ระวัง..ขยะพิษท่วมเมือง อันตรายใกล้ตัว
ความน่ากลัวอีกเรื่องที่กำลังคืบคลานมา ในภาวะที่ทุกคนยัง ldquo;เพิกเฉยrdquo; อยู่ นั่นคือ จะเกิด ldquo;ภูเขาขยะอิเล็กทรอนิกส์rdquo; กองมหึมา ในอนาคตอีกไม่เกิน 10 -12 ปีข้างหน้า
เราอยู่ในยุคที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เริ่มถูกลงเรื่อย ๆ ทำให้มีคนใช้สินค้าเหล่านี้ขยายตัวมากขึ้น ลองคิดดู เฉลี่ยบ้าน 1 หลัง โดยทั่วไปจะมีโทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง เครื่องเล่นดีวีดี เตาอบ เตาไมโครเวฟ เตารีด เครื่องซักผ้า ฯลฯ ส่วนแต่ละคนก็จะมี โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์โนตบุ๊ก ฯลฯ อุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ นับวันมีแต่จะเติบโตขึ้น ในราคาที่ถูกลง กระจายสู่คนระดับต่าง ๆ ทุกวัย ทุกฐานะ ทุกอาชีพมากขึ้น ต่อไปคอมพิวเตอร์โนตบุ๊กจะถูกมาก ๆ แทบทุกคนจะมี 1 เครื่องเหมือนโทรศัพท์มือถือ
อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกเหล่านี้ ในที่สุดจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มจำนวนขึ้น เฉพาะในกรุงเทพฯ ปัจจุบัน ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประมาณว่ามีมากถึง 9,000 ตันต่อปี แต่ กทม. จัดเก็บและจัดการกับขยะเหล่านี้ได้เพียงประมาณ 52 ตันต่อปี ส่วนที่เหลือยังคงปะปนอยู่กับขยะทั่วไป
ขณะนี้ เรายังขาดการวางแผนรองรับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นเมือง โรงกำจัดขยะที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นทุกวัน หากการจัดการขยะพิษยังเป็นเช่นนี้ ขยะพิษที่เหลือเกือบหมื่นตันสะสม อีก 10 ปีข้างหน้าจะหายไปไหน แน่นอนว่า ยังคงอยู่ในสภาพแวดล้อม ปะปนอยู่กับขยะทั่วไป ในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อย ๆ
การฝังกลบที่ไม่ได้มาตรฐานจะทำให้พิษของขยะอิเลกทรอนิกส์เหล่านี้ ซึ่งส่วนมากเป็นโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารปรอท แคดเมียม และเบริลเลียม สารเคมีอันตราย เช่น สารทนไฟซึ่งทำจากโบรมีน พลาสติกพีวีซีโทรศัพท์มือถือเครื่องหนึ่งจะมีชิ้นส่วนต่าง ๆ มากถึง 500-1,000 ชิ้น สารเหล่านี้จะซึมผ่านดินลงมา เข้าไปอยู่ในชั้นน้ำบาดาล หรือไหลลงแหล่งน้ำ คู คลอง แม่น้ำ
พิษร้ายของขยะเหล่านี้ที่ไม่ได้ถูกกำจัดอย่างถูกวิธีจะทำให้เราเกิดโรคร้าย ต่อสมอง ไต กระดูกและโรคมะเร็ง กลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ คนเก็บขยะ ได้รับสารพิษขณะนำขยะไปกำจัด ผู้อยู่อาศัยใกล้แหล่งทิ้งขยะ เช่น กรณีตำรวจเสียชีวิตหลายนาย เนื่องจากสูดดมควันพิษที่มาจากกองขยะ ประชาชนทั่วไปที่ใช้น้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี หญิงมีครรภ์ที่รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว ทารกสูญเสียพัฒนาการทางสมอง
12 ปีข้างหน้า ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น อาจเกิดกองขยะพิษข้างบ้านท่าน เรียกว่า ความตายใกล้ตัวเราและลูกหลานของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ
ถึงเวลาหรือยัง ที่เราควรคิดจะสร้าง ldquo;มรดกชีวิตrdquo; ไม่ใช่ ldquo;มรดกพิษrdquo; ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งหมด จะต้องร่วมกันวางระบบการจัดการขยะพิษทั้งกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ มีระบบการเรียกคืนขยะพิษ การสร้างเตาเผาขยะที่ไม่ปล่อยอากาศพิษ การให้ความรู้เกี่ยวกับขยะพิษแก่ประชาชน
เราไม่ควรปล่อยให้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตอบแทนผู้ใช้ด้วยพิษร้ายอีกต่อไปเลยครับ
Tags:
เผยแพร่:
หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์
เมื่อ:
2008-07-17