เศรษฐกิจเวียดนาม

ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญกับ Digital Disruption หรือการทำลายล้างสิ่งเก่า ๆ ออกไปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากเทคโนโลยีด้านดิจิทัลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และกว้างขวาง ส่งผลกระทบไปทุกแวดวง ทั้งการค้า การทำธุรกิจ การผลิต การใช้ชีวิต การใช้จ่าย พักผ่อน การศึกษา ฯลฯ ในขณะเดียวกัน โลกมีแนวโน้มเข้าสู่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th industrial revolution) ด้วย อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการต่อยอดและผสมผสานหลอมรวมของเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ชั้นสูง ระบบอัตโนมัติรูปแบบใหม่ เทคโนโลยีบล็อคเชน (block chain) เครื่องพิมพ์ 3 มิติ การพัฒนาตัดต่อยีนทางพันธุกรรม คอมพิวเตอร์ควอนตัม เป็นต้น

ทำไมประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นอันดับ 1 ตามการจัดอันดับ Global Innovation Index

ทั้งที่เป็นประเทศเล็กบนเทือกเขาแอลป์ ไม่มีทางออกทะเล ขาดแคลนทรัพยากร ?

แนวโน้มโลกในอนาคตจะเกิดเศรษฐกิจหลายขั้วอำนาจมากขึ้น เพราะขั้วมหาอำนาจเดิมกำลังถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่มีขนาดใหญ่มีศักยภาพในการขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น

ประเทศเล็กๆ ต่างพยายามสร้างความยึดโยงกับมหาอำนาจต่างๆ เพื่อความมั่นคงและอยู่รอดของตนเอง เช่น อินโดนีเซียผลักดันตนเองหวังเป็นสมาชิกของ BRICS เมียนมาร์และกัมพูชา เปิดโอกาสให้มหาอำนาจทั้งหลายเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศ โดยแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ (เช่น แหล่งน้ำมันในทะเล)

ข้อมูลใน Wealth Report ปี 2012 จัดทำโดย ไนท์ แฟรงค์ (Knight Frank) และ ซิตี้ ไพรเวท แบงค์ (Citi Private Bank) รายงานว่าเศรษฐกิจจีนจะแซงเศรษฐกิจสหรัฐและกลายเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2020 แต่อันดับจะถูกเปลี่ยนเป็นประเทศอินเดีย ที่จะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2050 ประกอบกับเมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดียได้เปิดตัวนโยบายการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Policy - FTP) ฉบับปี ค.ศ. 2015 - 2020 อย่างเป็นทางการ หลังจากรัฐบาลใหม่ของอินเดียภายใต้การนำของนายนเรนทรา โมดี ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของไทยด้วย คำถามที่น่าสนใจตามมาคือ ทิศทางนโยบายในด้านต่างๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้าของประเทศอินเดียนั้นเป็นอย่างไร และจะมีนัยทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยอย่างไร 

ข้อมูลใน Wealth Report ปี 2012 จัดทำโดย ไนท์ แฟรงค์ (Knight Frank) และ ซิตี้ ไพรเวท แบงค์ (Citi Private Bank) รายงานว่าเศรษฐกิจจีนจะแซงเศรษฐกิจสหรัฐและกลายเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2020 แต่อันดับจะถูกเปลี่ยนเป็นประเทศอินเดีย ที่จะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2050 ประกอบกับเมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดียได้เปิดตัวนโยบายการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Policy - FTP) ฉบับปี ค.ศ. 2015 - 2020 อย่างเป็นทางการ หลังจากรัฐบาลใหม่ของอินเดียภายใต้การนำของนายนเรนทรา โมดี ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของไทยด้วย คำถามที่น่าสนใจตามมาคือ ทิศทางนโยบายในด้านต่างๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้าของประเทศอินเดียนั้นเป็นอย่างไร และจะมีนัยทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยอย่างไร 


แหล่งที่มาของภาพ : http://img-cdn.jg.jugem.jp/389/2679777/20141018_731587.jpg

ในปี 2010 OECD และ Wolfensohn Center for Development ของสถาบัน Brookings รายงานว่า ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา กำลังซื้อของคนอเมริกาถือได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลก แต่ความผันผวนทางเศรษฐกิจในประเทศช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้บทบาทของสหรัฐอเมริกาในเศรษฐกิจโลกลดลง ในทางตรงกันข้าม การเติบโตของชนชั้นกลางในเอเชียตลอดช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ชนชั้นกลางกลายเป็นพลังเศรษฐกิจใหม่ของโลก จนมีการคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ชนชั้นกลางเหล่านี้จะกลายเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคตแทนสหรัฐอเมริกา คำถามที่น่าสนใจคือ ผลกระทบและอิทธิพลทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลางนี้จะเป็นอย่างไร? นัยยะต่อประเทศไทยมีอะไรบ้าง? และไทยควรเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างไร?