May 2013

ทำงานให้มีแต่ 'วันสุข'

happyworkโลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips

ทุกวันนี้คนทำงานจำนวนหนึ่งต้องลาออกจากงานเพราะเป็นโรคซึมเศร้า อีกจำนวนไม่น้อยเริ่มแสดงอาการ "หมดไฟ" เบื่องาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง หงุดหงิดกับงาน สภาพแวดล้อม เพื่อนร่วมงาน หรืออาจมองตนเองในแง่ลบ มองตนเองไม่มีคุณค่า ในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษา ย่อมนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงจนไม่สามารถทำงานได้ และร้ายที่สุดอาจนำไปสู่ภาวการณ์ฆ่าตัวตาย

เป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมไปด้วยกันได้หรือไม่


แหล่งที่มาของภาพ : http://us.123rf.com/400wm/400/400/mariusz_prusaczyk/mariusz_prusaczyk1303/mariusz_prusaczyk130300158/18282477-3d-goal-together-crossword-on-white-background.jpg
 
    ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมทั้งความถดถอยทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นแรงกดดันที่ทำให้รัฐบาลของประเทศเหล่านี้จำเป็นจะต้องหันมาทบทวนเกี่ยวกับแนวคิดและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ
 
     ปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงแรงกดดันดังกล่าวเกิดขึ้นในหลายประเทศ ตัวอย่างเช่น การตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ในระดับสูงมาก และมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้
 
     อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การสิ้นสุดของมาตรการลดหย่อนภาษีและการเริ่มต้นของแผนการตัดลดรายจ่ายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ทั้งสองเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นพร้อมกันในช่วงสิ้นปี 2012 ทำให้ความวิตกว่าจะเกิดภาวะหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) ซึ่งคาดว่าจะส่งผลทำให้เศรษฐกิจถดถอย อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น และบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน

ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน?


แหล่งที่มาของภาพ : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6d/Thailand_(orthographic_projection).svg/250px-Thailand_(orthographic_projection).svg.png

โดยปรกติแล้วผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายและให้ความรู้ในประเด็นต่างๆ อยู่เป็นประจำ ในระยะหลังนั้น หัวข้อที่ผมได้รับเชิญให้ไปพูดบ่อยครั้งมากที่สุดแทบไม่เว้นแต่ละวันคือประเด็นที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งถึงแม้ว่าประเด็นนี้จะถูกกล่าวถึงมากขึ้น แต่การสำรวจที่ผ่านมากลับพบว่า คนไทยที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมีสัดส่วนน้อยมาก ซึ่งในบทความจะตอบคำถามที่ว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน? สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยมีหลายประการ เช่น

1) เศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว คือ การลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือร้อยละ 0 และการขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียน ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนขยายตัวสูงขึ้น นอกจากนี้การเปิดเสรีการลงทุนจะทำให้มีเงินลงทุนโดยตรงจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจบริการที่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้สูงถึงร้อยละ 70 เช่น การขนส่งทางอากาศ บริการด้านการท่องเที่ยว บริการสุขภาพ และบริการโลจิสติกส์ เป็นต้น รวมทั้งการลงทุนจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียนมายังประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากภูมิศาสตร์ของไทยเหมาะแก่การลงทุนเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค

Recommendations for the Development of Thailand?s Elderly Welfare System


Sources : http://simplystatedbusiness.com/wp-content/uploads/2010/06/smiley-face-rating.jpg

Many of us may already be aware that Thai society is moving to become an aging society within the next few years. Some governments in the past have realized this trend and introduced some policies to address the problems that are expected to arise in the future. However, the development of policies and a welfare system for the elderly seems to be fragmented and still not fully ready. Since welfare systems are not yet well in place, coupled with increasing pressure on the national fiscal burden due to the growing proportion of the elderly, Thailand is at risk of facing serious problems in the future if we do not formulate a well-thought-out policy right now. Therefore, in this article, I would like to reiterate my writings for years and want to propose some principles and guidelines for an elderly welfare system in Thailand to help policymakers frame an appropriate policy agenda and measures to tackle the issues.

The Trap of a Wealthy Society


Sources : http://accjjournal.com/files/2011/04/April11-POV-Dean.jpg

It is now more than thirty years since China's leaders considered the issue of  poverty in their country. In 1979, D?ng Xi?op?ng set the target to modernize China by proclaiming the Wealthy Society policy (Xiaokang Society), stating that Chinese people will now live more comfortable lives, free from worry and the daily fight to survive.
 
But D?ng's attempt to create wealth for the elite seems to have led China into a trap. In his book, ?The Affluent Society,? published in 1958, J.K. Galbraith criticized a conceptual emphasis on GDP growth and USD productivity, questioning if GDP really did improve the quality of people?s lives toward better lifestyles.

ประชาคมอาเซียนและโลกาภิวัตน์ :ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย (1)


แหล่งที่มาของภาพ : http://us.123rf.com/400wm/400/400/wiangya/wiangya1006/wiangya100600009/7099842-night-scene-with-light-effect-of-temple-at-the-mountain--phetchaburi-thailand.jpg

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้รับเกียรติ จากสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เชิญไปบรรยายในหัวข้อ "รู้เขา รู้เรา เพื่อการปรับตัวสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ Globalization" เพื่อเตรียมความพร้อมภาคการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ของไทย

ผมอยากจะแบ่งปันสิ่งที่ผมได้แสดงความเห็นในวันนั้นไว้ในบทความนี้โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลกระทบจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการท่องเที่ยวไทยและแนวทางการปรับตัวของมัคคุเทศก์เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

โลกาภิวัตน์และการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย ดังต่อไปนี้

พันธบัตรตอบแทนการพัฒนาสังคม (Social impact bond) : ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาประเทศ


แหล่งที่มาของภาพ : http://www.cleanegroup.org/assets/Images/_resampled/blogphoto-web-image.jpg

เมื่อเดือนที่ผ่านมามีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับการพิจารณา พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งให้อำนาจแก่กระทรวงการคลังในการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ หลายฝ่ายเกิดความกังวลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินครั้งใหญ่ที่สุดของรัฐบาลในครั้งนี้ว่าอาจทำให้ประเทศประสบปัญหาหนี้สาธารณะเหมือนอย่างประเทศกรีซได้

เราเห็นในหลายครั้งว่าความจำเป็นในการใช้งบประมาณมีไม่จำกัดแต่รัฐมีงบประมาณจำกัด รัฐบาลของทุกประเทศ

'สุดยอด'การเรียนรู้

โลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips

คนจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตมักมีลักษณะของการเป็นนักเรียนรู้ แสดงออกเป็นพฤติกรรมที่กระตือรือ ร้นในการแสวงหาความเข้า ใจในสิ่งใหม่ๆ มีความสนใจในสิ่งที่หลากหลาย เปิดใจรับการแนะนำและปรึกษาหารือกับผู้อื่นอยู่เสมอ

น่าเศร้าที่ยังมีคนทำ งานจำนวนมากแทบทุกองค์ กร ตั้งแต่พนักงานระดับปฏิ บัติการจนกระทั่งพนักงานระ ดับบริหาร มีนิสัยชอบทำงานคนเดียว ชอบคิดและตัดสินใจทำเอง ไม่ชอบเรียนรู้นอกสาขา ไม่ชอบขอคำปรึกษาหรือเพิกเฉยต่อคำแนะนำ จนเป็นเหตุให้ต้องประสบความล้มเหลวในการทำงาน

การตัดสินใจที่ผิดพลาดจำนวนไม่น้อยที่เกิดขึ้นทั้งในชีวิต ส่วนตัว ชีวิตการทำงาน ส่วนหนึ่งอาจไม่มีใครคิดว่าเกิดจากสิ่งเล็กๆน้อยๆที่เรามองข้ามไป นั่นคือ การไม่ฟังคำแนะนำ การไม่ปรึกษาผู้อื่นก่อนตัดสินใจ แต่ทำในลักษณะคิดเองทำเอง ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง

ท่องเที่ยวพ้อ2ล้านล.ไม่เอื้อเหตุขนส่งทางอากาศได้งบลงทุนน้อยแนะหันจัดทัวร์ตามระบบราง-ถนนเพิ่ม

โพสต์ทูเดย์

ดร.แดน อัดโครงการรัฐขายฝันลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ช่วยท่องเที่ยวน้อย

นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจ้าของฉายา ดร.แดน แคน ดู กล่าวในการบรรยายเรื่อง2.2 ล้านล้านบาท ส่งผลต่อเศรษฐกิจท่องเที่ยวอย่างไร จัดโดยสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย ว่า รัฐบาลมีนโยบายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่หากรวมงบประมาณด้านอื่นที่จะลงทุนระบบสาธารณูปโภคอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งมองว่าเงินลงทุนนี้ส่งผลดีต่อภาคท่องเที่ยวโดยตรงไม่มากระยะแรก เนื่องจากแผนของรัฐบาลใช้เงินลงทุนด้านระบบขนส่งทางอากาศ ซึ่งเป็นช่องทางหลักที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาที่ 66.98 ล้านบาท หรือ 3% ของเงินลงทุนทั้งหมดเท่านั้น แต่อาจได้ผลดีทางอ้อมมาก ถ้าภาครัฐบริหารจัดการฉลาด

โมเมนตัมของแรงงานกับอสังหาริมทรัพย์ไทย


แหล่งที่มาของภาพ : http://localtvwiti.files.wordpress.com/2012/01/aircraft-jobs.jpg?w=400


ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยต้องเผชิญกับต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น ทั้งผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท และปัญหาแรงงานขาดแคลนในภาคอสังหาฯ ซึ่งเป็นผลจากความต้องการแรงงานในภาคธุรกิจนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการแรงงานซ่อมแซมบ้านภายหลังจากภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 และจากการเร่งตัวของภาคธุรกิจในโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีโครงการอีกเป็นจำนวนมากที่มีกำหนดเริ่มดำเนินการก่อสร้างในอนาคต

รายงานพิเศษ เพื่อประเทศไทยน่าอยู่ ที่สุดในโลก...: Happy Workplace ความสุขทุกสถานการณ์

บ้านเมือง
คอลัมน์ ?รายงานพิเศษ เพื่อประเทศไทยน่าอยู่ ที่สุดในโลก...?

ยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็ง คือ การที่คนในองค์กรมีความพร้อมทั้งด้านความรู้ ทักษะ ตลอดจนทัศนคติต่องานเพื่อการทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานอย่างแน่นอน

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และภาคีความร่วมมือด้านการสร้างองค์กรแห่งความสุขทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมจัดสัมมนาวิชาการเครือข่ายองค์กรสุขภาวะ

ไตรภาวะของเศรษฐกิจโลก


หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 2551 เกิดข้อถกเถียงของนักเศรษฐศาสตร์ในประเด็นที่ว่า กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่(emerging economy) จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามสหรัฐไปหรือไม่ ข้อถกเถียงดังกล่าวทำให้เกิดแนวคิดหนึ่งที่เรียกว่า "Economic Decoupling" ซึ่งพยายามอธิบายว่า เศรษฐกิจเกิดใหม่จะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจเกิดใหม่พึ่งพาสหรัฐลดลง แต่มีการพึ่งพากันเองมากขึ้น และพึ่งพาอุปสงค์ภายในประเทศมากขึ้น
     แนวคิดดังกล่าวได้รับการยืนยันด้วยความแตกต่างของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วกับกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยในขณะที่เศรษฐกิจเกิดใหม่ทั่วโลกทั้งในเอเชียตะวันออก กลุ่ม BRICS ละตินอเมริกา หรือแม้แต่ในแอฟริกามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง แต่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วกลับมีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับต่ำหรือแทบไม่ขยายตัวเลย

เดินหน้าสู่องค์กร แห่งความสุขHappy Workplace 3.1

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : สร้างสุข

โครงการ Happy Workplace ปฏิบัติการพลิกโฉมองค์กรสู่แนวทางการสร้างสุขทั้ง 8 ประการเป็นกิจกรรมที่ สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานหลายปี โดยมีองค์กรต้นแบบที่คอยเผยแพร่องค์ความรู้ และแนะนำกิจกรรมดีๆ สู่องค์กร รุ่นน้อง เพื่อเป้าหมายในการยกระดับความสุขของคนทั้งประเทศ หนึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี คือโครงการ Happy Workplace Forum ซึ่งเป็นเวทีเสวนาของนักวิชาการ บุคลากร จาก สสส. และองค์กรตัวอย่างเพื่ออัพเดทแนวคิด และ การทำงานภายใต้หลักของความสุขทั้งแปดประการให้กับองค์กรที่สนใจและในปีนี้ งาน Happy Workplace Forum ได้รับเกียรติจาก ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนามาเป็นหนึ่งในวิทยากร โดย ดร. เกรียงศักดิ์ ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่องค์กรไทยจะต้องปรับตัว เพื่อเตรียมรับมิติใหม่ทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม ในทศวรรษหน้า