พัฒนาเมืองด้วยวิสัยทัศน์แบบกรุงโซล

กรุงโซล เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการพัฒนาเมืองอย่างมีวิสัยทัศน์หรือการพัฒนาเมืองในเชิงรุก โดยผู้บริหารเมืองได้กำหนดแผนพัฒนากรุงโซลระยะ 4 ปี (ค.ศ. 2006ndash;2010) โดยมุ่งปรับปรุงพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้กรุงโซลกลายเป็นเป็นเมืองที่สะอาด น่าอยู่ ดึงดูดนักท่องเที่ยวและการลงทุน รวมทั้งการมุ่งไปสู่ความเป็นเมืองระดับโลกในอนาคต โดยเฉพาะการมีเป้าหมายที่จะเพิ่มดัชนีชี้วัดความสุขของผู้คนควบคู่ไปกับการเพิ่มดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจและศักยภาพทางการแข่งขัน หรืออีกนัยหนึ่งการ การมุ่งพัฒนากรุงโซลให้เป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สวัสดิการ และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทิศทางหลักของการพัฒนาก็คือ การทำให้กรุงโซลเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของโลกภายในปี ค.ศ. 2020 โดยตั้งเป้าหมายให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 12 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2010 และ 20 ล้านคนในปี ค.ศ. 2020 ทั้งนี้ เริ่มต้นจากการพัฒนาให้เมืองมีโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อรองรับกับทิศทางดังกล่าว เช่น การพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ Hangang ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของกรุงโซลให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ มีเอกลักษณ์และดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยจัดให้มีสวนสาธารณะบริเวณริมฝั่งแม่น้ำที่มีความหลากหลาย ทั้งสวนสาธารณะเชิงนิเวศวิทยา สถานที่เชิงวัฒนธรรม สถานที่เชิงศิลปะและแฟชั่น การปลูกดอกไม้ป่าตลอดแนวเขื่อนริมฝั่งแม่น้ำ การจัดให้มีถนนคนเดินเลียบริมฝั่งแม่น้ำ การให้บริการยืมรถจักรยานฟรี ร่วมกับการเชื่อมต่อระบบการจราจรเข้ากับถนนสายหลักเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว
สำหรับบริเวณใจกลางเมือง (downtown) พื้นที่นี้จะถูกพัฒนาให้มีถนนท่องเที่ยวหลัก 4 สาย ได้แก่ ถนนแห่งประวัติศาสตร์ ถนนแห่งวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ถนนแห่งพื้นที่สีเขียวและวัฒนธรรม และถนนแห่งการออกแบบและแฟชั่น รวมทั้งการจัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว เช่น การติดตั้งป้ายไฟฟ้าขนาดสูง 5 เมตรที่เรียกว่า Digital Media Wall สำหรับให้นักท่องเที่ยวดูข้อมูลเกี่ยวกับราคาหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน และตลาดค้าหุ้นของโลก เป็นต้น
หากเปรียบการพัฒนาเมืองเป็นเหมือนการสร้างบ้าน คงไม่มีทางที่จะเราจะได้บ้านที่สวยงาม หากปราศจากแบบแปลนที่สถาปนิก
การสร้างบ้านที่ดีต้องอาศัยการออกแบบอย่างเป็นระบบ วาดให้เห็นเป็นภาพบ้านที่สมบูรณ์ สวยงาม ตอบสนองต่อความต้องการและทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข มิใช่เพียงแค่การเอาวัสดุอุปกรณ์มารวมกันโดยปราศจากการคิด วางแผน และวางระบบอย่างดี การพัฒนาเมืองยิ่งจำเป็นต้องอาศัยวิสัยทัศน์ การวางแผน และการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้วิสัยทัศน์นั้นสำเร็จได้ หากเราอยากได้เมืองที่น่าอยู่ เราคงไม่สามารถทำได้เพียงแค่การแก้ไขปัญหาไปวัน ๆ โดยปราศจากวิสัยทัศน์และทิศทางที่ชัดเจน
admin
เผยแพร่: 
หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์
เมื่อ: 
2008-09-12