พ่อแม่อุ่นใจด้วย ?เนอร์สเซอรี่ในสถานประกอบการ?

ที่มาของภาพ lt;http://oxygen.readyplanet.com/images/1186291358/t72b.jpggt;
ความกดดันทางเศรษฐกิจในสังคมเมืองยุคใหม่ส่งผลให้โครงสร้างครอบครัวสมัยใหม่เปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว รวมทั้งการเปลี่ยนบทบาทของภรรยาที่ต้องออกมาทำงานนอกบ้านร่วมกับสามีเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว พ่อแม่จำนวนมากจำเป็นต้องฝากบุตรหลานในวัยก่อนเข้าเรียนของตนให้กับญาติพี่น้องจ้างพี่เลี้ยงหรือฝากไว้กับเนอร์สเซอรี่ให้เป็นผู้ดูแลแทน
แม้จะอุ่นใจที่ฝากลูกไว้กับปู่ย่าตายาย พี่เลี้ยงดีที่ไว้ใจได้ หรือเนอร์สเซอรี่ที่น่าเชื่อถือ แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือความใกล้ชิดผูกพันระหว่างตนและลูก โดยหากเลือกได้พ่อแม่ส่วนใหญ่คงต้องการเป็นผู้เลี้ยงดูลูกด้วยตัวเองมากกว่า
จากที่ผมเคยเสนอเรื่องการเปิด ldquo;เนอร์สเซอรี่ในสถานประกอบการrdquo; ไว้ควบคู่ไปกับการจัดตั้ง เนอร์สเซอรี่สองวัยในหนังสือ ldquo;กรุงเทพฯที่ผมฝันrdquo; ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วนั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเป็นแนวทางสำคัญประการหนึ่งที่สามารถช่วยพ่อแม่ยืดช่วงเวลาพิเศษสุดในการใกล้ชิดกับลูกน้อยและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นไปอีกนอกเหนือไปจากช่วง 90 วันที่อนุญาตให้แม่ลาคลอดได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ด้วยหลักการที่กำหนดให้สถานประกอบการแต่ละแห่งต้องมีศูนย์เลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพไว้เป็นสวัสดิการให้กับพนักงานในองค์กร ซึ่งจัดตั้งอยู่ในระยะทางที่ใกล้เพียงพอที่พนักงานสามารถเดินทางไปใช้เวลากับบุตรของตนในช่วงพักระหว่างวันได้โดยไม่เสียเวลาทำงาน โดยแนวทางการจัดตั้งเนอร์สเซอรี่ในสถานประกอบการที่อยู่ในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครนั้นสามารถทำได้โดยเริ่มจาก
สำรวจความเป็นไปได้ของสถานประกอบการทั้งหมดที่มีในแต่ละเขต สำนักงานเขตทุกแห่งดำเนินการเฟ้นหาสถานประกอบการหรือโรงงานที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ โดยกรุงเทพมหานครทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและคอยให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ อาทิ แนวทาการจัดตั้งการรวมกลุ่มของสถานประกอบการบริเวณใกล้เคียงในการเปิดเนอร์สเซอรี่ร่วมกัน กลไกการดำเนินงาน การฝึกอบรมบุคลากรพี่เลี้ยงเด็ก ประสานสถานประกอบการที่มีเนอร์สเซอรี่อยู่แล้วให้มาเป็นที่ปรึกษาแก่สถานประกอบการอื่นที่ต้องการจัดตั้ง
ช่วยประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กรุงเทพมหานครมีหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนสถานประกอบการในการเปิดเนอร์สเซอรี่ โดยการอำนวยความสะดวกและเป็นผู้ประสานงานต่อภาครัฐอื่น ๆ อาทิ ประสานเรื่องการจดทะเบียน การฝึกอบรมบุคลากรดูแลเด็กโดยผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลต่าง ๆสนับสนุนด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในการดูแลเด็กของสถานประกอบการอย่างเบ็ดเสร็จครบวงจร
สร้างมาตรการจูงใจให้สถานประกอบการ โดยมาตรการทางภาษีให้สถานประกอบการสามารถนำรายจ่ายจากเนอร์สเซอรี่ไปหักลดหย่อนภาษีได้ รวมทั้งการมอบรางวัลประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติให้กับสถานประกอบการ รวมทั้งการมอบสิทธิพิเศษในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
การเปิดเนอร์สเซอรี่ในสถานประกอบการไม่เพียงแต่สร้างประโยชน์ให้กับพ่อแม่ในการได้ดูแลบุตรของตนอย่างใกล้ชิดอันเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวแล้ว ยังเป็นการสร้างประโยชน์ตอบแทนกลับคืนสู่สถานประกอบการอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม รวมทั้งช่วยลดปัญหาการลาออกของบุคลากร เนื่องจากการเปิดเนอร์สเซอรี่ในสถานประกอบการนั้นในอีกแง่มุมหนึ่งคือเป็นการซื้อใจพนักงานด้วยการแสดงออกถึงความจริงใจที่สถานประกอบการมีให้ ไม่เพียงต่อพนักงานเท่านั้นแต่รวมไปถึงการดูแลคนในครอบครัวของเขาด้วย ที่เสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกันนั่นเอง
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2008-04-30