การเปลี่ยนแปลงใหญ่ครั้งที่ 4 เพื่ออนาคต?

ที่มาของภาพ http://www.cleanchange.co.uk/store/images/changetree.jpg
ประเทศชาติเปรียบได้รับรัฐนาวาที่แล่นไปในทะเลใหญ่ รัฐนาวาลำนี้คุ้มกันทุกชีวิตบนเรือให้อยู่รอดปลอดภัย แต่ในขณะนี้ประเทศชาติประสบภาวะความยุ่งเหยิง เปรียบดังนาวาที่ถูกพายุแรงพัดจนโคลงเคลง จนไหลไปติดสันดอนกลางน้ำ ทำให้ไม่อาจเคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้าได้ จนน่ากังวลว่า หากไม่ทำอะไรเลย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย รัฐนาวานี้จะอับปางลงในที่สุด
หากย้อนดูในประวัติศาสตร์ รัฐนาวาไทยผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มาแล้ว 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 สมัยพระบรมไตรโลกนาถ การปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เกิดขึ้นเพื่อควบคุมอาณาจักรที่ขยายเพิ่มขึ้นได้อย่างเป็นระบบ โดยมีการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการให้ทันสมัย แบ่งเป็น สมุหนายก กับ สมุหกลาโหม แทนระบบเวียง วัง คลัง นา ขณะเดียวกัน ได้มีการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น และปฏิรูปสังคม มีการสร้างระบบศักดินา และ ระบบไพร่ขึ้น เมื่อปฏิรูปแล้วก็ใช้สืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ครั้งที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการปฏิรูปในลักษณะ ldquo;ยกเครื่องrdquo; รัฐนาวา โดยปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดิน ปฏิรูประบบการปกครอง ปฏิรูปสังคมโดยการยกเลิกระบบทาส ระบบไพร่ให้มีความทันสมัยในด้านต่าง ๆ
ครั้งที่ 3 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฎร์ได้ทำการปฏิวัติรัฐประหาร เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
นอกจากสามครั้งนี้แล้ว ผมมองว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ต้องเกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ครั้งที่ 4 อันเกิดจากผลกระทบของระบบโลกาภิวัตน์
ปัจจุบันเศรษฐกิจอยู่บนฐานความรู้ ประเทศที่มีความรู้จะได้เปรียบ โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นทุกนาที การเชื่อมโยงกันของประเทศต่าง ๆ ในโลก ทำให้ประเทศที่รู้เท่าทันและปรับตัวเตรียมตัวย่อมได้เปรียบกว่า สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ลองผิดหรือลองถูกไม่ได้
หากรัฐนาวาไทยดำเนินไปเช่นที่เป็นอยู่ในสภาพปัจจุบัน ความแตกแยกในสังคม โดยเฉพาะทางการเมือง ความแตกแยกเป็น 2 กลุ่มที่ไม่สามารถผสานกันได้ นอกจากเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ยังมองไม่เห็นทางออกว่า จะเป็นเช่นไร การเติบโตทางเศรษฐกิจจะค่อย ๆ ลดลง โอกาสที่ดีได้ผ่านมาแล้ว และประตูจะปิดลงสนิท ไม่เกิน 12 ปี
เราจำเป็นต้องวากรากฐานประเทศทุกด้าน ต้องขับเคลื่อนวางรากฐานประเทศใหม่ จำเป็นต้องคิดทั้งระบบอย่างลึกซึ้ง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว มองครบทุกมิติพัฒนา รัฐบาลและทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์และแนวทางปฏิบัติ เพื่อจุดมุ่งหมายปลายทาง นั่นคือ การนำพาประเทศไทยสู่การพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงใหญ่ประเทศไทยครั้งที่ 4 จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ คำตอบอยู่ที่ว่าทุกฝ่ายจะยินดีหันหน้าเข้าหากันเพื่อกำหนดอนาคตชาติร่วมกันหรือไม่?
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2008-09-03