เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้วว่า
การพ้นสภาพของ
กกต.
ชุดนี้เป็นเพียงการคลี่คลายลงของหนึ่งปัญหาในบรรดาอีกหลายปัญหาทางการเมืองที่ยังรอการแก้ไข
เรื่องที่ต้องพิจารณาต่อเนื่องจากการพ้นสภาพของ
กกต.
ชุดปัจจุบันคือ
การสรรหา
กกต.
ชุดใหม่
เพื่อทำหน้าที่จัดการการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่
15
ตุลาคมที่จะถึงนี้
ประเด็นที่เป็นความคาดหวังของสังคมคือ
การได้มาซึ่ง
กกต.
ชุดใหม่ที่มีความบริสุทธิ์
เที่ยงธรรม
เห็นแก่ประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
เนื่องจากที่ผ่านมาการปฏิบัติงานของ
กกต.
ชุดปัจจุบันนั้นส่อไปในทางที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ชาติ
เห็นได้จากส่วนหนึ่งของการพิเคราะห์ที่ศาลอาญาไม่ให้ประกันตัว
กกต.
ทั้งสามคนเมื่อวันที่
25
กรกฎาคมที่ผ่านมา
เนื่องจากเห็นว่า
“…การที่จำเลยทั้งสามยังคงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่อไปโดยไม่ไยดีต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้ง
ส.ส.
ที่ผ่านมา
และไม่ตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า
จึงส่อพิรุธและชี้ให้เห็นว่า
จำเลยทั้งสามเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ชาติ…
”
การสรรหา
กกต.
ชุดใหม่
จึงถือว่าเป็นงานที่ต้องมีความรอบคอบ
เน้นการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม
เห็นแก่ประโยชน์ของชาติ
โดยไม่เห็นแก่ความสัมพันธ์ส่วนตัว
หรือผลประโยชน์ต่างตอบแทนส่วนตัว
หากแต่สิ่งที่ต้องจับตามองคือ
ขณะนี้มีข่าวว่ามีคนบางกลุ่มพยายามล็อบบี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการสรรหา
เพื่อให้ตนได้เป็น
กกต.
รวมถึงมีการตั้งข้อสังเกตจากหลายฝ่ายว่า
แม้ว่า
กกต.ชุดนี้จะลาออก
ก็ไม่มีผลต่อการคลี่คลายปัญหา
เนื่องจากได้มีการวางเครือข่ายของตนไว้ตามจังหวัดต่าง
ๆ แล้ว
ซึ่งอาจเป็นการสร้างข้อกังขาใหม่ต่อความโปร่งใส
เที่ยงธรรมในการจัดการเลือกตั้งต่อไป
สิ่งที่ผมอยากฝากไว้คือ
ขอให้คนที่พยายามหาทางเข้ามาเป็น
กกต.
เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง
พวกพ้อง
โดยไม่ได้เห็นแก่ผลประโยชน์ชาติให้หยุดการกระทำนั้นเสีย
เพราะอย่างไรก็ตามศาลยังต้องเลือกโดยคำนึงถึงคุณสมบัติที่เหมาะสม
มีความเข้าใจในระบบการทำงานของ
กกต.
รวมถึงบุคคลที่มีประวัติ
ดีมีใจปรารถนาทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติเป็นหลัก
ซึ่งหลายฝ่ายต่างเชื่อมั่นว่า
ศาลฎีกาจะทำหน้าที่นี้ได้อย่างดี
เพราะที่ผ่านมาศาลฎีกาได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการทำตามพระราชกระแสรับสั่งของในหลวง
ที่ย้ำเตือนให้ทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตน
ในส่วนของการป้องกันปัญหาในระยะยาวนั้น
ผมเห็นว่า
ควรมีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง
เพื่อทบทวนอำนาจหน้าที่
รวมถึงการหาแนวทางหรือกลไกตรวจสอบประวัติ
และการทำงานขององค์กรอิสระให้มีความโปร่งใส
มีการถ่วงดุลอำนาจ
และให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบมากขึ้น
เพื่อป้องกันกลุ่มบุคคลที่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ชาติ
เข้ามาแทรกแซง
และใช้องค์กรอิสระเป็นเครื่องมือของในการสร้างความชอบธรรมในการก้าวเข้าสู่อำนาจดังที่ผ่านมา
|