สิ่งแวดล้อม

ผมได้นำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชั่นการผลิต (Production Function) มาจับประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก ตั้งแต่ยุคบรรพกาล จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ไปยังอนาคต สร้างเป็นทฤษฎี “การเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก” ซึ่งอยู่ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ได้แก่ คลื่นลูกที่ 0 – ยุคสังคมเร่ร่อน คลื่นลูกที่ 1 – ยุคสังคมเกษตรกรรม คลื่นลูกที่ 2 – ยุคสังคมอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่ 3 – ยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร คลื่นลูกที่ 4 – ยุคสังคมความรู้ คลื่นลูกที่ 5 – ยุคสังคมปัญญา คลื่นลูกที่ 6 – ยุคสังคมความดี การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม ประเทศที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ สามารถก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก โลกกำลังจะเปลี่ยนจากสังคมข้อมูลข่าวสารเข้าสู่สังคมความรู้ ทำให้ความรู้และนวัตกรรมจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแข่งขันและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ทั้งนี้ในปัจจุบัน มีสถานการณ์ที่สะท้อนถึงความจำเป็นของนวัตกรรมต่อเศรษฐกิจโลก ได้แก่


แหล่งที่มาของภาพ : http://s1.hubimg.com/u/5331416_f260.jpg

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

หลังจากที่ผมได้นำเสนอแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากร โครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมของโลกปี ค.ศ.2050 ผ่านบทความทั้ง 3 ชิ้นที่ผ่านมา ยังคงมีอีกหลากหลายประเด็นที่ทุกคนควรรู้และให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างจริงจัง ทั้งนี้ประเด็นเรื่องสภาพแวดล้อมเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่ต่างไปจาก 3 ประเด็นข้างต้น ดังนั้น ในบทความฉบับนี้ ผมจึงอยากนำเสนอแนวโน้มโลกปี ค.ศ.2050 ในประเด็นเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดและเราควรจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างไร

โลกในปี ค.ศ.2050 มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมในเรื่องต่อไปนี้

1. น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายเป็นวงกว้าง
ในปี ค.ศ.2050 แผ่นน้ำแข็งจำนวนมากที่เคยปกคลุมน่านน้ำแถบมหาสมุทรอาร์กติกจะละลายเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งจะเป็นผลดีในการทำให้เกิดเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศสายใหม่ ที่จะช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้าทางทะเลจากเอเชียไปยังชายฝั่งอีสต์โคสต์ (East Coast) ของสหรัฐฯ ได้มากกว่าในปัจจุบัน (Warmer climate to open new Arctic shipping routes by 2050 -study, 2013)