อินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันนานาประเทศต่างตื่นตัวอย่างมากในการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เกาหลี ญี่ปุ่น อารบิก เวียดนาม และอีกหลายภาษา เนื่องด้วยปัจจัยหลายประการไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อด้านการค้าการลงทุน การแสวงหาข้อมูลและความรู้ รวมถึงความต้องการเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมของต่างประเทศ รวมไปถึงเพื่อความร่วมมือในการสร้างความมั่นคงระหว่างประเทศ ดังตัวอย่างของประเทศสหรัฐอเมริกาและเกาหลี
ปัจจุบันการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ (E-learning) เต็มรูปแบบ เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการเรียนรู้มากขึ้น นักเรียนนักศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไปจำนวนมากเข้าสู่การเรียนรู้ในโลกเสมือนจริง (Virtual Learning) โดยสามารถศึกษาเล่าเรียนและค้นหนังสือในห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะพักอาศัยอยู่ที่ใด เนื่องจากหนังสือ วารสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ได้เข้าสู่รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบออนไลน์เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งให้มีการนำหนังสือ วารสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ ฯลฯ ออกจากห้องสมุด เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นจริงในสหราชอาณาจักร
ในโลกยุคที่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไหลบ่ามาปะทะเราได้อย่างรวดเร็วและไร้พรมแดน อาจเป็นดาบสองคมหากผู้ที่นำเสนอข่าวสารข้อมูลปราศจากความรับผิดชอบ นำเสนอสิ่งที่ไม่เป็นความจริง สิ่งที่ไม่ถูกต้อง สิ่งที่เป็นพิษเป็นภัย ทำให้เข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงซึ่งหากเราตั้งรับไม่ทันแล้วย่อมตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย

ในมุมมองเศรษฐศาสตร์ การศึกษาและการเรียนรู้ เป็นบริการประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ คือ ผู้รับบริการ (ผู้เรียน) มิใช่เป็นผู้รับประโยชน์เท่านั้นแต่สังคมโดยรวมยังได้รับประโยชน์อีกด้วย โดยเฉพาะการศึกษาระดับพื้นฐานที่หากเด็กได้รับการศึกษาหรือการเรียนรู้มากขึ้น พวกเขาจะมีแนวโน้มที่ก่อปัญหาสังคมน้อยลง และยังสามารถเอาวิชาความรู้ไปช่วยผู้อื่นได้อีก นั่นหมายความถึงให้ผลตอบแทนทางสังคมสูง ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าผลกระทบภายนอกเชิงบวก (positive externality)
ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและประชาธิปไตยอย่างหลากหลาย อาทิ ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการเมือง ใช้ในกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การบริหารงานและให้บริการของรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ การสื่อสารกิจกรรมการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย ทั้งนี้เนื่องจากกิจกรรมทางการเมืองส่วนใหญ่ ล้วนมีองค์ประกอบของการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น
ปรากฏการณ์หนึ่งที่อาจกระตุ้นให้การศึกษาไทย ต้องหันมาปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา มาจากข่าวคราวเรื่อง การคัดลอกผลงาน งานวิจัยของผู้อื่น โดยในปี 2549 มีงานวิจัยที่พบว่า จากการสุ่มตัวอย่างวิทยานิพนธ์จำนวน 70 เล่ม มี 27 เล่ม ที่ผู้ทำวิจัยได้คัดลอกข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและผลงานวิจัยผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างอิง

การจัดการศึกษาเพื่อกลุ่มคนทำงาน ผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะที่สอดคล้องกับการทำงาน นับเป็นหลักสูตรหนึ่งที่มีความน่าสนใจ ด้วยปัจจัยอย่างน้อย 3 ด้านที่คาดว่าจะเอื้อให้การจัดการศึกษาในลักษณะนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น