เข้าใจพนักงาน.......ก่อนเปลี่ยนแปลง
หลังจากเกิดความผิดพลาดจากการตัดสินใจในการปิดฝ่ายพลังงานนิวเคลียร์ของจีอี และตัดสินใจว่าจะไม่มีการพัฒนาโรงงานนิวเคลียร์ของจีอีอีกต่อไป ทั้งนี้ การตัดสินใจดังกล่าวเป็นการตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของนานาชาติ โดยเฉพาะชาวอเมริกาที่ไม่ต้องการให้มีการทดลองพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับจีอีในขณะนั้นเป็นสภาพที่พนักงาน ldquo;ชั้นเลิศrdquo; ผู้เพียบพร้อมทั้งความรู้ความสามารถและการผูกพันอุทิศตัวกับองค์กร ในฝ่ายที่ต้องถูกปิดตัวลง เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก เวลช์ได้ให้เหตุผลว่า ทั้งนี้เพราะพนักงานเหล่านี้ทุ่มเทเวลา 30 ปี หรือเรียกว่าครึ่งชีวิตของเขาทุ่มเทให้กับงานและกับองค์กร แต่กลับถูกทำให้พังทลายโดยสิ้นเชิงเมื่อรับรู้ว่า องค์กรจะไม่ดำเนินโครงการดังกล่าวอีกต่อไป
ส่วนหนึ่งคงต้องยอมรับว่าเป็นความผิดของเวลช์ด้วย เพราะเขาควรสื่อสารกับพนักงานให้เห็นภาพอนาคตของสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพื่อให้พนักงานมีโอกาสเตรียมใจและยอมรับความไม่แน่นอนในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจดังกล่าว จะกล่าวโทษว่า เป็นความผิดพลาดของ เวลช์ในฐานะผู้บริหารก็ไม่ได้ เพราะเขาต้องตัดสินใจตามมติมหาชน อันเป็นความไม่แน่นอนหรือปัจจัยภายนอกที่ตัวเขาไม่สามารถควบคุมได้ เพื่อความอยู่รอดขององค์กร
ตัวอย่างเรื่องจริงที่กล่าว ทำให้ผมได้บทเรียนที่ดีอย่างยิ่ง และคิดว่าคงเป็นประโยชน์ทั้งกับผู้บริหารองค์กร และพนักงานที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรทุก ๆ คน ในการทำงานภายใต้ความไม่แน่นอนของอนาคต และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของยุคโลกาภิวัตน์
ข้อคิดสำหรับผู้บริหารองค์กรที่ควรตระหนักคือ
เห็นความสำคัญอนาคตของคนเท่ากับอนาคตขององค์กร
ผู้บริหารที่ดีต้องไม่เห็นพนักงานเป็นเหมือนเครื่องจักร หรือฟันเฟืองตัวหนึ่งในระบบ ที่ทำให้งานของทั้งองค์กรสำเร็จเท่านั้น ต้องไม่หวังเพียงการสูบศักยภาพของบุคคล โดยแลกเปลี่ยนด้วยค่าตอบแทน แต่ควรตระหนักว่า แม้คนนั้นจะทุ่มเทความรู้ความสามารถและยินดีร่วมผูกพันกับองค์กร ขณะเดียวกันแต่ละคนย่อมมีชีวิตของเขาเอง มีอนาคตในส่วนตัวที่เขาต้องเตรียมพร้อมและสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงด้วยเช่นกัน
สื่อสารถึงโอกาสความเปลี่ยนแปลง
ในสภาพปัจจุบัน แม้ผู้บริหารที่เก่งกาจมากที่สุดก็ยังไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้ หรือวันต่อ ๆ ไปในอนาคตจะมีความไม่แน่นอนอะไรเกิดขึ้นที่บังคับต้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้าง ดังนั้นจึงควรสื่อสารให้พนักงานทุกคนได้ตระหนักถึงความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้พนักงานทราบทิศทางการเคลื่อนไหวขององค์กร อันจะนำไปสู่การปรับตัวและเตรียมในทิศทางใหม่ที่เขาจะสามารถก้าวต่อไปได้ในอนาคต และเพื่อลดปัญหาการเกิดการประท้วง ความไม่พอใจของพนักงาน เมื่อได้รับคำสั่งที่เด็ดขาดว่าต้องออกจากงาน เพราะยุบแผนก ยุบฝ่าย หรือเลิกกิจการ
จากบทเรียนดังกล่าวแจ็ค เวลช์(Jack Welch) สุดยอดนักบริหารแห่งทศวรรษ 1980 ได้ข้อสรุปบทเรียนประการหนึ่งที่เขาได้จากการเป็นผู้บริหารว่า
ldquo;สิ่งที่โหดร้ายที่สุดขององค์กรใด ๆ คือ การไม่ยอมทำความเข้าใจกับพนักงาน และบ่อยครั้งที่บริษัทต้องเผชิญกับปัญหาในการทำงานหรือมีผลต่อบริษัทเมื่อสายเกินไปเสียแล้ว เพราะไม่ได้คิดแก้ไขปัญหา ในขณะที่ทุกคนยังมีทางเลือกมากกว่านี้rdquo;
Tags:
เผยแพร่:
หนังสือพิมพ์โคราชรายวัน
เมื่อ:
2007-05-03