คุณลักษณะรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ldquo;การศึกษาrdquo; เป็นงานที่สำคัญของประเทศ จึงจำเป็นต้องมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาได้อย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จ ความสำเร็จ แม้ในขณะนี้พรรคการเมืองว่าที่รัฐบาลกำลังวุ่นอยู่กับการรวมพรรคจัดตั้งรัฐบาล จึงยังไม่มีความชัดเจนว่าจะวางตัวใครเข้าไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ นั่นรวมถึง ศธ. ที่ดูเหมือนว่ายังไม่เห็นใครเหมาะสมเข้ามาเป็นรัฐมนตรี
มีความ โปร่งใสและตรวจสอบได้ ปัจจุบันสังคมคาดหวังรัฐบาลให้บริหารประเทศโดยใช้หลักธรรมาภิบาลโดยเฉพาะ ศธ. ซึ่งเป็นกระทรวงที่ใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนมากที่สุด ดังนั้น การสร้างความไว้วางใจแก่ประชาชนจึงสำคัญ ผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ศธ. จึงต้องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ัดเจนด้านการใช้จ่ายในการจัดทำโครงการต่าง ๆ และเปิดกว้างต่อการตรวจสอบในประเด็นต่าง ๆ ในด้านการจัดการศึกษา
ผมคิดว่าผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรี ศธ. ควรมีคุณลักษณะบางประการ ที่สามารถนำทิศทางการศึกษาของประเทศไปสู่ความก้าวหน้า กล่าวคือ ขยายโอกาสการศึกษาให้ทั่วถึง เพิ่มคุณภาพการศึกษา ใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษาได้อย่างคุ้มค่า จัดเตรียมแนวทางเชิงรุกรองรับสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอกประเทศ รวมถึงพัฒนาระบบการบริหารและโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพเท่าการเปลี่ยนแปลง ซึ่งคุณลักษณะสำคัญของรัฐมนตรี ศธ. มีดังนี้
มีวิสัยทัศน์ ที่ผ่านมาการดำเนินงานของนักการเมืองไทยโดยเฉพาะผู้ดำรงรัฐมนตรีจำนวนไม่น้อย เน้นสร้างผลงานระยะสั้นช่วงที่ดำรงตำแหน่ง แต่ขาดวิสัยทัศน์ระยะยาวที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ยิ่งเป็นการพัฒนาด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รัฐมนตรี ศธ. ที่มีวิสัยทัศน์ไกล เพราะงานด้านการศึกษาต้องใช้ระยะเวลาในการวางรากฐาน ดังนั้นคุณสมบัติแรกของรัฐมนตรี ศธ. คือมีวิสัยทัศน์ไปในอนาคต โดยกำหนดภาพพึงประสงค์ว่าการศึกษาไทยควรไปในทิศใด และวางแนวทางผลักดันให้ไปสู่วิสัยทัศน์นั้น รวมถึงผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือขับเคลื่อนไปสู่วิสัยทัศน์ แม้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็ยังมีกลไกขับเคลื่อนการศึกษาจนไปถึงวิสัยทัศน์ได้
สามารถบริหารเชิงกลยุทธ์ ภายใต้ทรัพยากรการศึกษาที่จำกัด แต่การศึกษาไทยยังคงต้องขับเคลื่อนต่อไป ผู้ที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรี ศธ. จึงควรเป็นผู้ที่มีความสามารถบริหารเชิงกลยุทธ์ คือ สามารถกำหนดแนวทางพัฒนาการศึกษาที่ดีที่สุด ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ได้อย่างรอบคอบ และภายใต้ความจำกัดทางทรัพยากร โดยกำหนดขั้นตอนแต่ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์หรือเมื่อมีอุปสรรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อาทิ นโยบายที่ ศธ. ต้องทำให้เกิดขึ้นจริงตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คือ การจัดการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่ภายใต้งบประมาณที่จำกัดนี้ คงเป็นการยากที่จะทำได้ ดังนั้น รัฐมนตรี ศธ. ต้องหาทางออกให้กับนโยบายนี้ โดยจัดเตรียมกลไกบริหารจัดการที่นำสู่ภาคปฏิบัติได้ รวมถึงจัดหาและระดมทรัพยากรได้เพียงพอ และดำเนินจัดการศึกษาได้มีคุณภาพ
สามารถบริหารและแก้ไขความขัดแย้ง ในช่วงที่ผ่านมา การแก้ไขความขัดแย้งในประเด็นการศึกษามักใช้การประวิงเวลา เลื่อนการตัดสินใจ หรือปัดภาระให้รัฐบาลชุดต่อไป โดยไม่ลงมือแก้ไขหรือเปิดโต๊ะเจรจาอย่างจริงจัง เช่น ประเด็นปัญหาการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย การกระจายอำนาจทางการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การสอบในระบบแอดมิสชั่นส์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัญหาที่เกิดในกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เช่น ปัญหาหนี้สิน การเออรี่รีไทร์ครู การประเมินวิทยฐานะ ฯลฯ และปัญหาการศึกษาอื่นที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้น รัฐมนตรี ศธ. คนใหม่ ไม่เพียงต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น ยังต้องเตรียมรับมือกับความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าอีกด้วย ผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ศธ. จึงควรมีความสามารถบริหารปัญหาความขัดแย้ง สามารถวินิจฉัยและแก้ไขปัญหา มีความสามารถในการประสานประโยชน์ มีความอดทน และยุติธรรม
สามารถสร้างภาคีเครือข่าย การจัดการศึกษาเป็นภารกิจสำคัญที่ไม่สามารถฝากให้เป็นภาระของ ศธ. เพียงกระทรวงเดียว แต่จำเป็นต้องร่วมมือกับหน่วยหรือองค์กรภายนอกที่เชี่ยวชาญบางด้านเข้าร่วม อาทิ สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานด้านการศึกษา หรือชุมชน ฯลฯ ดังนั้น จึงจำเป็นที่ผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ศธ. ควรเป็นผู้มีทัศนะที่เห็นความสำคัญในการทำงานเป็นเครือข่าย มีความสามารถสร้างกลไกและพัฒนาภาคีเครือข่ายที่เป็นรูปธรรมจากองคาพยพต่าง ๆ โดยเป็นภาคีร่วมมือระดับเข้มข้นเกิดผลจริง มิใช่เป็นเพียงเครือข่ายในนาม
มีความ โปร่งใสและตรวจสอบได้ ปัจจุบันสังคมคาดหวังรัฐบาลให้บริหารประเทศโดยใช้หลักธรรมาภิบาลโดยเฉพาะ ศธ. ซึ่งเป็นกระทรวงที่ใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนมากที่สุด ดังนั้น การสร้างความไว้วางใจแก่ประชาชนจึงสำคัญ ผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ศธ. จึงต้องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ัดเจนด้านการใช้จ่ายในการจัดทำโครงการต่าง ๆ และเปิดกว้างต่อการตรวจสอบในประเด็นต่าง ๆ ในด้านการจัดการศึกษา
รัฐบาลหน้า ไม่เพียงสรรหาผู้มีความรู้ความสามารถด้านการจัดการศึกษาเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ศธ. เท่านั้น แต่ควรคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะสำคัญดังที่กล่าวมาข้างต้นด้วย นอกจากนี้ ควรคัดเลือกผู้ที่มีภาวะผู้นำ เพื่อที่จะนำทิศทางนักการศึกษา ข้าราชการครู อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และภาคีอื่นให้เข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษาจนประสบความสำเร็จ
แสดงความคิดเห็น
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2008-01-07