CSR คือ ?การลงทุน? เพื่ออนาคต

* ที่มาของภาพ www.csr-in-smes.eu/.../csr-startseite-grafik.jpg
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้องค์กรธุรกิจจำนวนมากในประเทศไทยยังมองการดำเนินการที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (corporate social responsibility ndash; CSR) ในกระบวนทัศน์เก่า ทำให้มองเพียงส่วนของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระยะสั้นเท่านั้น จึงสนใจเพียงแค่ว่า การทำ CSR จะทำให้บริษัทได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ยิ่งกว่านั้น ผู้บริหารจำนวนมาก ยังเห็นว่าการทำ CSR เป็นการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นได้ ซึ่งขัดแย้งกับจุดประสงค์ในการทำธุรกิจที่ต้องการสร้างผลตอบแทนสูงสุด เมื่อผู้บริหารไม่เห็นประโยชน์ตรงนี้ การจัดทรัพยากรที่สนับสนุนงาน CSR ก็ไม่เพียงพอ อาทิ งบประมาณ ทรัพยากรบุคคล รวมถึงการเอางานด้าน CSR ไปรวมไว้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานประชาสัมพันธ์หรือการตลาด ทำให้การดำเนินการ CSR ถูกกลืนไปกับงานด้านการตลาดหรือประชาสัมพันธ์องค์กร
อย่างที่ผมได้วิเคราะห์ไปแล้วว่า หากธุรกิจจะทำให้องค์กรยั่งยืนอยู่ได้ ผู้บริหารและพนักงานของธุรกิจเหล่านั้นต้องออกจากกรอบกระบวนทัศน์เก่า ที่มองเพียง single bottom line คือสนใจเพียงเรื่องของกำไร มูลค่า และความมั่งคั่งของธุรกิจและผู้ถือหุ้น แต่ต้องมอง CSR ด้วยกรอบความคิดใหม่ นั่นคือ การดำเนินการด้าน CSR มีนัยของสิ่งที่บริษัทต้องยินดีจ่ายออกไป ldquo;เพื่อซื้ออนาคตrdquo; หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการลงทุนอย่างหนึ่งของบริษัทนั่นเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่จะดำเนินการ CSR อย่างมีกลยุทธ์ ต้องมองเรื่อง CSR เป็นเรื่องของ ldquo;การลงทุนrdquo; มิใช่เรื่องของ ldquo;ค่าใช้จ่ายrdquo; เหมือนกับที่สมัยหนึ่ง ธุรกิจจะมองเรื่องของการศึกษาและการฝึกอบรมบุคลากร เป็นเรื่องของ ldquo;ค่าใช้จ่ายrdquo; ที่มองไม่เห็น ldquo;ผลตอบแทนrdquo; ในระยะสั้นชัดเจน แต่ในยุคปัจจุบัน เป็นการยอมรับว่าไม่สามารถมองอย่างนั้นได้แล้ว เพราะการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรคือ ldquo;การลงทุนrdquo; ที่เก็บเกี่ยวผลในระยะยาว
บริษัท General Eclectic ในสหรัฐอเมริกาได้จัดโครงการ ldquo;รับอุปการะrdquo; โรงเรียนรัฐบาลที่อยู่ใกล้เคียงกับสำนักงานในแต่ละภูมิภาคทั้งอเมริกา โดยเลือกโรงเรียนที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่ามาตรฐาน บริษัทให้ทุนสนับสนุนโรงเรียนละ 250,000-1,000,000 เหรียญ เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งที่เป็นตัวเงิน และเป็นการบริจาค (in-kind donation) ที่สำคัญคือ ผู้จัดการของ GE ในสำนักงานแต่ละแห่ง รวมทั้งพนักงานของบริษัท ได้เข้าไปทำงานร่วมกับโรงเรียน ไปช่วยทำการประเมินความต้องการของเด็กและผู้ปกครอง มีการอาสาเข้าไปเป็น tutor และ mentor ให้กับนักเรียน เมื่อมีการประเมินผลโรงเรียนที่ร่วมโครงการนี้จำนวน 10 แห่ง ระหว่างปี 1989-1999 พบว่าโรงเรียนเหล่านี้มีผลการดำเนินดีขึ้นอย่างชัดเจนในทุกตัวชี้วัด อัตราการสำเร็จการศึกษาของนักเรียนเพิ่มขึ้นถึง 60% ผลที่ตามมาก็คือ GE ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมในท้องถิ่นเหล่านั้น เป็นหน่วยงานสำคัญที่ประชาชนเห็นว่าได้สร้างประโยชน์อย่างมากให้กับชุมชน บริษัทเองก็ได้สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับรัฐบาลท้องถิ่น และสถาบันต่าง ๆ ในท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ปกครอง พนักงานของ GE เองก็เกิดความภาคภูมิใจที่ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาสังคม และภูมิใจในบริษัทของตนเอง สิ่งที่ GE ทำไปคือการลงทุนทำงานร่วมกับชุมชน ส่งผลให้ได้รับการสนับสนุนในกิจการต่าง ๆ จากชุมชน ตัวชุมชนเองก็ปกป้อง GE จากการถูกคู่แข่งโจมตีใส่ความ เพราะเห็นความสำคัญของ GE ที่มีต่อชุมชน สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามปี แต่ใช้เวลาอย่างต่อเนื่อง
ผู้บริหารของ GE มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องสร้างบางอย่างเพื่ออนาคตขององค์กร เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเริ่ม ณ ปัจจุบัน เป็นการทำให้ตัวองค์กรเองกลายเป็นแกนหลักแกนหนึ่งของการพัฒนา ldquo;สังคมrdquo; เป็นแกนหนึ่งที่ทำให้คนในสังคมมีชีวิตที่ดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาที่มีในชุมชน จนคนรู้สึกว่าถ้าขาดหายไปจะสร้างผลเสียอย่างมหาศาลกับสังคม เหมือนอย่าง GE ที่ยกระดับโรงเรียนทั่วประเทศสหรัฐ การที่จะทำเช่นนั้นได้ ผู้บริหารองค์กรต้องก้าวให้พ้นจากกรอบกระบวนทัศน์เดิมที่สนใจเพียงกำไรแต่อย่างเดียว แล้วนำองค์กรสู่กระบวนทัศน์ใหม่ที่เน้นความอยู่รอดทางธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าให้กับสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อม
Tags:
เผยแพร่:
0
เมื่อ:
2007-10-04