วัฒนธรรม

ผมมีโอกาสได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อและสำนักข่าวของมาเลเซียหลายครั้งนับตั้งแต่ต้นปี หนึ่งในนั้น คือ การให้สัมภาษณ์ทางวิทยุคลื่น BFM 89.9 The Business Station เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561 เกี่ยวกับการสร้างผู้นำภาคธุรกิจรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนการสร้างชาติในอนาคต อันเป็นประเด็นที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญสำหรับการทำงานในยุคนี้

ทำไมประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นอันดับ 1 ตามการจัดอันดับ Global Innovation Index

ทั้งที่เป็นประเทศเล็กบนเทือกเขาแอลป์ ไม่มีทางออกทะเล ขาดแคลนทรัพยากร ?

“ระบบที่ดี คือ ระบบที่ทำให้คนชั่วทำดีโดยไม่รู้ตัว”

เป็นนิยามที่ผมได้จาการตลกผลึกมาหลายสิบปี ด้วยเพราะระบบที่ดีต้องถูกออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้คนเกเรทำสิ่งไม่ดี หรือทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าที่จะกระทำผิดหรือไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับการออกแบบกติกาสังคม ที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อเอื้อคนดี เพราะคนดีทำดีอยู่แล้วแม้ไม่มีระบบ การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้น หลีกเลี่ยงการบริหารจัดการไม่ได้ และในการบริหารจัดการก็หลีกเลี่ยงการกำหนดนโยบายไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาเชิงระบบของ “สังคม” ให้บรรลุผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็นสังคมโลก สังคมระดับชาติ สังคมระดับกลุ่มหรือองค์กร และสังคมระดับครอบครัว

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้นำเสนอข้อเสนอแนะในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่ประเทศไทย 4.0 ภายใต้ประเด็นหลักที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการโดยทุนวัฒนธรรมไปแล้ว ในบทความตอนนี้จะเป็นการให้ข้อเสนอแนะในมิติการสร้างนวัตกรรมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างนวัตกรรม

จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้แสดงมุมมองต่อแนวคิดประเทศไทย 4.0 และกล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างทุนวัฒนธรรมกับการเป็นประเทศไทย 4.0 ซึ่งผมมองว่าทุนวัฒนธรรมเป็นเหมือนกิจกรรมต้นน้ำ (Upstream)ในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับทุนวัฒนธรรม คือ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งต้องทำหน้าที่พัฒนาทุนวัฒนธรรมและส่งมอบไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้นเพื่อสามารถนำไปสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อไปได้ ผมมีข้อเสนอแนะในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมโดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการโดยทุนวัฒนธรรม และการสร้างวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างนวัตกรรม