อยู่อย่างมีความสุข?หลังวัยเกษียณ

อีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยอาจจะประสบปัญหาวิกฤตผู้สูงอายุ จากการศึกษาของธนาคารพัฒนาแห่งเอเซียได้ชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.3 ในปี 2543เป็นร้อยละ 18 ในปี 2563 ส่งผลให้สัดส่วนประชากรในวัยทำงานต่อจำนวนผู้สูงอายุจะลดลงจาก 6 คนต่อคนชรา 1 คน เป็น 3 คนต่อ 1 คนในอีกไม่เกิน 13 ปี (2563) และอีกประมาณ 33 ปี (2583) สัดส่วนจะลดลงเป็น 2 คน ต่อ 1 คน ซึ่งสรุปได้ว่าโครงสร้างประชากรของไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ ldquo;สังคมผู้สูงอายุrdquo;

ซึ่งหมายความว่าอีกไม่นานประชากรวัยทำงานจะเริ่มมีภาระในการเลี้ยงดูคนสูงอายุในสังคมมากขึ้น เพราะแม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบประกันสังคมและระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วก็ตามแต่ยังไม่สามารถทำให้ประชาชนมีเงินออมมากเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในบั้นปลายของชีวิต
ดังนั้นเราจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนเพื่อสามารถใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณได้อย่างมีความสุขและไม่ขัดสน โดยการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังนี้

เตรียมใจ
เพื่อทำใจยอมรับการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น อาทิ ลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนไป กำลังวังชาลดลงไม่คล่องแคล่วว่องไวเหมือนในอดีต การแยกครอบครัวของบุตร การสูญเสียคู่ครอง การที่ต้องอยู่คนเดียวเมื่อลูกหลานต้องจากไปทำงานในที่ไกล การไม่มีโอกาสในความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นต้น เราควพยายามทำความเข้าใจกับตนเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะทางใจที่หดหู่และจมอยู่กับความผิดหวัง

เตรียมกาย ความพร้อมด้านร่างกายเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเตรียมตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาว คนหนุ่มสาวที่ไม่ได้เตรียมพร้อมด้านสุขภาพ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุที่ต้องเจ็บป่วยอยู่เสมอ อาจต้องเผชิญหน้ากับความสิ้นหวังในชีวิตได้มากกว่าผู้ที่เตรียมความพร้อมในด้านร่างกายมาอย่างดี เพราะการมีสุขภาพที่ดีย่อมหมายถึงการใช้เวลาที่เหลืออย่างมีประโยชน์ ลดการเป็นภาระแก่ผู้อื่น มีอารมณ์และสุขภาพจิตที่ดี

เตรียมแผนการใช้เวลา
เพื่อสามารถใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายได้อย่างมีเป้าหมาย รู้ว่าในช่วงเวลาใดจะทำสิ่งใดอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อสามารถปรับตัวเข้าสู่สภาพใหม่ที่จะเกิดขึ้นได้โดยมีการวางแผนการใช้เวลาในด้านต่าง ๆ อาทิ

hellip;เวลาทำงาน วางแผนหางานที่ชื่นชอบทำเป็น ldquo;งานประจำrdquo; ในแต่ละวันเพื่อใช้เวลาไปกับงานที่ทำนั้นอย่างมีคุณค่าและมีความสุขสนุกสนาน ไม่ปล่อยให้ชีวิตว่างเปล่าหรือปล่อยเวลาผ่านไปวัน ๆ อย่างไร้เป้าหมาย
hellip;เวลาตรวจสุขภาพกำหนดเวลาในการตรวจสุขภาพกับแพทย์เป็นประจำ เพื่อการรักษาได้ทันท่วงทีหากมีสิ่งใดผิดปกติ

เตรียมครอบครัว
ความผูกพันในครอบครัวระหว่างสามีภรรยา หรือพ่อแม่ลูก เป็นเครื่องบ่งชี้ในระดับ
หนึ่งว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีความเอื้ออาทรระหว่างกัน ช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน หากเราไม่เอาใจใส่ครอบครัว เช่น ไม่ซื่อสัตย์ต่อคู่สมรส ไม่มีเวลาให้ครอบครัว ไม่รับผิดชอบ ฯลฯ เมื่อถึงวัยสูงอายุย่อมเป็นการยากที่จะให้ลูกหลายมาดูแลชีวิตเรา

เตรียมเพื่อน
ldquo;เพื่อนrdquo; เป็นบุคคลที่เราต้องรักษาสัมพันธภาพไว้ให้มั่นคงไม่ว่าจะเป็นเพื่อนใหม่ เพื่อนเก่า เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงาน เพราะเพื่อนคือสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งเมื่อเราเข้าสู่วัยสูงอายุ เพื่อนช่วยให้เกิดกำลังใจและมีเป้าหมายมากขึ้นในการดำเนินชีวิต

เตรียมที่พักอาศัยเตรียมวางแผนไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวว่าจะอยู่กับใคร อยู่ที่ไหน อยู่อย่างไร ที่ทำให้มีความพึงพอ ใจมากที่สุด โดยควรเลือกให้เหมาะสมกับวัยด้วย เช่น ไม่ควรพักอาศัยในอาคารสูงเพราะอาจทำให้ขึ้นลงลำบาก เลือกที่พักที่มีเพื่อนบ้านที่ดีคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ เลือกอาศัยในบริเวณใกล้เคียงกับญาติพี่น้อง เป็นต้น

การเตรียมความพร้อมทั้ง 6 ประการดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่คนหนุ่มสาวไม่ควรมองข้าม การที่เราต่าง
ดำเนินชีวิตไปตามวัยของตน โดยไม่มีการวางแผนหรือเตรียมความพร้อมใด ๆ ในการดำเนินชีวิต ได้แต่รอคอยสถานการณ์บังคับเมื่อเวลานั้นมาถึง อาจทำให้ต้องกล่าวคำว่า ldquo;สายเกินไปrdquo; ที่จะเตรียมการต่าง ๆ ได้ทันท่วงที คนจำนวนไม่น้อยจึงเห็นความชราเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากกว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี

hellip;เวลาท่องเที่ยวพักผ่อน
hellip;เวลาออกกำลังกาย จัดเวลาเจาะจงสำหรับการออกกำลังกายในแต่ละวันอย่างสม่ำเสมอให้เป็นลักษณะนิสัย เพื่อสุขภาพกายที่แข็งแรง
วางแผนจัดสรรเวลาและค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวพักผ่อน เพื่อให้ชีวิตได้ผ่อนคลายจากความเหงาและความตึงเครียด
admin
เผยแพร่: 
หนังสือพิมพ์โคราชรายวัน
เมื่อ: 
2007-06-07