เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
สถานการณ์ทางการเมืองที่น่าจับตามองในขณะนี้ไม่ได้มีเพียงเรื่องการเมืองในประเทศเท่านั้น
แต่ยังคงมีสถานการณ์ที่ร้อนระอุและอยู่ในความสนใจของทั่วโลก
คือ
สถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มเฮซบัลเลาะห์
(Hezballah
terrorist
organization)
ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศเลบานอน
เหตุการณ์ที่เป็นชนวนก่อให้เกิดสงคราม
คือ
การที่ทหารของอิสราเอลถูกลอบสังหาร
8
นายและถูกลักพาตัว
2
นายโดยกลุ่มเฮซบัลเลาะห์ ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการละเมิดข้อตกลงขององค์การสหประชาชาติ
(UN)
รวมถึงรัฐบาลเลบานอนมิได้ดำเนินการปลดอาวุธกลุ่มเฮซบัลเลาะห์ตามข้อตกลง
จึงเป็นเหตุให้อิสราเอลโต้ตอบด้วยวางระเบิดและเปิดฉากการต่อสู้ทั้งทางบกและทางอากาศในพื้นที่ประเทศเลบานอนเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ถึงแม้ว่า
อิสราเอลได้เคยยื่นข้อเสนอให้กับเลบานอน
เพื่อยุติข้อพิพาท
3
ข้อ
ได้แก่
1.
ให้กลุ่มเฮซบัลเลาะห์ปล่อยตัวนายทหารอิสราเอลที่กลุ่มเฮซบัลเลาะห์จับตัวไป
2.
ให้ปลดอาวุธกองกำลังของกลุ่มเฮซบัลเลาะห์
3.
ให้มีกองกำลังกลาง
หรือ
กองกำลังทหารของเลบานอนเข้ามาคุมพื้นที่เขตชายแดนระหว่างเลบานอนกับอิสราเอล
เงื่อนไขประการที่
2
และ
3
ที่อิสราเอลเสนอเป็นเรื่องยากที่จะให้เฮซบัลเลาะห์ปฏิบัติตาม
และเมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่
และยุทธวิธีที่ทางอิสราเอลเลือกนั้น
พบว่า
สถานการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้
คือ
สถานการณ์จะยืดเยื้อแต่ขอบเขตพื้นที่การโจมตีจะไม่ขยายมากกว่าปัจจุบัน
เนื่องด้วยเหตุผล
3
ประการ
ประการแรก
คือ
ฐานกำลังทางอาวุธของกลุ่มเฮซบัลเลาะห์มีมากกว่าที่อิสราเอลประเมิน
ฉะนั้น
แม้อิสราเอลเปิดฉากโจมตีกลุ่มเฮซบัลเลาะห์ก่อน
โดยใช้ยุทธศาสตร์โจมตีอย่างรวดเร็วและเน้นการโจมตีพื้นที่ที่เป็นคลังอาวุธ
เพื่อหวังผลให้การโจมตีจบเร็วที่สุด
แต่ปัจจุบันมีการคาดการณ์กันว่า
กำลังด้านอาวุธของกลุ่มเฮซบัลเลาะห์ยังคงมีอยู่ในครอบครองอีกถึง
13,000
ลูก
ซึ่งหมายความว่ายุทธวิธีของอิสราเอลในการทำลายฐานอาวุธของเฮซบัลเลาะห์ยังไม่เห็นผล
และจะทำให้กองกำลังเฮซบัลเลาะห์ยังสามารถต่อกรกับกองทัพอิสราเอลได้อีกเป็นเวลานาน
แม้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศอื่น
ประการที่สองคือ
การที่ประเทศที่สามยังคงให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและความช่วยเหลือต่าง
ๆ
เห็นได้จากการแสดงจุดยืนของทั้งฝ่ายสหรัฐอเมริกาที่ให้การสนับสนุนประเทศอิสราเอลและฝ่ายของประเทศซีเรียกับประเทศอิหร่านให้การสนับสนุนกลุ่มเฮซบัลเลาะห์
ซึ่งจากรายงานสถิติการให้ความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาต่ออิสราเอล
ตั้งแต่ปี
ค.ศ.
1973
จนถึงปัจจุบันสูงถึงปีละ 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
และในส่วนของกลุ่มเฮซบัลเลาะห์ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากประเทศอิหร่าน
ซึ่งปีนี้รัฐบาลอิหร่านให้งบประมาณช่วยเหลือกลุ่มเฮซบัลเลาะห์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
หรือประมาณ
300
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การสนับสนุนดังกล่าวจากประเทศที่สามส่งผลให้สงครามยังคงดำเนินต่อไปได้
ประการที่สาม
คือ
ท่าทีไม่เห็นด้วยต่อการเข้าแทรกแซงของประชาชนในประเทศที่สาม
จากการรายงานของสำนักข่าวไทม์
แมกกาซีน
เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนชาวอิหร่าน
พบว่าประชาชนไม่ต้องการให้อิหร่านเข้าไปมีบทบาทมากในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เพราะไม่ต้องการที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นประเทศที่เป็นตัวก่อปัญหา
ดังนั้นเราอาจคาดการณ์ได้ว่าอิหร่านคงเป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุนแต่จะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง
อาทิ
ให้การช่วยเหลือเฉพาะด้านการเงิน
ในขณะที่ประชาชนของสหรัฐฯ
มีการต่อต้านเช่นกัน
เนื่องจากการสูญเสียที่เกิดขึ้นในกรณีสงครามในอัฟกานิสถานและสงครามในอิรักยังคงเป็นกรณีติดพัน
รวมถึงความไม่พร้อมของสหรัฐในการเข้าทำสงครามต่อเนื่อง
ทั้ง ๆ
ที่สงครามอิรักยังไม่จบลง
ด้วยเหตุนี้
ประเทศที่สามจะไม่เข้ามาสนับสนุนในการทำสงครามอย่างเต็มรูปแบบ
แต่จะคอยสนับสนุนอยู่ลับ
ๆ
ส่งผลทำให้พื้นที่การโจมตีของสงครามไม่ขยายออกไปยังประเทศอื่น
อย่างไรก็ตาม
การเจรจาที่จะเกิดขึ้นระหว่างผู้นำอิสราเอลและเลบานอนที่มี
น.ส.
คอนโดลีซ่า
ไร้ซ์
เข้าร่วมประชุมด้วยเพื่อการหาทางออกนั้น
อาจจะสามารถหาข้อสรุปได้
แต่การที่จะข้อสรุปมาบังคับใช้นั้นอาจจะต้องใช้เวลา
และถึงแม้การประชุมดังกล่าวอาจจะไม่สามารถหาข้อยุติได้
การประกาศของอิสราเอลเรื่องการยอมให้มีกองกำลังกลางเข้ามาควบคุมในพื้นที่ระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนนั้น
นับเป็นท่าทีที่จะช่วยให้สงครามครั้งนี้ยังมีทางออก
แต่จะเป็นไปได้หรือไม่นั้นคงจะต้องติดตามกันต่อไป
|