ดึงดูดด้วยเสียงหัวเราะ

กล่าวกันว่า การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวจูงใจผู้ฟังนั้น มักจะประสบความสำเร็จ เมื่อคนฟังเริ่มต้นด้วยการหัวเราะ

นักวาทศิลป์ผู้มากด้วยประสบการณ์ มักเริ่มต้นการกล่าวสุนทรพจน์ด้วยการเล่าเรื่องขบขัน

แจ๊ค วาเลนไต (Jack Valenti)ได้พูดถึง แอดไล สตีเวนสัน (Adlai Stevenson) อดีตนักการเมืองผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐ ไว้ในหนังสือ Speak up with confidence ว่า เป็นคนที่มีความสามารถสูงมากในการสร้างอิทธิพลต่อผู้ฟังด้วยคำพูดของเขา ครั้งหนึ่งเขาได้ไปหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี กับนักธุรกิจกลุ่มหนึ่ง ซึ่งร้อยละ 99 ของนักธุรกิจกลุ่มนี้ออกเสียงไม่เอาเขามาสองครั้งแล้ว และครั้งนี้ก็กำลังจะเป็นครั้งที่สามแล้ว สตีเวนสันรู้เรื่องนี้ดี แต่เขาสามารถดึงดูดผู้ฟังให้ฟังสิ่งที่เขาพูดได้ ด้วยการเริ่มต้นกล่าวว่า ldquo;ท่านประธานที่เคารพ ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาเยือนท่านและได้พบกับท่านผู้ฟังทุกท่านในที่นี่ ซึ่งล้วนแต่เป็นมิตรสหายของผม ndash; (หยุด 1-2 วินาที) -และไม่มีผู้สนับสนุนผมเลยrdquo;

เขาสามารถทำให้สถานการณ์ที่ดูน่ากลัว คนฟังอาจรู้สึกไม่อยากฟัง ไม่พอใจเรา โดยการทำให้เป็นเรื่องตลก เมื่อข้อความนี้จบ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เสียงหัวเราะและการปรบมือ จากนั้นผู้ฟังให้ความร่วมมือรับฟังสิ่งที่เขากล่าวเป็นอย่างดีจนจบ

การพูดตลกเป็นสิ่งมีค่าในการดึงดูดใจผู้ฟัง นักพูดที่เริ่มต้นด้วยเสียงหัวเราะ ย่อมช่วยเพิ่มความปรารถนาในตัวผู้ฟัง ยิ่งหากคำพูดของเขาแทรกไปด้วยเรื่องเล่า ถ้อยคำที่สนุกสนาน หักมุมเรื่องราวที่คนคิดไม่ถึง ยิ่งส่งเสริมให้ผู้ฟังมีอารมณ์สนุกสนาน ง่ายต่อการคล้อยตาม และยินดีฟังสิ่งที่พูดจนจบ ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้เป้าหมายที่ต้องการสื่อสารนั้นประสบความสำเร็จ

ทว่า...การเล่าเรื่องขบขันนั้น มีความเสี่ยงอย่างยิ่ง เพราะหากเราเล่าไปแล้วคนไม่หัวเราะ ไม่รู้สึกตลก หรือไม่เข้าใจในมุขตลกที่เราพูดออกไป เท่ากับว่า การพูดของเราทั้งหมดนั้นล้มเหลว

โดยธรรมชาติแล้ว ผู้ที่จะพูดเรื่องขบขันให้ประสบความสำเร็จ มักเป็นคนที่มีอารมณ์ขัน ชอบพูดตลกเป็นนิสัยอยู่แล้ว คนเหล่านี้จะมีความสามารถในการเล่าเรื่องตลก ทั้งการเลือกเรื่อง และการแสดงสีหน้า ท่าทาง การรู้จังหวะจะโคนในการพูด ทำให้ไม่ว่าครั้งใดที่พูด จะสามารถเรียกเสียงหัวเราะได้เสมอ

กล่าวกันว่า ในเรื่องเดียวกัน หากคนที่พูดตลกเก่งอยู่แล้วพูด คนฟังจะหัวเราะ แต่หากให้คนที่พูดตลกไม่เก่งเป็นผู้พูด อาจไม่มีใครหัวเราะเลยก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะไม่ใช่คนพูดตลก ไม่ใช่ตลกอาชีพ ไม่ได้เป็นคนที่มีอารมณ์ขันเป็นนิสัย และเล่าเรื่องตลกแล้วไม่มีใครขำ เข้าทำนอง ldquo;ตลกฝืดrdquo; แต่เรื่องนี้เราสามารถที่จะเรียนรู้และฝึกฝนได้

ความสามารถในการพูดตลก การแทรกเรื่องตลกในบทพูด เป็นเรื่องที่เราควรเรียนรู้ และควรฝึกฝน เพราะหากเราสามารถทำให้ผู้ฟังเกิดเสียงหัวเราะออกมาตั้งแต่เริ่มต้น ย่อมเป็นสัญญาณที่ดียิ่งที่สื่อให้เราเห็นว่า การพูดของเราจะบรรลุเป้าหมาย ซึ่งการพัฒนาทักษะการเล่าเรื่องตลกนั้น เป็นเรื่องที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันต่อไป
admin
เผยแพร่: 
งานวันนี้
เมื่อ: 
2007-11-20