปัญหา
พ่อและแม่ควรสอนลูกให้เข้าใจถึงมุมมองความคิดที่ถูกต้อง ในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ กล่าวคือ การมี ldquo;มุมมองแง่บวกrdquo; ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอ และให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกว่าทุกปัญหามีทางออกเสมอ โดยไม่จำเป็นต้องใช้อารมณ์ความรู้สึกในการจัดการปัญหาอย่างผิด ๆ เช่น การฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา หรือหันหน้าเข้าหายาเสพติด เป็นต้น
hellip;การให้ลูกเห็น ldquo;คุณค่าของตนเองrdquo;
พ่อและแม่ควรเห็นคุณค่าของลูกอยู่ที่ความเป็นตัวเขา ไม่ใช่เพราะสิ่งอื่น เช่น ลูกเรียนเก่ง ลูกหน้าตาน่ารัก ลูกมีความสามารถ ฯลฯ เพราะหากเขาไม่สามารถเป็นไปตาม ldquo;คุณค่าrdquo; ที่พ่อแม่อยากให้เขาเป็นได้ เขาจะรู้สึกรังเกียจตัวเอง และไม่เห็นว่าตนเองเป็นคนที่มีค่าอีกต่อไป มองตัวเองด้อยค่า กลายเป็นเด็กที่ขาดความมั่นคงทางจิตใจ ดังนั้นหากมีสิ่งใดมากระทบในจิตใจของเขาแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม เขาอาจจะไม่มีภูมิต้านทานเพียงพอที่จะรับกับสภาพนั้นได้เลย ยิ่งไปกว่านั้น พ่อและแม่ควรสอนให้ลูกรู้ว่าเราทุกคนมีสิ่งดี คุณค่าของเราไม่ได้อยู่ที่ความสำเร็จที่เราทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับการเป็นคนที่ดีของสังคม และสอนให้ลูกมองความผิดพลาดล้มเหลวเป็นบทเรียนที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ ตลอดจนฝึกลูกให้มีจิตใจที่เข้มแข็งเป็นนักสู้ที่ล้มแล้วลุกได้ใหม่เสมอ
hellip;การให้ลูกเรียนรู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียด
พ่อและแม่ควรสอนให้ลูกเรียนรู้จักการใช้ชีวิตอย่างสมดุลในทุกด้าน เมื่อร่างกายเราเคร่งเครียดกับการทำงาน บางครั้งเราต้องการการผ่อนคลาย เช่น การพักผ่อนโดยการนอน การออกกำลังกาย การเล่นดนตรี การท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งเป็นวิธีการในการกำจัดความเครียดที่ค่อนข้างได้ผล และเป็นการเติมพลังชีวิตให้สดใสอีกครั้ง
ความเครียดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้ใหญ่เท่านั้น แต่เด็กก็เครียดเป็นเช่นเดียวกัน ข้อแตกต่างที่สำคัญคือจิตใจของเด็กเปราะบางมากกว่า แตกร้าวได้ง่ายกว่า ดังนั้น พ่อและแม่ซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดลูกมากที่สุด จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องดวงใจดวงน้อยดวงนั้น โดยคอยช่วยเหลือ ชี้นำทาง และพัฒนาความแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นในดวงใจดวงน้อย ๆ นั้นให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมชีวิตของลูกให้สามารถรับมือกับปัญหาและจัดการกับความตึงเครียดต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาในชีวิตได้อย่างเป็นผู้มีชัยชนะ
ครั้งอาจจะมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นด้วยซ้ำ ดังนั้น โดยธรรมชาตินี้ คนทั่วไปจึงมักจะไม่ทำอะไรใหม่ ๆ หากไม่ได้รับการท้าทาย การที่ผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรจะทำให้ทีมงานกล้าทำงานที่เป็นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองและองค์กร ผู้นำจำเป็นต้องท้าทายสมาชิกแต่ละคนในองค์กรให้เกิดวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาตนเอง กล้าที่จะทำงานใหม่ ๆ กล้าที่จะเปลี่ยนตนเองและเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายได้
สร้างคนhellip;ด้วยการตรวจสอบงาน
การตรวจสอบงานจะช่วยให้เราสามารถติดตามทีมงานของเราได้อย่างใกล้ชิด สามารถดูผลงานของทีมงานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถให้คำแนะนำปรึกษาได้อย่างทันท่วงที หลักที่ผมใช้ในการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานของผมคือหลัก "ผู้ฝึกสอน" กล่าวคือ ผมจะให้พนักงานทุกคนมีพนักงานรุ่นพี่อย่างน้อย 1 คน ที่ทำงานมานานกว่า มีประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจงานมากกว่า คอยเป็นผู้ฝึกสอนพนักงานรุ่นน้อง พนักงานรุ่นพี่ต้องกำหนดเวลาอย่างเจาะจงระหว่างสัปดาห์ในการช่วยตรวจสอบผลการทำงาน คอยให้คำปรึกษา คำแนะนำ ให้แนวทางการทำงานและช่วยพัฒนางานของพนักงานรุ่นน้องเหล่านั้น ซึ่งจะเกิดประ-สิทธิผลอย่างมากในการทำงาน
สร้างคนhellip;ด้วยการตักเตือนแก้ไข
ผมเห็นว่า เมื่อพนักงานมีผลงานในการทำงานที่ดีควรต้องมีการให้กำลังใจกัน อาจจะเป็นรูปของการขึ้นเงินเดือน โบนัส ประกาศเกียรติคุณยกย่อง และความก้าวหน้าในวิชาชีพ แต่ขณะเดียวกัน หากมีคนกระทำผิดจะต้องมีการว่ากล่าวตักเตือนด้วย เพราะการตักเตือนคือการหวังดีต่อกัน การแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นเมื่อทีมงานทำผิดพลาดจะกลับเป็นการทำร้ายเขามากกว่า การตักเตือนแก้ไขทีมงานนั้นเพื่อจะพัฒนาเขาให้ดีขึ้น โดยให้เขาเรียนรู้ว่าความผิดพลาดนั้นเป็นครู สอนให้เขาระมัดระวังและปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น การตักเตือนนี้ต้องตักเตือนเป็นการ ldquo;ส่วนตัวrdquo; ให้ผู้อื่นรับรู้น้อยที่สุด เพราะเมื่อใดก็ตามที่เขาถูกทำให้อับอายต่อหน้าคนอื่น เขาจะมีแนวโน้มไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน นอกจากนั้น การตักเตือนควรมีจุดมุ่งหมายไปยัง ldquo;เนื้อหาความผิดrdquo; อย่างตรงประเด็นในจุดที่เขาต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยพูดให้เขาเข้าใจอย่างชัดเจนว่าสิ่งที่เขาทำผิดพลาดไปนั้นคืออะไร ควรได้รับการแก้ไขอย่างไร เราไม่ควรใช้อารมณ์ในการกล่าวตักเตือน เพราะจะทำให้เราควบคุมตัวเองไม่ได้ แทนที่จะพูดประเด็นความผิดพลาดและหาทางแก้ไข เราอาจจะใช้เวลาไปในการกล่าวตำหนิติเตียนเขาอย่างเสียหาย ซึ่งไม่ก่อประโยชน์อันใดเลย ซ้ำร้ายอาจจะยิ่งก่อให้เกิดความขัดเคืองใจระหว่างกัน
สร้างคนhellip;ให้เขาไปสร้างคนอื่นต่อ
ผมมีปรัชญาการสร้างคนว่า ผมจะไม่ปล่อยให้คนใดคนหนึ่งหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่พัฒนาตนเอง แต่ผมจะพยายามพัฒนาผู้ร่วมงานให้เติบโตขึ้นในความรู้ ความสามารถ พัฒนาศักยภาพของเขาให้ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาเขาให้ครบถ้วนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติของความรู้ความสามารถ มิติของประสบการณ์ในการทำงาน และมิติของจริยธรรมคุณธรรม โดยที่ผมจะให้คนที่ถูกสอนต้องไปสอนคนอื่น ๆ ต่อไปได้ด้วย โดยให้มีแต่ละคนมีชื่ออย่างเจาะจงว่าตนเองจะไปสร้างใครที่อยู่ใต้การกำกับดูแล เมื่อทำเช่นนี้องค์กรจะประกอบไปด้วยคนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะคนใหม่จะถูกสอนและเรียนรู้กันต่อไปจากคนเก่าที่เราสอนไว้ หากวันหนึ่ง เราอาจจะไม่ได้ทำงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่เรายังสามารถสบายใจได้ว่า จะมีตัวตายตัวแทนรับผิดชอบงานต่อไปได้
ผมเชื่อว่า แนวทางเหล่านี้อยู่ในวิสัยที่คนทุกคนและองค์กรทุกประเภทสามารถกระทำได้ แต่เงื่อนไขสำคัญอยู่ที่ว่า การสร้างคนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นผลในเวลาอันสั้น การสร้างคนจึงต้องอาศัยการอดทนรอคอยจนกว่าจะเห็นผลแห่งความสำเร็จ ซึ่งผลแห่งความสำเร็จที่เราจะเห็นจากการสร้างคน คือความสำเร็จที่ยั่งยืนถาวร
ที่มา วันที่ : ประจำเดือนมีนาคม 2552 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : นิตยสารและเด็ก