กฎหมาย

ข้อมูลจากธนาคารโลก บ่งชี้ว่า ประเทศที่ประชาชนมีความรักชาติมากจะมีการคอร์รัปชันต่ำ ประชาชนจะสนใจเพื่อนร่วมชาติ และไม่ละเมิดกฎหมาย สิทธิของผู้อื่น ส่งผลให้ประชาชนมีความสุข โดยคนที่ทำร้ายสังคมหรือคอร์รัปชันจะถูกต่อต้านและคว่ำบาตร ในทางตรงกันข้าม ประชาชนที่ไม่รักชาติ จะทำลายซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ไม่สนใจเรื่องการฉ้อฉล กลโกง และความพินาศของประเทศ พฤติกรรมดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจ และความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศโดยตรง

“ระบบที่ดี คือ ระบบที่ทำให้คนชั่วทำดีโดยไม่รู้ตัว”

เป็นนิยามที่ผมได้จาการตลกผลึกมาหลายสิบปี ด้วยเพราะระบบที่ดีต้องถูกออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้คนเกเรทำสิ่งไม่ดี หรือทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าที่จะกระทำผิดหรือไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับการออกแบบกติกาสังคม ที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อเอื้อคนดี เพราะคนดีทำดีอยู่แล้วแม้ไม่มีระบบ การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้น หลีกเลี่ยงการบริหารจัดการไม่ได้ และในการบริหารจัดการก็หลีกเลี่ยงการกำหนดนโยบายไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาเชิงระบบของ “สังคม” ให้บรรลุผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็นสังคมโลก สังคมระดับชาติ สังคมระดับกลุ่มหรือองค์กร และสังคมระดับครอบครัว

         ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญกับการบูรณาการวิชาการสู่การปฏิบัติหลากหลายรูปแบบ ในที่นี้รวมถึงการเรียนการสอนทางด้านวิชากฎหมายของวิทยาลัยกฎหมายแห่งฮาร์วาร์ด (Harvard Law School) ด้วยเช่นเดียวกัน 
ปัจจุบันวิทยาลัยกฎหมายแห่งฮาร์วาร์ดมีคณาจารย์เต็มเวลาอยู่ทั้งหมด 100 คน และคณาจารย์พิเศษมากกว่า 150 คน แต่ละปีวิทยาลัยกฎหมายแห่งนี้มีนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาต่อประมาณ 1,990 คน  การเรียนการสอนของวิทยาลัยแห่งนี้มีความเข้มข้นอย่างมาก นักศึกษาต้องเรียนและทำงานอย่างหนัก แต่แม้จะเป็นเช่นนั้นนักศึกษายังคงจัดสรรเวลาสำหรับการทำกิจกรรมเพิ่มเติมประสบการณ์ภายนอกด้วยเช่นเดียวกัน บรรยากาศการเรียนการสอนเช่นว่านี้มีส่วนสำคัญต่อการช่วยบ่มเพาะหล่อหลอมนักศึกษาให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพครบถ้วนทุกด้าน

องค์การความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจหรือ OECD ได้จัดทำโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติหรือ PISA ปี 2549 โดยสำรวจความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และแนวโน้มการอ่านของนักเรียนอายุ 15 ปี ในกลุ่มประเทศสมาชิก OECD 57 ประเทศ จากการสำรวจพบว่า นักเรียนไทยถึงร้อยละ 47 รู้วิทยาศาสตร์ต่ำกว่าระดับพื้นฐาน และร้อยละ 1 เท่านั้นที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในระดับสูง องค์การยูเนสโก แนะนำว่าไทยควรปรับปรุงคุณภาพการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา โดยระดับปฐมวัยควรปรับหลักสูตรการเรียนการสอน ระดับอุดมศึกษาควรปรับปรุงการวัดมาตรฐานการเรียนการสอน การทำวิจัย และจำนวนหนังสือในห้องสมุดที่ยังไม่เพียงพอ