ใช้ชีวิตอย่างสมดุลตามหลักคิดเศรษฐศาสตร์

หากกล่าวถึงเรื่อง ldquo;การใช้ชีวิตอย่างสมดุลrdquo; แล้ว คงมีการตีความของคำว่า ldquo;สมดุลrdquo; ออกไปได้หลากหลาย อาทิ การใช้ชีวิตอย่างสมดุล คือ การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ต้องตั้งเป้าหมายในชีวิตสูงไป หรือต่ำไป...การใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไม่ต้องเคร่งเครียด...การเฉลี่ยเวลาในชีวิตออกไปอย่างละเท่า ๆ กันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งเวลาที่ใช้ในการทำงาน เวลาที่ให้กับครอบครัว เวลาที่ใช้ในการพักผ่อน เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงการใช้ชีวิตที่สมดุลนั้นไม่ใช่เป็นการให้เวลากับกิจกรรมทุกอย่างเท่า ๆ กันหมด รวมทั้งไม่ใช่การใช้ชีวิตอย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ได้ทุ่มเทในสิ่งที่ทำอย่างเต็มที่ แต่ชีวิตที่สมดุลคือชีวิตที่มีแบบแผนของการจัดสรรเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป้าหมายชีวิตที่ตั้งไว้สามารถบรรลุผลสำเร็จได้
โดยแนวทางในการจัดสรรเวลาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น หลักคิดทาง ldquo;เศรษฐศาสตร์rdquo; นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดแบบแผนการจัดสรรเวลาเพื่อให้เกิดความสมดุลในชีวิตได้เป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กล่าวคือ
เป็นแนวคิดในการจัดสรรทรัพยากรเนื่องจากชีวิตของทุกคนมีทรัพยากรจำกัดอยู่แล้ว ทั้ง เวลา ความสามารถ หรือเงินทอง ซึ่งความจำกัดนี้ทำให้เกิด ldquo;การเลือกrdquo; (choice) ขึ้น เวลามีอยู่จำกัด ทำให้เราต้องเลือกว่า ควรใช้เวลา 24 ชั่วโมงในแต่ละวันทำอะไรบ้าง ความสามารถที่จำกัดทำให้เราต้องเลือกไม่สามารถเลือกงานได้ทุกอย่างแต่ต้องเลือกงานที่เหมาะสมกับความสามารถของเรามากที่สุด การทำให้เป้าหมายให้สำเร็จจึงต้องอาศัยการบริหาร จัดสรรเวลาและความสามารถด้วยเช่นกัน
เป็นศาสตร์ที่มุ่งหาความเป็นเลิศ แนวคิดการจัดสรรตามหลักการเศรษฐศาสตร์นั้น เป็นการจัดสรรเพื่อประสิทธิภาพสูงที่สุด หรือเพื่อ ldquo;ความเป็นเลิศrdquo; (optimization) ในการให้เป้าหมายต่าง ๆ ในชีวิตบรรลุผลสำเร็จนั่นเอง
โดยการใช้หลักคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดสรรแบบแผนการเวลาในชีวิตนั้น แรกสุดคือการแบ่งประเภทของการใช้เวลาในชีวิตของเราโดยแบ่งตามหน้าที่ (function) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่
เวลาทำงานการใช้เวลาประเภทนี้ คือเวลาที่เราใช้เพื่อให้เป้าหมายของชีวิตสำเร็จโดยตรง เช่น หากตั้งเป้าหมายเป็นนักกีฬาเหรียญทอง การทำงานก็คือ การฝึกซ้อมและลงแข่ง การทำงานจึงต่างกัน ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคน
เวลาเพื่อการตอบสนองความต้องการ มนุษย์มีความต้องการหลายด้านที่เราต้องตอบสนองเช่น ความหิว สุขอนามัย การพักผ่อน หรือความบันเทิงต่าง ๆ การใช้เวลาประเภทนี้มุ่งทำให้เกิด ความพึงพอใจตอบสนองความต้องการ การใช้เวลาประเภทนี้มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากหากความต้องการไม่ได้ตอบสนองอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และถ้าลดลงถึงระดับหนึ่งจะลดประสิทธิภาพการทำงานของเราไป เช่น หากเรานอนน้อยเกินไปอาจทำให้ง่วงและทำงานได้ไม่เต็มที่ เจ็บไข้ได้ป่วย หรือหลับในประสบอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตเป็นต้น
เวลาการลงทุนหรือพัฒนาตนเองการใช้เวลาประเภทนี้มุ่งการฝึกฝนประสิทธิภาพความสามารถในชีวิต ให้เราสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้นได้ผลงานมากขึ้นในเวลาทำงานเท่าเดิม อย่างไรก็ตามการใช้เวลาประเภทนี้ไม่ได้เป็นการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายชีวิตโดยตรง แต่เป็นการใช้เวลาทางอ้อมเพื่อการลับเลื่อยความคิด ศักยภาพในชีวิต ให้แหลมคม เช่น การใช้เวลาในการศึกษาอบรมเพิ่มเติม การอ่านหนังสือเพื่อเสริมสร้างความรู้และต่อยอดความคิดใหม่ ๆ การออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง
เวลาที่สูญเสียระหว่างการเปลี่ยนกิจกรรม เป็นเวลาที่เราสูญเสียไปโดยที่ไม่ได้เข้าในทั้ง 3 ประเภทนี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น เวลาที่เราต้องใช้ในการเดินทาง ทำความสะอาดบ้าน ฯลฯ
โดยหลักคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญในการจัดสรรหมวดหมู่เวลาต่าง ๆ เหล่านี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้แก่
ใช้เวลาตอบสนองความต้องการไม่มากเกินจำเป็น แนวคิดบางอย่างเช่น แนวคิด ldquo;สุขนิยมrdquo; ซึ่งสอนให้เราหาความสุขบนโลกนี้ให้มากที่สุดนั้นอาจเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างเอียงข้างไปสักนิด โดยผมเชื่อว่ามนุษย์เราไม่ได้เกิดมาเพื่อแสวงหาความสุขบนโลกนี้เท่านั้น แต่มนุษย์เราเกิดมาพร้อมภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จ ซึ่งหากใช้เวลาเพื่อตอบสนองความต้องการที่มากเกินจำเป็นย่อมทำให้เราเสียเวลาในการทำงานและการลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป้าหมายในชีวิตประสบความสำเร็จ
ใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการลดเวลาที่สูญเสีย (losing) ให้น้อยที่สุด เราต้องลดเวลาการเดินทาง ทานอาหาร ฯลฯ ให้น้อยลงไปเพื่อจะมีเวลาเหลือพอในการทำสิ่งอื่นมากขึ้น โดยเราอาจต้องยอมเสียทรัพยากรอย่างอื่น เช่น ยอมเสียเงินนั่งรถแท็กซี่ เพื่อแลกกับเวลาที่ต้องสูญเสียไปในการคอยรถโดยสารประจำทาง
แบ่งเวลาระหว่างการทำงานและการลงทุนให้เหมาะสม เราควรใช้เวลาเพื่อการทำงานที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป การใช้เวลาการทำงานที่มากที่สุดไม่ทำให้ได้ผลงานมากที่สุดเสมอไป เนื่องจากกฎข้อหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ ชื่อ ldquo;กฎการลดน้อยถอยลงของผลผลิตส่วนเพิ่มrdquo; (law of diminishing marginal product) กล่าวว่า ldquo;เวลาการทำงานในชั่วโมงหลัง ๆ จะให้ผลผลิตที่น้อยกว่าการทำงานในชั่วโมงแรก ๆrdquo; ดังนั้นการทำงานในชั่วโมงที่มากเกินไปจะทำให้การทำงานในชั่วโมงหลัง ๆ ต่ำจนไม่มีประโยชน์ ยิ่งกว่านั้นอาจทำให้ผลงานแย่ลงกว่าเดิมก็ได้ แต่การทำงานที่น้อยเกินไปก็ทำให้เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายชีวิตได้เช่นกัน
อายุมีอิทธิพลในการใช้เวลา ldquo;อายุrdquo; เป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการตัดสินใจในการให้เวลากับการลงทุนหรือพัฒนาตนเอง เด็กหรือวัยรุ่นที่อายุยังน้อยหากลงทุนพัฒนาตนองจะทำให้มีระยะเวลาของการเก็บเกี่ยวผลตอบแทนนานกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นหากเราให้เวลากับการลงทุนพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ย่อมเป็นการได้เปรียบกว่าเริ่มต้นเมื่ออายุมาก เช่น ผู้ใหญ่ที่อายุ 55 แล้วเพิ่งเรียนจบปริญญาตรี ก็จะมีเวลาเพียง 5 ปีที่เหลือในการทำงานโดยใช้ความรู้ที่ได้มาก่อนถึงวัยเกษียณ
ใช้เวลาในการลงทุนและตอบสนองความต้องการได้พร้อมๆ กัน เพื่อประสิทธิภาพในการจัดสรรเวลา เช่น แทนที่เราจะดูรายการโทรทัศน์ช่องธรรมดาทั่ว ๆ ไป เราควรเลือกดูรายการที่เป็นภาษาอังกฤษ พยายามฝึกฟังและพูดตาม ย่อมเป็นการได้ประโยชน์ควบคู่กันไปทั้งความบันเทิงและพัฒนาตนเอง
หลักคิดทางเศรษฐศาสตร์ นับเป็นแนวทางสำคัญที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างความเข้าใจและวางแผนการใช้เวลาเพื่อสามารถจัดสรรชีวิตที่สมดุลและลงตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
admin
เผยแพร่: 
งานอัพเกรด
เมื่อ: 
2008-05-13