ยื่นจดหมายเปิดผนึกพร้อมเอกสารข้อเสนอเพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ศกนี้ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานกลุ่มปกป้องอธิปไตยไทยและคณะได้เข้าพบผู้แทนนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลและผู้แทนประธานรัฐสภา ที่รัฐสภาเพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกพร้อมเอกสารข้อเสนอเพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก(เอกสารเรื่อง The Temple of Phrear Vihear ) เพื่อเรียกร้องให้ทางการไทยประกาศจุดยืนไม่ยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา
การยื่นจดหมายเปิดผนึกครั้งนี้เนื่องจากกลุ่มปกป้องอธิปไตยไทย มีความห่วงใยต่ออธิปไตยไทยและ บูรณภาพในดินแดนของประเทศ ว่าการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาจะส่งผลกระทบต่ออธิปไตยของไทยในบริเวณรอยต่อตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล ที่มีค่า
เรียกร้องรัฐบาลทวงคืนอธิปไตย
กลุ่มปกป้องอธิปไตยไทย รวมตัวยื่นหนังสือต่อ ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี และประธานศาลฎีกา เรียกร้องทางการไทยต้องลุกขึ้นปกป้องอธิปไตย โดยประกาศจุดยืนไม่รับมติคณะกรรมการมรดกโลก โดยการทำหนังสือชี้แจงต่อคณะกรรมการมรดกโลกว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ขัดต่อรัฐธรรมนูญ รวมทั้งไม่รับมติขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารและการให้บริหารร่วม 7 ประเทศ และตั้งคำถามให้มีการชี้แจงกรณีที่ไทยปล่อยให้กัมพูชาเข้ามาในเขตแดนของไทย ตั้งแต่ปี 2544
เมื่อวันพฤหัสที่ 10 กรกฎาคม ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานกลุ่มปกป้องอธิปไตยไทยและคณะ อันประกอบด้วยประชาชนชาวไทยหลากหลายอาชีพ และนักวิชาการ อาทิ ศ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ร.ต.อวยชัย วีรวรรณศ.ดร.อภิชัย พันธเสนนายลิขิต เขมะปานนท์ รศ.ดร.ปาริชาติ สถาปิตานนท์ นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐผศ.ดร.นิยม บุญพิคำ ร.อ.ม.ร.ว.พีรานุพงศ์ภานุพันธ์ ฯลฯ ได้เดินทางเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกพร้อมเอกสารข้อเสนอเพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก (เอกสารเรื่องThe Temple of Phrear Vihear) ทั้งต้นฉบับภาษาอังกฤษและฉบับแปลภาษาไทย ต่อประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี และประธานศาลฎีกา
หลังจากกลุ่มปกป้องอธิปไตยไทยยื่นหนังสือแล้ว ดร.เกรียงศักดิ์ ได้เปิดเผยรายละเอียดของจดหมายเปิดผนึกกับผู้สื่อข่าวว่า ทางกลุ่มฯได้เรียกร้องให้ทางการไทยประกาศจุดยืนไม่ยอมรับมติคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาในครั้งนี้ และให้ดำเนินการต่อไปนี้
หนึ่ง ให้ทำหนังสือเพื่อชี้แจงต่อคณะกรรมการมรดกโลก กรณีศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า การลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008) ขัดต่อรัฐธรรมนูญ การลงนามดังกล่าวเป็นการกระทำโดยพลการ มิได้มีผลผูกพันต่อราชอาณาจักรไทยในการปฏิบัติตามแต่อย่างใด
สอง ประกาศจุดยืนอย่างเป็นทางการว่า ไทยไม่ขอรับมติของคณะกรรมการมรดกโลกที่กำหนดให้การบริหารจัดการบริเวณพื้นที่อนุรักษ์ (buffer zone)ที่อยู่ในเขตแดนของประเทศไทย กระทำโดยคณะกรรมการร่วมจาก 7 ประเทศ
สาม ชี้แจงกรณีในขณะที่ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนในพื้นที่ที่มีข้อพิพาทบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ตามสนธิสัญญาที่ไทยทำกับฝรั่งเศสให้ลุล่วง เพราะเหตุใด ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยจึงปล่อยให้กองกำลังทหารและประชาชนชาวกัมพูชาละเมิดอธิปไตยเข้ามาในเขตแดนของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 โดยมีการสร้างวัดและที่อยู่อาศัยถาวร อันเป็นการรุกล้ำอธิปไตยไทยอย่างไม่มีข้อสงสัย จึงขอทางการไทยให้คำตอบที่ชัดเจนในเรื่องนี้
ldquo;กลุ่มปกป้องอธิปไตยไทย ในฐานะประชาชนชาวไทยและนักวิชาการที่มีความห่วงใยต่ออธิปไตย และบูรณภาพในดินแดนของประเทศ มีความกังวลว่า กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชา จะส่งผลกระทบต่ออธิปไตยของประเทศไทยในบริเวณรอยต่อตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลที่มีค่า จึงต้องเดินทางมายื่นหนังสือขอให้รัฐบาลลุกขึ้นมาทวงคืนอธิปไตยของชาติrdquo; ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าว
Post date:
Thursday, 17 July, 2008 - 12:15