ผมได้อ่านบทความหนึ่งในนิตยสาร Forbes – The 400 Richest People in America ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ.2017 เกี่ยวกับ “เศรษฐีใจบุญที่สุด” ในสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ มีการจัดอับดับเศรษฐีที่ “ให้” มากที่สุด โดยพิจารณาจากปริมาณเงินที่ให้หรือบริจาคเป็นหลัก ทั้งนี้

ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุเฮอร์ริเคนทั้งในสหรัฐฯ และประเทศแถบแคริเบียน รวมถึงประเทศเปอร์โตริโก อันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากครับ เปอร์โตริโกมีชื่อทางการว่า เครือรัฐเปอร์โตริโก ถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่ง

ผมเป็นคนชอบการเรียนรู้ หากเป็นไปได้จะพยายามเข้าสัมมนาและเรียนในหลักสูตรต่างๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่มีสาระ
 
และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ในตัวเอง ผมมองว่าการยอมให้เวลาไปกับการเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ จะทำให้ชีวิตเราทำประโยชน์ได้มากขึ้น

ทำไมประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นอันดับ 1 ตามการจัดอันดับ Global Innovation Index

ทั้งที่เป็นประเทศเล็กบนเทือกเขาแอลป์ ไม่มีทางออกทะเล ขาดแคลนทรัพยากร ?

“ระบบที่ดี คือ ระบบที่ทำให้คนชั่วทำดีโดยไม่รู้ตัว”

เป็นนิยามที่ผมได้จาการตลกผลึกมาหลายสิบปี ด้วยเพราะระบบที่ดีต้องถูกออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้คนเกเรทำสิ่งไม่ดี หรือทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าที่จะกระทำผิดหรือไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับการออกแบบกติกาสังคม ที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อเอื้อคนดี เพราะคนดีทำดีอยู่แล้วแม้ไม่มีระบบ การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้น หลีกเลี่ยงการบริหารจัดการไม่ได้ และในการบริหารจัดการก็หลีกเลี่ยงการกำหนดนโยบายไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาเชิงระบบของ “สังคม” ให้บรรลุผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็นสังคมโลก สังคมระดับชาติ สังคมระดับกลุ่มหรือองค์กร และสังคมระดับครอบครัว

ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การศึกษา การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิภาพและสวัสดิการทางสังคม รวมไปถึง “ความเหลื่อมล้ำทางปัญญา” ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาและสร้างสังคมปัญญานิยมให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยเริ่มต้นจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร เพราะประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดการพัฒนาอย่างก้าวไกลในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หากประเทศไทยยังนิ่งเฉย จะยิ่งทำให้เกิดช่องว่างความแตกต่างด้านสังคมแห่งปัญญาระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

มีใครได้ตอบคำถามท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บ้างหรือยังครับ? เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ท่านนายกฯ ได้ถามคำถาม 4 ข้อกับประชาชนเกี่ยวกับเลือกตั้งว่า

1. ท่านคิดว่าเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่?

2. หากไม่ได้จะทำอย่างไร ?

3. การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงอนาคตประเทศ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปนั้น ถูกต้องหรือไม่?

4. ท่านคิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ควรมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้แล้วจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธีอะไร?

“คุณภาพมนุษย์” เป็นตัวแปรสำคัญที่นำไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างก้าวกระโดด ประเทศพัฒนาแล้วมีการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ในระดับสูงมากเมื่อวัดโดยดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI)ที่มีตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ อายุขัยเฉลี่ย (Life expectancy) การศึกษา (Education) และรายได้ต่อหัวประชากร (Income per capita) ในปี 2014ประเทศ 10 อันดับแรกที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงที่สุด ล้วนเป็นสมาชิกในกลุ่มOECD ทั้งสิ้น และ เกือบทุกประเทศในกลุ่มOECD มีค่า HDI อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก (ยกเว้นตุรกีกับเม็กซิโกอยู่กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูง) โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมากอยู่ที่ 0.875

ขณะที่ประเทศไทย มีคะแนนอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงถือเป็นอันดับที่ 93 ของโลก(จาก 188 ประเทศ) และได้คะแนน 0.726 และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 เป็นรองจากสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับ 11 อันดับ 31 อันดับ 62 ของโลก ตามลำดับ

จากทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ที่ผมเขียนนั้น กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน โลกกำลังอยู่ในคลื่นลูกที่ 3 ยุคข้อมูลข่าวสาร และกำลังเคลื่อนไปสู่คลื่นลูกที่ 4 ยุคสังคมแห่งความรู้ การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม และประเทศใดที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ก่อนจะเป็น “ผู้ชนะ” คือ สามารถก้าวกระโดดสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก ในมิติทางเศรษฐกิจ ผมมีแนวคิดมโนทัศน์ “เศรษฐกิจหลากสี” อันเป็นแนวคิดที่ระบุถึง เศรษฐกิจหลากหลายมิติที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อสร้างชาติให้เป็นผู้ชนะในโลกคลื่นลูกที่ 3 ถึง 6 โดยเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) หรือเศรษฐกิจ “สี” ใสเป็นมิติหนึ่งในแนวคิดดังกล่าว

การศึกษาของประเทศไทยเราทุกระดับตั้งแต่ยุคอดีตจนกระทั่งปัจจุบันเป็นการศึกษาที่ยังไม่สามารถมีส่วนเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับการทำงานหรือการประกอบอาชีพให้แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร สะท้อนให้เห็นจากแต่ละปีมีผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้กลับพบว่า บางส่วนมีสมรรถนะและคุณภาพไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน อันเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสถานประกอบการ อาทิ การต้องสูญเสียทรัพยากรและงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรใหม่ เป็นต้น