การทำงาน

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ผมได้แถลงสรุปผลดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย (Thailand Effectiveness Index - TE Index) ประจำไตรมาสที่ 1 ณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีประสิทธิผลภาครัฐ (Public Sector Effectiveness Index: PBE Index) ดัชนีประสิทธิผลภาคเอกชน (Private Sector Effectiveness Index: PVE Index) และดัชนีประสิทธิผลภาคประชาชน (People Sector Effectiveness Index: PPE Index)

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2559 ผมได้มีโอกาสบรรยายเรื่อง ?ยุทธศาสตร์แรงงานไทยเพื่อประเทศไทยมีรายได้สูง? ในการสัมมนาโครงการสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ ที่จัดโดยกองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โดยมองถึงภาพรวมปัญหาแรงงานไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาแรงงาน รวมทั้งการเตรียมพร้อมแรงานไทยเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง

ผมเห็นว่า การเตรียมพร้อมและการพัฒนาด้านแรงงานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สังเกตได้จากปัญหาแรงงานและตลาดแรงงานไทยในปัจจุบัน จึงปรารถนาที่จะนำเสนอทิศทางและแนวทางการเป็นแรงงานที่มีคุณภาพแก่แรงงานไทยทุกคน

    การทำงานเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์ทุกคน เมื่อเราเติบโตพ้นวัยเด็ก เราจะเข้าสู่ ?วัยทำงาน? ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เราต้องอยู่ยาวนานที่สุดในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง หากพิจารณาจากนิยามคนวัยทำงาน ซึ่งกำหนดไว้ว่า มีอายุ 15-59 ปี หรือใช้เวลา 44 ปี ของชีวิตในการทำงาน สมมติแต่ละคนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงาน วันละ 8-9 ชั่วโมง ตลอดอายุจะใช้เวลาทำงาน เฉลี่ยประมาณ 53,000 ชั่วโมง ... เท่ากับว่า เราใช้เวลามากกว่าครึ่งชีวิต ในการทำงาน (หากเราเสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี)!!
    การทำงานกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ที่ไม่สามารถปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงได้ 

ผู้นำไม่ต้องลงไปทำเองทั้งหมด แต่ต้องรู้ว่าทั้งหมดเป็นอย่างไร ....
     ความแตกต่างระหว่างผู้นำที่ เก่ง กับ ไม่เก่ง มักจะวัดกันตรงที่ความสามารถในการหลบหลีกและรับมือกับปัญหา  ผู้นำที่เก่งจะแก้ปัญหาได้ตรงจุดเพราะวิเคราะห์สาเหตุได้แม่นยำ คาดการณ์อนาคตและวางแผนรับมือได้ทัน

เมื่อเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา (2557) หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส ได้ลงบทสัมภาษณ์ การ์โลส สลิม เอลู (Carlos Slim Hel? Aglamaz) เจ้าพ่อแห่งแวดวงสื่อสารโทรคมนาคม ชาวเม็กซิกัน วัย 74 ปี เจ้าของตำแหน่งบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในปัจจุบัน ออกมาเรียกร้องให้ทุกประเทศในโลก ควรกำหนดวันทำงานไว้เพียง 3 วันต่อสัปดาห์ โดยทำงานวันละ 11 ชั่วโมง เพื่อเปิดโอกาสให้กับตนเองได้พักผ่อนและมีเวลาให้กับกิจกรรมอื่นๆ ที่ตนสนใจ รวมถึงมีเวลาให้กับครอบครัวเพิ่มขึ้นเขาคิดว่า แทนที่จะการปล่อยให้งานขโมยชีวิต หรือพรากทุกอย่างไปจากชีวิต การทำงานเพียง 3 วันและหยุดพักผ่อนอีก 4 วันต่อสัปดาห์ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผลดีต่อสุขภาพและความคิดสร้างสรรค์ของเรามากกว่า  เขาได้เริ่มนำวิธีการดังกล่าวเข้ามาใช้กับพนักงานของบริษัท และไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่อรายได้ของบริษัทแต่อย่างใด  

     ผู้นำที่ขาดความคิดริเริ่ม และไม่เคยสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ คือ ผู้สร้างความเสี่ยง ?ล้มเหลว? ในการนำคน นำองค์กรสู่อนาคต และพลาดเป้าหมายวิสัยทัศน์ที่วางไว้... 
     อนาคตเป็นของผู้ที่มีความพร้อมมากกว่าเสมอ ผู้นำที่มี ?ความคิดริเริ่ม? และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ย่อมมีโอกาสก้าวไปก่อน ก้าวไปไกล ก้าวไปสู่อนาคต ที่ประสบความสำเร็จได้มากกว่า 
     ตรงข้ามกับผู้นำที่นำแบบไปเรื่อย ๆ พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ รักษาระบบแบบอนุรักษ์นิยม ไม่คิดจะริเริ่มเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ดีกว่าด้วยตนเอง ถ้าไม่มีใครสั่งหรือไม่มีสถานการณ์บีบบังคับ อาจนำได้ในสถานการณ์ปกติ แต่จะไม่ใช่ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ยิ่งใหญ่ และไม่ใช่ผู้นำที่ปรับตัวเข้ากับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้

     เราทำงานแบบ "มืออาชีพ" หรือทำเพียงเป็น "อาชีพ"?
     เราสร้างผลงาน "ดีเลิศ" จนเป็นที่ยอมรับ หรือ ทำพอผ่าน ๆ ตามค่าตอบแทนที่ได้รับ..
     เรารับผิดชอบงานอย่างดี แม้ไม่มีใครคุม หรือ ถ้าหัวหน้าไม่คุม ก็ไม่กระตือรือร้นที่จะทำ..
     เรายินดีทุ่มเททำงานให้สำเร็จ เพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือ ถ้าส่วนตัวไม่ได้ประโยชน์ ก็ไม่ค่อยอยากทำ..

         ถ้าให้เลือกร่วมงานกับคน 2 คน เราจะเลือกทำงานกับใคร?
         คนแรก หัวหน้างานรับประกันให้ว่า ?คน ๆ นี้ พูดคำไหนคำนั้น ....รับปากแล้ว เขาจะต้องทำจนสำเร็จให้ได้?
         คนที่สอง เพื่อนร่วมงานกล่าวว่า ?คน ๆ นี้ ต่อหน้าหัวหน้าทำเป็นขยันขันแข็ง แต่พอลับหลังแอบเอางานส่วนตัวมาทำเป็นประจำ?

         คนเก่งที่ทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่นไม่ได้ มักไม่เป็นที่ต้องการ เพราะความสำเร็จของงาน คือ ความสำเร็จของทีม...ไม่ใช่ของคน ๆ เดียว
         ที่ผ่านมา ผมบังเอิญได้เห็นเวบไซต์หนึ่ง ซึ่งได้จัดทำ info graphic กล่าวถึง ?นิสัยไทย ๆ ที่ทำให้ไทยไม่พัฒนา? มี 8 ลักษณะนิสัย ได้แก่

วันหนึ่ง ผมไปบรรยายให้กับนักศึกษาและคณาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด ในช่วงเช้าก่อนการบรรยาย ?คุณสิริพร? เจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งของหน่วยงานนั้น ได้นำอาหารว่างมาให้ผม..ผมทั้งแปลกใจ และประทับใจในเวลาเดียวกัน
อาหารว่างของผมแตกต่างจากอาหารว่างที่เตรียมไว้ให้ทุกคน เพราะนอกจากมีกาแฟ และขนมตามปกติแล้ว ยังมีซุปไก่สกัดหนึ่งขวดวางอยู่ด้วย  ผมยังถ่ายภาพมาเลย ด้วยความประทับใจว่า เจ้าหน้าที่ท่านนี้เป็นคนที่เอาใจใส่ผู้อื่น ทำมากกว่าหน้าที่ที่ควรทำ คือ แทนที่จะนำอาหารว่างที่เหมือน ๆ กับของคนอื่นมาเสิร์ฟให้ผม แต่เขาคิดไปไกลกว่านั้น ด้วยใจที่เอาใจใส่ เพราะรู้ว่า ผมคงเดินทางมาไกล ต้องปฏิบัติภารกิจมาหลายอย่าง อาจจะเหนื่อยและพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงได้เตรียมซุปไก่บำรุงร่างกายเพิ่มมาด้วย