August 2010

การกลับมาของนโยบายอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาแล้ว

       

  ที่มาของภาพ http://www.vcharkarn.com/uploads/150/150460.jpg 

           กระแสโลกในปัจจุบัน เราเริ่มเห็นประเทศพัฒนาแล้วหันกลับมาใช้นโยบายแทรกแซงภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น จากเดิมซึ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้เหมาะสมและปล่อยให้กลไกตลาดเป็นผู้ตัดสินว่าอุตสาหกรรมใดมีโอกาสที่จะเติบโต  ขณะนี้บรรดาผู้นำประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของโลกได้ประกาศชัดเจนถึงทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของตน ดังตัวอย่างของประธานาธิบดีโอบามาที่ได้กล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯต้องตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์มากขึ้น ดังนั้นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯจึงจัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อสร้างนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม  เช่น  อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน รถไฟความเร็วสูงและยานยนต์ขั้นสูง หรือตัวอย่างของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นซึ่งได้กล่าวไว้เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการที่จะสร้าง ?บริษัทของญี่ปุ่น? ขึ้นมาใหม่ เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจกับรัฐให้มากขึ้น หรือกรณีของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปที่ประกาศว่าจะใช้นโยบายอุตสาหกรรมเชิงรุก ให้ความสำคัญกับภาคการผลิตมากขึ้น สนใจภาคบริการและอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้เข้มข้นน้อยลง เป็นต้น

ทัศนะเรื่องการอนุญาตให้เด็ก ที่ตั้งท้องเรียนหนังสือต่อได้


?ตั้งครรภ์ระหว่างเรียน ควรได้เรียนต่อหรือไม่??
ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงในสังคมช่วงที่ผ่านมา จากการที่กรมอนามัยเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์ ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีสาระสำคัญประการหนึ่งคือ คุ้มครองให้สถานศึกษาอนุญาตให้หญิงมีครรภ์ที่อยู่ในระหว่างเรียนต่อได้ในระหว่างตั้งครรภ์ และกลับมาศึกษาได้อีกครั้งหลังคลอดบุตร
ในประเด็นควรอนุญาตให้เด็กนักเรียนที่ตั้งครรภ์เรียนต่อได้หรือไม่นั้น ผมมองว่า การให้การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการ ?ให้โอกาส? และ ?ให้อนาคต? แก่ทุกคนที่เข้ารับการศึกษา และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ ดังนั้น จึงไม่ควรมีใครสักคนที่ถูกปิดกั้น รวมทั้งหญิงที่ตั้งครรภ์ด้วย ย่อมควรได้รับการเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาต่อไป

   ตั้งครรภ์ระหว่างเรียน


ที่มาของภาพ  http://www.lovecarestation.com/upload/media_library/2010/24-11-2010/672.jpg