สร้างกรุงเทพฯต้องใช้ ?ปัญญา?
กรุงเทพฯ เมืองแห่งความเจริญที่มาพร้อมกับความเสื่อมโทรมหลาย ๆ ด้าน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ แม้ว่าจะมีความเจริญทางวัตถุ สิ่งปลูกสร้างอันทันสมัย เทคโนโลยี แต่ปัญหายังคงเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การศึกษา ความยากจน อาชญากรรม ยาเสพติด ฯลฯ ที่ผ่านมา
ปัญหาที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงแห่งนี้ เป็นปัญหาเรื้อรังที่จำเป็นต้องแก้ไขด้วย ldquo;ปัญญาrdquo; หากต้องการนำพากรุงเทพฯเข้าสู่ยุคแห่งความยั่งยืนในทุกมิติ
แนวนโยบายในการพัฒนากรุงเทพฯ ต้องมุ่งใช้ ldquo;ปัญญาrdquo; สร้างเมือง มิใช่การขายนโยบายโดนใจให้คนเลือกไปทำหน้าที่ หรือดำเนินนโยบายเพียงหวังผลทางการเมือง แต่ต้องดำเนินนโยบายด้วยหัวใจปรารถนาอยากให้กรุงเทพฯ มีอนาคตที่งดงามสดใส และมีสิ่งดีงามเหลือไว้เป็นมรดกไว้ให้ลูกหลานของเรา
ผมคิดว่า การกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองหลวงแห่งนี้ จำเป็นต้องใช้มีกรอบความคิดที่ครอบคลุมรอบด้าน และรอบคอบ ได้แก่
ครบทุกมิติพัฒนาเมือง ในแต่ละนโยบายจะไม่คิดแยกส่วน แต่จะพิจารณาความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงอย่างบูรณาการ พิจารณาอย่างครบวงจรและเป็นระบบ ครอบคลุมทุกมิติ อันได้แก่ ทุกกลุ่มคน ทุกช่วงวัย ทุกอาชีพ ทุกพื้นที่ ทุกภาคส่วน และทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้อง พิจารณาส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ในลักษณะ 3 ประสาน อันได้แก่ คน ระบบ และบริบท เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
ผมได้วิเคราะห์ว่า การที่กรุงเทพฯจะเป็นเมืองน่าอยู่ได้นั้น จำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่ครอบคลุมมิติต่าง ๆ 10 มิติอันได้แก่ มิติเมืองปลอดภัย มิติเมืองสะอาด มิติเมืองสะดวก มิติเมืองอยู่ดีกินดี มิติเมืองอบอุ่น เอื้ออาทร มิติเมืองทันสมัย มิติเมืองธรรมาภิบาล มิติเมืองวัฒนธรรม มิติเมืองพัฒนาคน มิติเมืองคุ้มค่า ในมิติต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่า กรุงเทพฯอยู่ระดับใดของการพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ
มองระยะสั้นและระยะยาว ในแต่ละนโยบายมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวด้วย นโยบายจึงมุ่งหวังผลสำเร็จ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ศึกษาค้นคว้า และเปิดให้มีส่วนร่วม ในการจัดทำข้อเสนอนโยบายจะใช้หลักทางการวิชาการ มีการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทั้งทางเอกสารหลักฐานต่าง ๆ การลงพื้นที่สัมภาษณ์ ตรวจสอบปัญหา เพื่อหาข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ว่า อะไรคือปัญหาของคนกรุงเทพฯ ในแต่ละพื้นที่มีปัญหาอะไร และขณะเดียวกัน ในการหาทางออกของปัญหาจะใช้วิธีที่หลากหลายทั้งจากการระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง การสังเคราะห์ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดของเมืองต่าง ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร จากนั้นจึงสรุปเป็นแนวทางที่น่าจะเหมาะสมมากที่สุดในการนำมาใช้กับกรุงเทพฯของเรา
ต่อยอดนโยบายที่ดี นโยบายที่ดีไม่จำเป็นต้อง ldquo;ใหม่เอี่ยม ถอดด้ามrdquo; เพราะหากนโยบายที่ผู้ว่าฯคนก่อน ๆ หรือนโยบายที่มีอยู่เดิมนั้นยังใช้ได้ดี ยังต้องการการสานต่อ และเป็นประโยชน์ที่แท้จริงต่อชาวกทม.นโยบายเหล่านั้นก็สมควรได้รับการสานต่อไป ไม่จำเป็นต้องถูกยุติกลางคัน แต่ควรนำมาศึกษาเพื่อดูว่าเป็นนโยบายที่ควรสานต่อหรือไม่ และควรปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างไรบ้าง
ตรงความต้องการ วิธีการในการแก้ปัญหาต้องให้ตรงกับต้นตอหรือสาเหตุของปัญหามากที่สุด เพราะกรุงเทพฯ นั้นมีปัญหาหลากหลาย แนวทางการแก้ปัญหาจึงควรให้ตรงกับต้นกำเนิดของปัญหา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องละเอียดอ่อนในการศึกษาปัญหาในแต่ละเรื่อง ในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละกลุ่มคน หากเรานำเสนอเพียงแนวคิดในการแก้ปัญหาภาพรวม เมื่อนำมาใช้ในภาคปฏิบัติอาจไม่ได้แก้ปัญหาจริงได้ทั้งหมด
ปฏิบัติได้จริง เห็นผล นโยบายที่ประกาศออกไปต้องมั่นใจว่า สามารถปฏิบัติได้จริง ไม่เพียงเป็นนโยบายที่มุ่งเอาใจประชาชน โดยที่ยังไม่ได้คิดอย่างรอบคอบว่าสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่ เพราะนั่นเท่ากับว่าเป็นการหลอกลวงประชาชน จึงจำเป็นต้องคิดถึงกลไกอย่างรอบคอบว่านโยบายที่เสนอนั้นสามารถนำไปใช้ภาคปฏิบัติได้ อีกทั้งมีตัวชี้วัดชัดเจนในทุก ๆ เรื่อง เพื่อวัดว่าสามารถทำได้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่
ไม่ถูกจำกัดด้วยทรัพยากร ผมคิดว่า ถ้าเรา ldquo;รื้อถอนความคิดrdquo; ว่า ถ้าขาดแคลนเงิน ขาดแคลนคน ขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นแล้ว เราทำอะไรไม่ได้ เป็นความคิดท้าทายให้หาทางเลือกใหม่ ๆ ทางออกที่สร้างสรรค์ โดยมองเป้าหมายเป็นหลัก เช่น หากเราจำกัดด้วยงบประมาณ เราควรคิดวิธีหาแหล่งสนับสนุนจากที่อื่น ๆ หรืออาจหาวิธีที่ใช้เงินน้อยลง แต่บรรลุวัตถุประสงค์เช่นเดิม ส่วนในเรื่องของการขาดแคลนบุคลากร เราควรหาทางเลือกอื่น เช่น หาอาสาสมัคร การใช้พลังชุมชนมามีส่วนร่วม เป็นต้น หรือเรามีความจำกัดด้านความรู้ เทคโนโลยี เราก็สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากนอกภาครัฐ หรือต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญได้
การพัฒนากรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นกว่านี้ จำเป็นต้องใช้ ldquo;ปัญญาrdquo; ในการนำเสนอนโยบาย เพราะเมืองหลวงของเราสั่งสมปัญหาเรื้อรังมานานแล้ว และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้นโยบายที่โดนใจประชาชนเพียงเพื่อการหาเสียงได้ แต่จำเป็นต้องคิดทั้งระบบอย่างลึกซึ้ง และประกาศนโยบายให้ประชาชนตระหนักร่วมกันว่า ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องร่วมกันใช้ปัญญาสร้างสรรค์กรุงเทพฯให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2008-05-11