เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
เมื่อวันที่
28
มีนาคม
ม๊อบเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย
กว่า
2,000
คน
ออกมาชุมนุมกดดันให้ธนาคารลดหนี้กว่าร้อยละ
50
โดยไม่จำกัดเพดานหนี้
และตัดดอกเบี้ยให้เหลือร้อยละ
0
โดยการกดดันดังกล่าวส่งผลให้ทั้ง
9
ธนาคาร
ที่ร่วมปล่อยกู้ยอมจำนนต่อข้อเรียกร้องของม๊อบ
ผมเห็นว่าเหตุการณ์การชุมนุมของสมาชิกเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประไทยครั้งนี้
เป็นผลกระทบที่ชัดเจนของนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
การดำเนินนโยบายประชานิยมต่าง
ๆ
ของรัฐบาล
เช่น
นโยบายพักการชำระหนี้เกษตรกร
และการปรับโครงสร้างหนี้เกษตกรและหนี้ภาคประชาชน
ที่ได้ดำเนินการสั่งสมมาเป็นเวลานาน
ได้เริ่มส่งผลกระทบมายังภาคสถาบันการเงินทำให้ไม่สามารถติดตามหนี้ได้
เพราะนโยบายเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายทางจริยธรรมของลูกหนี้
โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้เกษตรและประชาชนในสังคมส่วนอื่น
ๆ ด้วย
ผมได้เคยเตือนรัฐบาลหลายครั้ง
ผ่านการอภิปรายในสภา
การบรรยาย
และการเขียนบทความวิชาการว่า
รัฐบาลไม่ควรหวังเพียงแค่คะแนนนิยม
แต่ควรคำนึงถึงความเสี่ยงต่อความเสียหายทางจริยธรรมของลูกหนี้
หรือที่เรียกในภาษาวิชาการว่า
Moral
Hazard
หรือในคำอื่น
ๆ เช่น
ความเสี่ยงทางจริยธรรม
จรรยาบรรณวิบัติ
จรรยาสามาน
เป็นต้น
วิธีการแก้ปัญหาหนี้ของรัฐบาล
โดยการยกหนี้ให้หรือเข้ามาช่วยเหลือในการชำระหนี้
ซึ่งมีลักษณะทวนซ้ำย่อมเป็นการส่งสัญญาณให้ลูกหนี้เข้าใจว่า
รัฐบาลจะกำหนดมาตรการแก้ปัญหาหนี้ออกมาอีกในอนาคต
ลูกหนี้จึงกล้าที่จะผิดนัดชำระหนี้
หรือกล้าที่จะออกมากดดันให้รัฐบาลเข้ามาช่วยปลดหนี้
เพราะลูกหนี้เชื่อว่า
อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะออกมาตรการช่วยเหลืออย่าง
แน่นอน
พฤติกรรมของลูกหนี้ครั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้นโยบายขาดความรอบคอบและได้สร้างค่านิยมผิด
ๆ
ให้กับประชาชน
และตราบใดที่รัฐบาลไม่เลิกใช้นโยบายปรับโครงสร้างหนี้
ผมเชื่อว่าจะมีลูกหนี้จากกลุ่มต่าง
ๆ อีกมาก
ไม่หยุดที่จะออกมาเรียกร้องขอปลดหนี้อยู่เรื่อยๆ
เพราะได้เห็นแล้วว่าการกดดันหรือเรียกร้องเป็นผลทำให้ได้รับการตอบสนอง
และรัฐบาลยังคงยินดีจะช่วยต่อไปเพราะเป็นวิธีที่ได้คะแนนนิยมทางการเมือง
แต่จรรยาบรรณของสังคมได้เสียหายไปแล้ว
|